ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

**การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้เรื่องโจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หาร โดยใช้แบบฝึกทักษะและเทคนิคการแก้ปัญหาของโพลยา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

Show simple item record

dc.contributor.advisor ธนพล ตีรชาติ en_US
dc.contributor.advisor ประคอง กาญจนการุ en_US
dc.contributor.author กนกวรรณ, ประกอบศรี
dc.date.accessioned 2019-08-06T03:51:08Z
dc.date.available 2019-08-06T03:51:08Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/5137
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกทักษะ เรื่องโจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หาร โดยใช้เทคนิคการแก้ปัญหาของโพลยา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะเรื่องโจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หาร เทคนิคการแก้ปัญหาของไพลยาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3) ศึกษาความคงทนในการเรียนหลังเรียนและหลังเรียนผ่านไป 2 สัปดาห์โดยใช้แบบฝึกทักษะเรื่องโจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หาร เทคนิคการแก้ปัญหาของไพลยาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะเรื่องโจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หาร เทคนิคการแก้ปัญหาขยะโพลยา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนอนุบาลลำปลายมาศ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 1 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกมา 2560 จำนวน 33 คน ได้จากการสุ่มอย่างง่ายเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แบบฝึกทักษะเรื่องการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หาร จำนวน 5 แบบฝึก 2) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หาร จำนวน 5 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวน 30 ข้อเป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือกและ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยแบบฝึกทักษะจำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ประสิทธิภาพ (E1/ E2) และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ Dependent Samples t-test ผลการวิจัยพบว่า 1. แบบฝึกทักษะเรื่องโจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หาร เทคนิคการแก้ปัญหาของโพลยาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85. 76 /% 4. 44 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2.สัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะเรื่องโจทย์ปัญหาบวก ลบ คูณ หารเทคนิคการแก้ปัญหาของโพลยา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ. 01 3.นักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะเรื่องโจทย์ปัญหาการบวกลบคูณหารเทคนิคการแก้ปัญหาของโพลยา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความคงทนในการเรียนหลังเรียนผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห์ไม่แตกต่าง 4.ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะเรื่องโจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หาร เทคนิคการแก้ปัญหาของโพลยา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก en_US
dc.description.abstract The purposes of this research were: 1) to study the efficiency of the skill exercises on problem solving in addition subtraction, multiplication and division by using skill exercises with Polya's problem solving technique for Prathomsuksa 4 students to meet the criteria set at 80/80; 2) to compare the student learning achievement before and after using the skill exercises semi- co/on addition; 3) to study the learning retention after learning and 2 weeks after learning by the skill exercises; and 4) to explore the satisfaction of the students with by using the skill exercises.The samples were 33 students of Prathomsuksa 4/2, studying in the first semester of academi year 2017 at Anubanlamplaimat School, under Buriram Primary Educational Service Area Office 1, selected by using simple random sampling technique. The research instruments were: 1) 5 skill exercises on addition, subtraction, multiplication and division; 2) 5 lesson plans on problem solving, addition, subtraction, multiplication and division; 3) a 30-item of the learning achievement test with 4 multiple choices; and 4) a 10-item questionnaire on satisfaction of students with learning by using the exercises. The collected data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation, E2/E1 and dependent samples t-test was used to test the hypothesis. The results of the study were as follows: 1. The efficiency of the skill exercises on problem solving in addition subtraction, multiplication and division by using Polya's problem solving technique for Prathomsuksa 4 students was 83.76/84.44 which was higher than the criterion set at 80/80 2. The learning achievement of the students after learning by using the skill exercises on problem solving in addition, subtraction, multiplication and division by using Polya's problem solving technique for Prathomsuksa 4 students was higher than before using with statistically significant difference at .01 level. 3. The retention of learning by using skill exercises on problern solving in subtraction, multiplication and division with Polya's problem solving technique for Prathomsuksa 4 students with the learning retention after 2 weeks of experiment was not different. 4. The satisfaction of the students with learning by using skill exercises on problem solving in subtraction, multiplication and division with Polya's problem solving technique for Prathomsuksa 4 students as a whole was at a high level. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้เรื่องโจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หาร โดยใช้แบบฝึกทักษะและเทคนิคการแก้ปัญหาของโพลยา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 en_US
dc.title **การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้เรื่องโจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หาร โดยใช้แบบฝึกทักษะและเทคนิคการแก้ปัญหาของโพลยา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 en_US
dc.title.alternative A Study of Learning Achievement and Retention of Learning in Addition, Subtraction, Multiplication and Division by Using Skill Exercises with Polya's Problem Solving Technique for Prathomsuksa 4 Students en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics