ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD เรื่องยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่6

Show simple item record

dc.contributor.author วารุณี, หัสนิสสัย
dc.date.accessioned 2017-09-02T04:02:37Z
dc.date.available 2017-09-02T04:02:37Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/504
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1)พัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD เรื่องยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80 2)เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาก่อนและหลังเรียนจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD เรื่องยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 3)ศึกษาความพึงพอใจในการเรียนรู้โดยการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD เรื่องยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนนางรองพิทยาคม อำเอนางรอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์เขต 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 36 คน ได้มาโดยการเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD เรื่องยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 5 แผน แบบทดสอบย่อย 5 ชุด เป็นแบบทดสอบแบบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก ใช้ทดสอบเมื่อสิ้นสุดการเรียนในแต่ละแผ่น แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ โดยมีค่าอำนาจจำนกตั้งแต่ 0.26-0.79 และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.79 และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช่ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และการทดสอบสมมุติฐานการวิจัย โดยใช้ค่าสถิติ t(One-Sample T-test) ผลการวิจัยสรุปว่า 1. แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD เรื่องยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.94/80.56 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียนมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 นั่นคือนักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 20 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนนางรองพิทยาคม ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD เรื่องยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ พบว่า มีความพึงพอใจตั้งแต่ระดับพึงพอใจมาก มากกว่าร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งสอดคล้องกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้ ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งนี้คือ ควรสนับสนุน ส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูและนักเรียน ควรจัดการเรียน เตรียมเอกสารใบงาน กำกับดูแลเอาใจใส่นักเรียนอย่างสม่ำเสมอ และควรแทรกการปลูกฝังคุณธรรมความซื่อสัตย์ ความสามัคคี จิตอาสา ควรมีเวลาให้นักเรียนได้สอบถามในเนื้อหาที่สงสัย จะช่วยให้นักเรียนที่มีปัญหาด้านการเรียนรู้ได้พัฒนาตนเอง ทำให้ผลการเรียนดีขึ้น มีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาสูงขึ้น นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาที่เรียนและเรียนรู้อย่างมีความสุข en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราฃภัฏบุรีรัมย์. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ en_US
dc.title การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD เรื่องยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่6 en_US
dc.title.alternative LEARNING ACTIVITY MANAGEMENT BY EMPLOYING “STAD” COOPERATIVE LEARNING TECHNIQUE, “ HISTORICAL AGE”, FOR 12th GRADE STUDENTS en_US
dc.type Thesis en_US


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics