ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

สภาพการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4

Show simple item record

dc.contributor.author นิตยา, ดวงเข็ม
dc.date.accessioned 2017-09-02T04:00:03Z
dc.date.available 2017-09-02T04:00:03Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/498
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1)ศึกษาความคิดเห็นของผู้อำนวยการและครู ที่มีต่อสภาพการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2)เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียนและครู ที่มีต่อสภาพการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 3)เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียนและครู ที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาที่มีขนาดแตกต่างกัน ต่อสภาพการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็น ผู้อำนวยการโรงเรียนจำนวน 136 คน และครูจำนวน 335 คน รวมทั้งสิ้น 471 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.8944 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียนและครูตามขนาดโรงเรียน โดยการทดสอบ F-test เมื่อพบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยในแต่ล่ะด้านเปรียบเทียบ โดยวิธี Scheffe Method ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้อำนวยการโรงเรียนละครูมีความคิดเห็นต่อสภาพการบริหารงานวิชาการโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับได้ดังนี้ อันดับ 1 ด้านการพัฒนารกระบวนการเรียนรู้ อันดับ 2 ด้านการพัฒนาระบบประกันสุขภาพในสถานศึกษา อันดับ 3 ด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิชาการสู่ชุมชน อันดับ 4 ด้านการพัฒนาหลักสูตรการศึกษา อันดับ 5 ด้านการแนะแนวการศึกษา อันดับ 6 ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา อันดับ 7 ด้านการวัดผลประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียน อันดับ 8 ด้านการประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษา อันดับ 9 ด้านการนิเทศการศึกษา อันดับ 10 ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงาน และสถาบันอื่นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา อันดับ 11 ด้านพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และอันดับ 12 ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ 2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียนและครูต่อสภาพการบริหารงานวิชาการทั้งโดยรวมและรายด้าน พบว่า ความแตกต่างการมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียนและครูต่อสภาพการบริหารงานวิชาการจำแนกตามขนาดโรงเรียนทั้งโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย คือ สื่อการเรียนการสอนไม่เพียงพอ ไม่ทันสมัย ไม่สะดวกในการนำไปใช้ งานหลักสูตร และการสอน ไม่มีการอบรม ทำความเข้าใจการใช้หลักสูตร หลักสูตรเปลี่ยนแปลงบ่อย การติดตามการนิเทศภายในให้กับครูผู้สอนมีน้อยและแหล่งเรียนรู้ไม่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ ห้องสมุด หนังสือเก่าไม่ทันสมัย มีน้อย en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราฃภัฏบุรีรัมย์. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ en_US
dc.title สภาพการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 en_US
dc.title.alternative STATES OF ACADEMIC ADMINISTRATION IN BASIC EDUCATION SCHOOLS UNDER BURIRAM EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 4 en_US
dc.type Thesis en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics