ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

สภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์เขต 2

Show simple item record

dc.contributor.author สุธรรม, เลิศนพคุณวงศ์
dc.date.accessioned 2017-09-02T03:56:47Z
dc.date.available 2017-09-02T03:56:47Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/491
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต2 2)เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับปัญหาการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย จำแนกตามประเภทของโรงเรียน 3) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับปัญหาการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย จำแนกตามประเภทของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอนวิชาภาษาไทยและนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาและโรงเรียนในสังกัดสามัญศึกษาเดิม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต2 ภาคเรียนที่ 1ปีการศึกษา 2551 โดยมีจำนวนครูผู้สอน 95 คน จำนวนนักเรียน 677 คน การเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .995 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติร้อนละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (t-test แบบ Independent) ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้วิชาภาษไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3ในในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต2 เป็นดังนี้ 1.1 สภาพการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย พบว่าครูผู้สอนวิชาภาษาไทยและนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาและในโรงเรียนสังกัดสามัญศึกษาเดิม มีความเห็นต่อสภาพการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยในภาพรวม พบว่ามีการดำเนินการ อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนผลการวิเคราะห์เป็นรายด้าน พบว่าทุกด้านมีการดำเนินการอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นเดียวกัน ยกเว้นด้านการสอนซ่อมเสริมนักเรียนมีความคิดเห็นว่ามีการดำเนินการอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าร้อยละมากที่สุดคือ ด้านบรรยากาศในชั้นเรียน รองลงมาคือด้านกิจกรรมเสริมหลักสูตร 1.2 ปัญหาการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย พบว่าครูผู้สอนภาษาไทยและนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาและในโรงเรียนสังกัดสามัญศึกษาเดิม มีความคิดเห็นต่อปัญหาในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนผลการวิเคราะห์เป็นรายด้าน พบว่าทุกด้านมีความคิดเห็นต่อปัญหาอยู่ในระดับปานกลางเช่นเดียวกัน ยกเว้นด้านการเรียนการสอนที่ครูมีความคิดเห็นต่อปัญหาอยู่ในระดับมากและมีค่าร้อยละมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรและด้านบรรยากาศในชั้นเรียน 2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูในโรงเรียนสังกัดสามัญศึกษาเดิมและโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาเกี่ยวกับปัญหาการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย พบว่าโดยรวมมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันและเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ามีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน 3. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสามัญศึกษาเดิมและโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาเกี่ยวกับปัญหาการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย พบว่าโดยรวมมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันและเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ามีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สองด้าน ได้แก่ ด้านการกิจกรรมการเรียนการสอนและด้านการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร โดยนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษามีความคิดเห็นต่อปัญหามากกว่าโรงเรียนในสังกัดกรมสามัญศึกษาเดิม 4. ข้อเสนอแนะ ผู้บริหารในโรงเรียนควรให้ความสำคัญในการแก้ปัญหาการเรียนรู้วิชาภาษาไทยในโรงเรียน โดยเฉพาะการจัดครูให้ทำการสอนตรงวิชาเอกและลดภาระการทำงานอื่น เพื่อให้ครูได้สอนภาษาไทยอย่างเต็มเวลาและตามหลักสูตร en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราฃภัฏบุรีรัมย์. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ en_US
dc.title สภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์เขต 2 en_US
dc.title.alternative STATE AND PROBLEMS OF THAI LANGAGE LEARNING MANAGEMENT FOR MATTAYOM SUKSAK 3 STUDENTS IN SCHOOLS UNDER THE EDUCATIONAL SERVICE AREA 2 en_US
dc.type Thesis en_US


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics