ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนรายวิชาแคลคูลัส 1 ตามแนวคิดการเรียนการสอนที่ แนะให้รู้คิด การเรียนรู้ร่วมกัน และรูปแบบการแปลงของเลชสำหรับนักศึกษาครู

Show simple item record

dc.contributor.author เกษสุดา, บูรณพันศักดิ์
dc.contributor.author ชานนท์, จันทรา
dc.contributor.author สิริพร, ทิพย์คง
dc.contributor.author ชนิศวรา, เลิศอมรพงษ์
dc.date.accessioned 2019-06-18T04:23:17Z
dc.date.available 2019-06-18T04:23:17Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.citation รมยสาร, ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 (มกราคม-เมษายน 2561) : หน้า 303 - 321 en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/4836
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอนรายวิชาแคลคูลัส 1 ตามแนวคิดการเรียนการสอนที่แนะให้รู้คิด การเรียนรู้ร่วมกัน และรูปแบบการแปลงของเลชสำหรับนักศึกษาครู และศึกษาผลการใช้กระบวนการเรียนการสอนในด้านความรู้ทางคณิตศาสตร์พฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่มและความคิดเห็นต่อกระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น ซึ่งการดำเนินการวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาที่มี 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 พัฒนากระบวนการเรียนการสอนรายวิชาแคลคูลัส 1 ประกอบด้วย 5 ขั้น คือ 1)ขั้น สร้างความพร้อมและเชื่อมโยงความรู้ใหม่ 2) ขั้น พัฒนาการคิดทางคณิตศาสตร์ 3) ขั้น ขยายความรู้ร่วมกัน 4) ขั้นนำเสนอและสรุปความรู้ร่วมกัน และ 5) ข้ันเชื่อมโยงและประยุกต์ใช้ความรู้ข้ันตอนที่ 2 นำกระบวนการเรียนการสอนรายวิชาแคลคูลัส 1 ไปใช้เพื่อประเมินประสิทธิภาพและปรับปรุงให้มีความเหมาะสม กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย นักศึกษาสาขาวิชาเอกคณิตศาสตร์ ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาแคลคูลัส 1 ภาคปลายปี การศึกษา 2559 จำนวน 28 คน และภาคต้น ปีการศึกษา 2560 จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบทดสอบวัดความรู้ทางคณิตศาสตร์รายวิชาแคลคูลัส 1 แบบประเมินพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่มและแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกบักระบวนการเรียนการสอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีผลที่ได้จากการนำกระบวนการเรียนการสอนรายวิชาแคลคูลัส 1 ไปใช้พบว่า 1)ความรู้ทางคณิตศาสตร์รายวิชาแคลคูลัส 1 ของนักศึกษาครูหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) พฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่มอยู่ในระดับดีและ 3) นักศึกษาครูส่วนใหญ่เห็นด้วยกับกระบวนการเรียนการสอนรายวิชาแคลคูลัส 1 ที่พัฒนาขึ้นว่า มีความเหมาะสม en_US
dc.description.abstract The purposes of this research were to develop instructional process of Calculus I based on cognitively guided instruction, collaborative learning, and the Lesh translation model for preservice teachers and to study implementation results on mathematics knowledge, participatory behaviors in working group, and opinions towards the developed instructional process. Methodology of this research was a research and development that consisted of 2 phases as follows: Phase 1: Developed instructional process of Calculus I included 5 steps: 1) creating a preparedness and connecting new knowledge 2) developing mathematical thinking 3) expanding collaborative knowledge 4) presenting and summarizing collaborative knowledge and 5) connecting and application of knowledge. Phase 2: Using the developed instructional process of Calculus I for evaluating the efficiency and improving the instructional process to get the appropriate. The target population was twenty eight students and twenty two students of the Mathematics program who registered Calculus I in the second semester of academic year 2016 and the first semester of academic year 2017 respectively. The instruments in data collection consisted of mathematics knowledge of Calculus I tests, participatory behavior evaluation forms in working group, and questionnaire about the instructional process. Data were analyzed by using mean, percentage, standard deviation, and t-test. The results of implementing the developed instructional process of Calculus I indicated the following: 1) The mathematics knowledge of Calculus I of preservice teachers after learning was higher than before learning at .01 level of significance. 2) Participatory behavior in working group was good level. And 3) almost preservice teachers agreed that the instructional process of Calculus I was appropriate. Keywords: Calculus I, cognitively guided instruction, collaborative learning, the Lesh translation model, preservice teacher en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนรายวิชาแคลคูลัส 1 ตามแนวคิดการเรียนการสอนที่ แนะให้รู้คิด การเรียนรู้ร่วมกัน และรูปแบบการแปลงของเลชสำหรับนักศึกษาครู en_US
dc.title การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนรายวิชาแคลคูลัส 1 ตามแนวคิดการเรียนการสอนที่ แนะให้รู้คิด การเรียนรู้ร่วมกัน และรูปแบบการแปลงของเลชสำหรับนักศึกษาครู en_US
dc.title.alternative The Development of Instructional Process of Calculus Based on Cognitively Guided Instruction, Collaborative Learning, and the Lesh Translation Model for Preservice Teachers en_US
dc.type Article en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics