ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

บทบาทประเพณีนาวานในการพัฒนาชุมชนให้ชุมชนเข้มแข็ง กรณีศึกษา: บ้านหนองซอแซ ตำบลหนองกระทิง อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.author พระครูอินทวนานุรักษ์
dc.date.accessioned 2017-09-02T03:46:24Z
dc.date.available 2017-09-02T03:46:24Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/468
dc.description.abstract การวิจัยเรื่องบทบาทประเพณีนาวานในการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง กรณีศึกษาบ้านหนองซอแซ ตำบลหนองกระทิง อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรมย์ มีจุดมุ่งหมาย 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมากระบวนการและองค์ประกอบของประเพณีนาวานอีสาน 2) เพื่อศึกษาบทบาทของประเพณีนาวานในการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน และ 3) เพื่อหาแนวทางฟื้นฟูอนุรักษ์และสืบทอดประเพณีนาวานอีสานให้ดำรงอยู่สืบไป ผลการศึกษาพบว่า การทำนาวานของชาวบ้านหนองซอแซ เป็นภูมปัญญาท้องถิ่นที่ได้รับการสืบทอดมาจากบรรพชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านแรงงานในการทำนา ในขั้นตอนต่างๆ คือ การทำนาวานในขั้นตอนการไถดะ ไถแปร ขั้นตอนการปักดำ การเก็บเกี่ยว การนวดและการเก็บขึ้นยุ้งฉาง โดยขั้นตอนการทำนาวานในแต่ละขั้นตอนขั้นตอนจะมีความคล้ายคลึงกัน ได้แก่ การบอกกล่าวญาติพี่น้อง การจัดเตรียมสถานที่ การทำพิธีกรรมพิธีกรรมเลี้ยงตาแฮกในขั้นตอนการไถและปักดำ การบูชาแม่โพสพในขั้นตอนการเก็บเกี่ยว นอกจากนั้นเจ้าภาพยังต้องเตรียมอาหารหวานคาว ไว้สำหรับเลี้ยงแขกผู้ที่ไปช่วยแรงด้วย ในด้านบทบาทของประเพณีนาวานในการพัฒนาชุมชน พบว่า ประเพณีนาวาน มีบทบาทในการพัฒนาความเข้มแข็งให้กับชุมชน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและความรู้ของชุมชน กล่าวคือ ในด้านเศรษฐกิจ เป็นการลดภาระรายจ่ายให้กับชาวนา ในด้านสังคม นาวานเป็นกิจกรรมที่ยึดโยงคนในสังคมให้เกิดความสัมพันธ์ของคนในชุมชนให้เหนียวแน่น เป็นประเพณีที่แสดงถึงความสามัคคีและยังได้รับความสนุกสนาน ทำให้เกิดความสามัคคีกลมเกลียวในชุมชนและระบบเครือญาติสามารถสร้างความสมดุลในระบบสังคมโดยมีการแสดงออกทางพฤติกรรมร่วมกัน ด้านวัฒนธรรม ประเพณีนาวานเป็นวัฒนธรรมของชาวนาที่ก่อให้เกิดการสืบสานของประเพณีของท้องถิ่นไว้และเป็นประเพณีที่จะนำไปสู่การอนุรักษ์ประเพณีอื่นๆ เช่น ประเพณีบุญคูณลาน เป็นต้น นอกจากนั้นยังทำให้มีการสืบทอดวัฒนธรรมด้านการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพชนด้วยด้านพัฒนาความรู้ การจัดประเพณีนาวานทำให้เกิดการเรียนรู้โดยการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างคนที่ไปดำเนินกิจกรรมร่วมกัน โดนการเรียนรู้ดังกล่าวเป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว แนวทางในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูประเพณีนาวาน พบว่า การจัดเป็นประเพณีของท้องถิ่นโดยการจัดเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ซึ่งชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วัด โรงเรียน และองค์กรอื่นๆที่มีอยู่ในชุมชนต้องประสานความร่วมมือกันอย่างพร้อมเพรียง เพราะประเพณีนาวานเป็นแบบแผนในการปฏิบัติของคนในชุมชนและการอนุรักษ์ฟื้นฟูด้วยการจัดทำเป็นหลักสูตรท้องถิ่นโดนสถานศึกษาจะมีบทบาทในการกำหนดหลักสูตรเพื่อให้คนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้และสืบทอดไว้ กล่าวได้ว่า ประเพณีนาวานเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชุมชนที่ควรอนุรักษ์ไว้ และประเพณีนาวานทำให้สังคมเกิดความเป็นระเบียบและเกิดความสงบสุข en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. ศูนย์วิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ en_US
dc.title บทบาทประเพณีนาวานในการพัฒนาชุมชนให้ชุมชนเข้มแข็ง กรณีศึกษา: บ้านหนองซอแซ ตำบลหนองกระทิง อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative ROLES OF NAWAN RICE PLANTING TRADITION IN STRENGTENTING THE COMMUNITY: A CASE STUDY OF NONGSORSA VILLAGE, NONGGRATING SUBDISTRICT LAMPLAIMAT DISTRICT, BURIRAM PROVINCE en_US
dc.type Thesis en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics