ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

สภาพการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาในสหวิทยาเขตเมืองบุรีรัมย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32

Show simple item record

dc.contributor.author บุญยวีร์, พัฒนธนกิตติโชค
dc.date.accessioned 2017-09-02T03:43:36Z
dc.date.available 2017-09-02T03:43:36Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/461
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาพการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาในสหวิทยาเขตเมืองบุรีรัมย์สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารและครูทั้งหมดจำนวน 246 คนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง มีความเชื่อมั่นทั้งหมดเท่ากับ .9920 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานใช้ independent sample t- test กำหนดค่าสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. ความคิดเห็นของผู้บริหารต่อสภาพการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาในสหวิทยาเขตเมืองบุรีรัมย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32 โดยรวมและรายด้าน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับดีมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับดีมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือการบริหารบัญชี รองลงมาคือ การบริหารการเงิน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือด้านการระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา 2. ความคิดเห็นของครูต่อสภาพการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาในสหวิทยาเขตเมืองบุรีรัมย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 โดยรวมและรายด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการบริหารการเงิน รองลงมาคือ ด้านการบริหารบัญชี ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการตรวจสอบ ติดตามประเมินผลและรายงานผลการใช้เงินและผลการดำเนินงาน 3. ความคิดเห็นของผู้บริหารและครูต่อสภาพการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาในสหวิทยาเขตเมืองบุรีรัมย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 โดยรวมและรายด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการบริหารบัญชี รองลงมาคือ ด้านการบริหารการเงิน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา 4. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูต่อสภาพการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาในสหวิทยาเขตเมืองบุรีรัมย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32 โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือด้านการจัดทำและเสนอของบประมาณด้านการตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการใช้เงิน และผลการดำเนินงาน และด้านการระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา ส่วนด้านอื่นๆ ไม่แตกต่างกัน 5. ผู้บริหารสถานศึกษาและครู แสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับสภาพการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาในสหวิทยาเขตเมืองบุรีรัมย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32 โดยสรุปข้อเสนอแนะเป็นรายด้าน ดังนี้ ด้านการจัดทำและเสนอของบประมาณ การจัดทำงบประมาณไม่ควรทำอย่างเร่งรีบ ควรให้มีการจัดทำล่วงหน้าอย่างถูกต้องและชัดเจน ด้านการจัดสรรงบประมาณ ควรจัดสรรงบประมาณเรียงลำดับตามความเร่งด่วนและจัดสรรให้ทั่วถึง ด้านการตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผล และรายงานการใช้เงินและผลการดำเนินงาน ควรมีการตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการใช้เงิน และผลการดำเนินให้เป็นปัจจุบันและแจ้งให้ส่วนรวมรับทราบ ด้านการระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา ควรมีการประสานงานกับบุคคลภายนอก เพื่อระดมทรัพยากรให้ได้มากที่สุด ด้านการบริหารการเงิน ควรมีการชี้แจงรายรับ-รายจ่ายอย่างเปิดเผยและมีการจัดทำเป็นเอกสารไว้ให้ชัดเจนไม่ว่าเงินนั้นจะมาจากที่ใดก็ตาม ด้านการบัญชี ควรหาบุคคลที่มีวุฒิการศึกษาโดยเฉพาะเข้ามาทำงาน และทำงานให้ถูกต้องเป็นปัจจุบัน และด้านการบริหารพัสดุและสินทรัพย์ ควรมีการควบคุมและทำทะเบียนคุมอย่างจริงจังและเป็นปัจจุบัน en_US
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาพการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาในสหวิทยาเขตเมืองบุรีรัมย์สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารและครูทั้งหมดจำนวน 246 คนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง มีความเชื่อมั่นทั้งหมดเท่ากับ .9920 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานใช้ independent sample t- test กำหนดค่าสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. ความคิดเห็นของผู้บริหารต่อสภาพการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาในสหวิทยาเขตเมืองบุรีรัมย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32 โดยรวมและรายด้าน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับดีมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับดีมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือการบริหารบัญชี รองลงมาคือ การบริหารการเงิน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือด้านการระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา 2. ความคิดเห็นของครูต่อสภาพการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาในสหวิทยาเขตเมืองบุรีรัมย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 โดยรวมและรายด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการบริหารการเงิน รองลงมาคือ ด้านการบริหารบัญชี ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการตรวจสอบ ติดตามประเมินผลและรายงานผลการใช้เงินและผลการดำเนินงาน 3. ความคิดเห็นของผู้บริหารและครูต่อสภาพการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาในสหวิทยาเขตเมืองบุรีรัมย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 โดยรวมและรายด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการบริหารบัญชี รองลงมาคือ ด้านการบริหารการเงิน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา 4. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูต่อสภาพการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาในสหวิทยาเขตเมืองบุรีรัมย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32 โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือด้านการจัดทำและเสนอของบประมาณด้านการตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการใช้เงิน และผลการดำเนินงาน และด้านการระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา ส่วนด้านอื่นๆ ไม่แตกต่างกัน 5. ผู้บริหารสถานศึกษาและครู แสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับสภาพการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาในสหวิทยาเขตเมืองบุรีรัมย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32 โดยสรุปข้อเสนอแนะเป็นรายด้าน ดังนี้ ด้านการจัดทำและเสนอของบประมาณ การจัดทำงบประมาณไม่ควรทำอย่างเร่งรีบ ควรให้มีการจัดทำล่วงหน้าอย่างถูกต้องและชัดเจน ด้านการจัดสรรงบประมาณ ควรจัดสรรงบประมาณเรียงลำดับตามความเร่งด่วนและจัดสรรให้ทั่วถึง ด้านการตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผล และรายงานการใช้เงินและผลการดำเนินงาน ควรมีการตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการใช้เงิน และผลการดำเนินให้เป็นปัจจุบันและแจ้งให้ส่วนรวมรับทราบ ด้านการระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา ควรมีการประสานงานกับบุคคลภายนอก เพื่อระดมทรัพยากรให้ได้มากที่สุด ด้านการบริหารการเงิน ควรมีการชี้แจงรายรับ-รายจ่ายอย่างเปิดเผยและมีการจัดทำเป็นเอกสารไว้ให้ชัดเจนไม่ว่าเงินนั้นจะมาจากที่ใดก็ตาม ด้านการบัญชี ควรหาบุคคลที่มีวุฒิการศึกษาโดยเฉพาะเข้ามาทำงาน และทำงานให้ถูกต้องเป็นปัจจุบัน และด้านการบริหารพัสดุและสินทรัพย์ ควรมีการควบคุมและทำทะเบียนคุมอย่างจริงจังและเป็นปัจจุบัน en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราฃภัฏบุรีรัมย์. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ en_US
dc.title สภาพการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาในสหวิทยาเขตเมืองบุรีรัมย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32 en_US
dc.title.alternative BUDGET MANAGEMENT CONDITION OF SCHOOLS IN MUANG BURIRAM CONSORTIUM UNDER THE SUPERVISION OF SECONDARY EDUCATION OFFICE AREA 32 en_US
dc.type Thesis en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics