ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านโรคหลอดเลือดสมองของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปิยาภรณ์ ศิริภานุมาศ en_US
dc.contributor.advisor สุรชัย ปิยานุกุล en_US
dc.contributor.author ถาวรีย์, แสงงาม
dc.date.accessioned 2018-09-27T07:27:18Z
dc.date.available 2018-09-27T07:27:18Z
dc.date.issued 2561-09-27
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/4365
dc.description.abstract การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะ ที่ต้องการด้านโรคหลอดเลือดสมอง และวิธีการพัฒนาสมรรถนะด้านโรคพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านโรคหลอดเลือดสมองของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และ 3) เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถด้านโรคหลอดสมองของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยกำหนด วิธีวิจัย 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพด้านโรคหลอดเลือดสมองที่ต้องการจากแหล่งข้อมูล 3 แหล่ง คือ 1) จากเอกสารงานวิจัย 2) จากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน 3) จากกลุ่มตัวอย่าง 150 คน โดยสุ่มจากพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลส่งเริมสุขภาพตำบลใน จังหวัดบุรีรัมย์ ใช้แบบสอบถามประมาณค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.99 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 ร่างและพัฒนารูปแบบพัฒนาสมรรถนะด้านโรคหลอดเลือดสมอง ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตรวจสอบความถูกต้องรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน ระยะที่ 3 การประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถด้านโรคหลอดเลือดสมองของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 18 คน ประเมินเหมาะสม ความสอดคล้องความเป็นไปได้ ความถูกต้องครอบคลุม ผลการวิจัย พบว่า 1. สมรรถนะด้านโรคหลอดเลือดสมองเลือดสมองของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ต้องการมี 18 ด้าน ได้แก่ คือ 1) ด้านโรคหลอดเลือดสมอง 2) ด้านโรคหลอดเลือดสมองอุดตันเฉียบพลัน 3) ด้านการดูแลระบบทางเดินหายใจ 4) ด้านหัวใจและหลอดเลือด 5) ด้านการดูแลรักษาโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง 6) ด้านการฟื้นฟูสภาพหลังป่วย 7) ด้านอาการเมื่อยล้าหลังป่วย 8) ด้านจัดท่าทาง และการดูแลผิวหนังที่ถูกกดทับ 9) ด้านการควบคุมความเจ็บปวด 10) ด้านการมองเห็นและการรับรู้ 11) ด้านการสื่อการ 12) ด้านการดูแลสุขภาพจิต 13) ด้านภาวะโภชนาการ 14) ด้านการขับถ่าย 15) ด้านเพศสัมพันธ์หลังป่วย 16) ด้านส่งต่อในการดูแลรักษา 17) ด้านการดูแลระยะยาว และ 18) ด้านการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายโดยความต้องการในด้านวิธีการพัฒนาด้านโรคหลอดเลือดสมองในลักษณะการฝึกอบรม การฝึกงานและทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญและฝึกปฏิบัติ 2. รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านโรคหลอดเลือดสมองของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ซึ่งประกอบด้วย หลักการและเหตุผล จุดมุ่งหมายส่วนประกอบของคู่มือโครงสร้างของคู่มือ ระยะเวลาในการพัฒนา การวัดและประเมินผลการพัฒนา 3. ผลการประเมินรูปแบบพัฒนาสมรรถนะด้านโรคหลอดเลือดสมองของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ซึ่งได้รับการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญมีความเหมาะสมความสอดคล้อง ความเป็นไปได้ ความถูกต้องครอบคลุมภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก en_US
dc.description.sponsorship The objectives of this research with mixed methods were 1) to study needed stroke Competency of nurses and methods of developing their competency at sub-district health promoting hospitals; 2) to create and check a model and manual of stroke competency development for nurses at the sub-district health promoting hospitals; and 3) to evaluate the developed model. Three phases of conducting this research were carried out: Phase 1- the literature about the needed stroke competency of nurses was reviewed from three sources i.e., 1) research documents, 2) five experts, and 3) 150 samples who were randomly selected from the nurses working at the sub-district health promoting hospitals by a questionnaire with the reliability of 0.99. The statistics used to analyze the obtained data were frequency, percentage, mean and standard deviation; Phase 2 - a model of stroke competency development for nurses was drafted and developed by the researcher and was examined and approved by five experts; Phase 3 - the model was evaluated by 18 experts in order to find its appropriateness, concurrence, possibility and correctness, The research results revealed that: 1. The samples' stroke competency development at the research area consisted of 18 aspects: 1) stroke, 2) acute stroke, 3) respiratory care, 4) cardiovascular care, 5) diabetes hypertensions dyslipidemia, 6) rehabilitation after stroke, 7) fatigue after stroke, 8) positioning and pressure area care, 9) pain control, 10) vision and perception, 11) communication, 12) psychological care, 13) nutrition, 14) excretory, 15) sex after stroke, 16) transfer of care, 17) long term care and 18) end of life careThe most required methods for developing their stroke competency were training, workshop, working with experts and workshop. 2. The model stroke competency development for nurses consisted of the following components: rationale, purposes, contents, manual structures, periods of development, development process, and measurement and evaluation. 3. Having evaluated by the experts, the developed model's appropriateness, concurrence, possibility and correctness was overall found and each aspects at a high level. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject ภาวะผู้นำเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ en_US
dc.title รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านโรคหลอดเลือดสมองของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล en_US
dc.title.alternative A Model of Stroke Competency Development for Nurscs at Sub-districrHealth Promoting Hospitals en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.level ปริญญาเอก en_US
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics