ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การพัฒนาหลักสูตรการบริหารจัดการวิชาการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Show simple item record

dc.contributor.advisor นวมินทร์ ประชานันท์ en_US
dc.contributor.advisor จรัส สว่างทัพ en_US
dc.contributor.author ปิยนันท์, แซ่จิว
dc.date.accessioned 2018-09-27T07:19:40Z
dc.date.available 2018-09-27T07:19:40Z
dc.date.issued 2561-11-24
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/4364
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อ 1) ศึกษาขอบข่ายการบริหารจัดการงานวิชาการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) พัฒนา หลักสูตรการฝึกอบรมการบริหารงานวิชาการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3) ศึกษาผลการใช้หลักสูตรการฝึกอบรมการบริหารงานวิชาการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 4) ประเมิน หลักสูตรการฝึกอบรมการบริหารงานวิชาการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การวิจัยได้ดำเนินการวิจัยเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาและ วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานที่เป็นปัญหาและความต้องการในการพัฒนา ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) การศึกษาดูงานและการสัมภาษณ์หัวหน้า ศูนย์ ครูผู้สอน คณะกรรมการบริหารศูนย์ และผู้ปกครอง จำนวน 8 คน จากศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ที่เป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต้นแบบ 2 แห่ง ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาล ตำบล ท่าตูม อำเภอ ท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด อำเภอ เมืองร้อยเอ็ด จังหวัด ร้อยเอ็ด และ 3) การวิเคราะห์และสังเคราะห์ปัญหาความต้องการในการพัฒนา ระยะที่ 2 การสร้างหลักสูตรการฝึกอบรม ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การสร้างโครงร่างหลักสูตร การฝึกอบรม 2) การตรวจสอบโครงร่างหลักสูตรการฝึกอบรม โดยการประชุมกลุ่มย่อยผู้เชี่ยวชาญ และ 3) การปรับปรุงโครงร่างหลักสูตรการฝึกอบรม ระยะที่ 3 การนำหลักสูตรการฝึกอบรม ไปทดลองใช้กับหัวหน้าศูนย์ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 30 คน และ ระยะที่ 4 การประเมินหลักสูตรการฝึกอบรม ผลจากการศึกษา สามารถสรุปได้ดังนี้ 1. ขอบข่ายงานวิชาการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์ปกครองท้องถิ่นในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ 1) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 2) การวางแผนงานวิชาการ 3) การจัดระบบการเรียนการสอน 4) การประเมินผลการเรียนการสอน และ 5) การนิเทศการสอน ตามลำดับ 2. ลักษณะของหลักสูตรการฝึกอบรมการบริหารจัดการงานวิชาการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองท้องถิ่นในภาตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบ 5 หน่วยการเรียน 20 หัวข้อ วิชา จำนวน 23 ชั่วโมง ซึ่งหน่วยการเรียน 5 หน่วย ประกอบด้วย หน่วยที่ 1 การพัฒนา หลักสูตรสถานศึกษา ประกอบด้วย 5 หัวข้อวิชา ได้แก่ 1) ความหมายการพัฒนาหลักสูตร สถานศึกษา 2) หลักการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 3) องค์ประกอบของการพัฒนาหลักสูตร สถานศึกษา 4) การบริหารการจัดทำและการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และ 5) การประเมิน หลักสูตรสถานศึกษา หน่วยที่ 2 การวางแผนงานวิชาการ ประกอบด้วย 4 หัวข้อวิชา ได้แก่ 1) ความหมายของการวางแผนงานวิชาการ 2) องค์ประกอบของการวางแผน 3) การวางแผน วิชาการในสถานศึกษา และ 4) การนำเทคนิคสำคัญที่ใช้ในการวางแผนงานวิชาการ หน่วยที่ 3 การจัดระบบการจัดประสบการณ์การเรียนการสอน ประกอบด้วย 4 หัวข้อวิชา ได้แก่ 1) ความหมายของการเรียน 2) ความหมายของการสอน 3) การนำแนวคิดเกี่ยวกับระบบ ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน และ 4) ระบบการเรียนการสอน หน่วยที่ 4 การประเมินผล การจัดประสบการณ์การเรียนการสอน ประกอบด้วย 3 หัวข้อวิชา ได้แก่ 1) เหตุผลและความจำเป็น ในการประเมินผลการเรียนการสอน 2) องค์ประกอบกระบวนการประเมินผลการเรียนการสอน และ 3) หลักการประเมินผลการจัดประสบการณ์การเรียนการสอน และ หน่วยที่ 5 การนิเทศ การจัดประสบการณ์การสอน ประกอบด้วย 4 หัวข้อวิชา ได้แก่ 1) ความมุ่งหมายของการนิเทศ การสอน 2) หลักการนิเทศการจัดประสบการณ์การสอน 3) กระบวนการนิเทศการจัดประสบการณ์ การสอน และ 4) เทคนิคการนิเทศการสอน ตามลำดับ 3. ผลการนนำหลักสูตรการฝึกอบรมการบริหารจัดการงานวิชาการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือไปทดลองใช้ พบว่า 3.1 หลักสูตรการอบรมมีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ มีความถูกต้อง และมีการ นำไปใช้ได้จริง ซึ่งตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 3.2 คะแนนการทดสอบของหัวหน้าศูนย์หลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมโดยใช้ หลักสูตรการฝึกอบรมการบริหารจัดการงานวิชาการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.3 ผลการประเมินความพึงพอใจของหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีต่อหลักสูตร การฝึกอบรม การบริหารจัดการงานวิชาการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ในระดับมากที่สุด 4. ผลการประเมินหลักสูตรการอบรมตามความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความถูกต้อง การนำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ 17 คน โดยภาพรวมและรายข้อ อยู่ในระดับ มากที่สุด en_US
dc.description.sponsorship This research aimed to 1) investigate the frameworks of academic administration of the child development centers under the local administrative organization in the northeast of Thailand, 2) develop the academic administration training curriculum of the child development centers under the local administrative organization in the northeast of Thailand, 3) study the implementation of the academic administration training curriculum of the child development centers under the local administrative organization in the northeast of Thailand, and 4) evaluate the academic administration training curriculum of the child development centers under the local administrative organization in the northeast of Thailand. This research was divided into four phases : phase 1: studying and analyzing the basic information related to problems and needs for development, including three steps : 1.1) reviewing the related documents and previous studies, 1.2) taking a visit and interviewing 8 principals, childcare takers, committees, and child's parents from two best practice child development centers of Thatoom Municipality in Surin province and Muang Roi Et Municipality in Roi Et province, and 1.3) analyzing and synthesizing the problems and needs for development; phase 2: constructing the academic administration training curriculum, including three steps : 2.1) drafting the academic administration training curriculum, 2.2) examining the academic administration training curriculum by the experts' group discussion, and 2.3) adapting the academic administration training curriculum; phase 3 : implementing the academic administration training curriculum with 30 principals of child development centers : and phase 4 : evaluating the academic administration training curriculum. The findings could be summarized as follows: 1. There were 5 frameworks of academic administration of the child development centers under the local administrative organization in the northeast of Thailand : consisting of 1) school curriculum development; 2) academic planning ; 3) teaching and learning management; 4) teaching and learning evaluation ; and 5) teaching supervision, respectively. 2. The academic administration training curriculum of the child development centers under the local administrative organization in the northeast of Thailand included 5 learning units with 20 topics for 23 hours. The 5 learning units were composed of 1) learning unit 1 - school curriculum development with 5 topics, namely definitions, principles, components, administration, and evaluation of the school curriculum ; 2) learning unit 2 - academic planning with 4 topics, namely definitions, components, planning, and important techniques for academic planning ; 3) learning unit 3 - teaching and learning management with 4 topics, namely definitions of learning, definitions of teaching, taking systematic approaches into applying the teaching and learning, and learning and teaching systems; 4) learning unit 4 - teaching and learning evaluation with 3 topics, namely rationale and significance, components, and principles of teaching and learning evaluation; and 5) learning unit 5 - teaching supervision with 4 topics, namely objectives, principles, processes, and techniques in teaching supervision respectively. 3. The results of the implementation of the academic administration training curriculum of the child development centers under the local administrative organization in the northeast of Thailand were that: 3.1 The academic administration training curriculum had propriety, feasibility, accuracy and utility evaluated by 5 experts in both overall and each aspect at the highest level. 3.2 The post-test mean score of the child development center principals was higher than the pre-test mean score using the academic administration training curriculum of the child development centers under the local administrative organization in the northeast of Thailand with statistical significant level of .05. 3.3 The child development center principals were satisfied with the academic administration training curriculum of the child development centers under the local administrative organization in the northeast of Thailand at the highest level. 4. The academic administration training curriculum had propriety, feasibility, accuracy and utility evaluated by 17 experts in both overall and each aspect at the highest level. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การพัฒนาหลักสูตรการบริหารจัดการวิชาการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ en_US
dc.title การพัฒนาหลักสูตรการบริหารจัดการวิชาการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ en_US
dc.title.alternative Curriculum Development of Child Development Centers' Academic Administration under Local Administrative Organizations in theNortheast of Thailand en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา en_US
dc.degree.level ปริญญาเอก en_US
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics