ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

แนวทางการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.advisor กิ่งแก้ว ปะติตังโข en_US
dc.contributor.advisor นลินทิพย์ พิมพ์กลัด en_US
dc.contributor.author ประหยัด, สวัสดิ์พูน
dc.date.accessioned 2018-09-27T07:16:20Z
dc.date.available 2018-09-27T07:16:20Z
dc.date.issued 2561-09-24
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/4362
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed Methods) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ 3) เพื่อประเมินแนวทางการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ มีขั้นตอนการวิจัย 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 25 แห่ง จากแหล่งข้อมูล 3 แหล่ง คือ 1) จากเอกสารวิจัย 2) จากพหุกรณี (Muti – case Study) จำนวน 9 คน จากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ที่มีผลการดำเนินงานดีเด่น (Best – Practice) จำนวน 3 แห่ง 3) จากกลุ่มตัวอย่าง 118 คน โดยสุ่มจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้ข้อมูลในการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยใช้แบบสอบถามประมาณค่าความเชื่อมั่งของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 ยกร่าง แนวทางการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยการนำข้อมูลจากระยะที่ 1 ที่มีผลการแสดงความคิดเห็นต่ำสุดมาเป็นกรอบแนวทางในการยกร่าง ระยะที่ 3 ตรวจสอบร่างแนวทางการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 13 คน ระยะที่ 4 ประเมินความเหมาะสมของแนวทางการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยกระบวนการอิงผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship) จำนวน 30 คน ผลการวิจัย พบว่า 1. จากผลการศึกษาสภาพปัจจุบันของการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ด้วยวิธีวิจัยเชิงปริมาณพบว่า ภาพรวมมีการปฏิบัติในระดับมาก โดยด้านบุคลากรมีภาพรวมการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งเป็นความคิดเห็นในการปฏิบัติต่ำสุดของทั้ง 6 ด้าน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า 1) ด้านการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ด้านบุคลากรภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 3) ด้านอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 4) ด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตรภาพรวมอยู่ในระดับมาก 5) ด้านการมีส่วนร่วมและสนับสนุนจากทุกภาคส่วน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 6)ด้านการส่งเสริมเครือข่ายการพัฒนาเด็กปฐมวัย ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ผลการสร้างและพัฒนาแนวทางแนวทางการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ด้านบุคลากร สรุปผลได้ดังนี้ แนวทางแนวทางการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ประกอบด้วย 1) ด้านการวางแผน ได้แก่ ศึกษาสภาพปัญหาสำรวจความต้องการสำรวจการโอนย้าย 2) ด้านการสรรหา ได้แก่ ประชาสัมพันธ์แต่งตั้งคณะกรรมการเกณฑ์การสรรหา 3) การบรรจุแต่งตั้ง ได้แก่ ประกาศชื่อผู้รับคัดเลือก/ขึ้นบัญชีควบคุมกำกับเจ้าหน้าที่กำหนดกรอบอัตรากำลังให้ชัดเจน 4) การประเมินและการพัฒนา ได้แก่ กำหนดเป้าหมายจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรประเมินผลการปฏิบัติงาน เป็นต้น 3. ผลการประเมินความเหมาะสมของแนวทางแนวทางการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการประเมินและพัฒนา อยู่ในระดับมากที่สุด en_US
dc.description.sponsorship The purposes of this mixed-method research were 1) to study guidelines for implementation of child development centers in local administrative organization in Nangrong District, Buriram Province, and 2) to evaluate these guidelines forimplementation of child development centers in the research target. The research process was divided into four phases as follows: Phase 1: The state of implementing 25 child development centers in this area was studied. In this stage was reviewed from three sources i.e., 1) research documents 2) the multi-case s was carried out focusing on three best-practice child development centers and 3) 118 samples who were randomly selected from the people involved about the implementation of the child development centers in local administrative organizations in Nangrong District, Buriram Province by a questionnaire with the reliability of 0.98. The statistics used to analyzed the obtained data were frequency, percentage, mean and standard deviation Phase 2: The guidelines for implementation of the child development centers in the local administrative organizations were drafted by applying the first stage data of the lowest scores of the samples' opinions as a framework for drafting. Phase 3: The draft of the implementation of the child development centers in the local administrative organization was examined by eighteen experts by in-depth interview. Phase 4: Suitability of the implementation of the child development centers in the local administrative organization was assessed by thirty experts via the process called connoisseurship. The research results revealed that: 1. Having studied the current state of implementing the child development centers by using a quantitative research method, it was found that the centers were overall implemented in a high level, In addition, the personnel aspect was overcalled implemented in a moderate level. This was based on the lowest level of six implemented aspects. Upon considering each aspect, it showed that 1) administration of the centers was overall found at high level. 2) The center personnel were overall at a moderate level. 3) Buildings, environment and safety were overall at a high level. 4) Academic affairs and curriculum-oriented activities were overall at a high level 5) Participations and supports from all sectors were overall at a high level. And 6) promotion of early childhood development networks was overall at a high level 2 Having established and developed the guidelines for the implementation of the child development centers, it was discovered that the guidelines consisted of the following aspects 1) For planning, namely study the problems, survey the needs and migration survey 2) For recruitment, namely public relation committees appointment and recruitment criterion. 3) For appointment, namely announcement of the selected persons, control staff and workforce planning. 4) For evaluations and developments, namely goal setting, plan developing and performance evaluating, etc. 3. Having assessed the following aspects of suitability of the guidelines for the implementation of the child development centers, it showed that all aspects were overall found at a highest level. Moreover, the evaluations and developments was ranked first at the average highest level. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject ภาวะผู้นำเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ en_US
dc.title แนวทางการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative Guidelines for Implementation of Child Development Centers in Local Administrative Organization in Nangrong District, Buriram Province en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.level ปริญญาเอก en_US
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics