ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การพัฒนาแนวทางการจัดการศึกษานักเรียนนายสิบตำรวจของศูนย์ฝึกอบรมตำรวจ

Show simple item record

dc.contributor.advisor สมศักดิ์ จีวัฒนา en_US
dc.contributor.advisor นลินทิพย์ พิมพ์กลัด en_US
dc.contributor.author จุมพล, สังขะเกตุ
dc.date.accessioned 2018-09-20T07:14:38Z
dc.date.available 2018-09-20T07:14:38Z
dc.date.issued 2561-09-20
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/4333
dc.description.abstract การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการศึกษานักเรียนนายสิบตำรวจของศูนย์ฝึกอบรมตำรวจ 2) พัฒนาแนวทางการจัดการศึกษานักเรียนนายสิบตำรวจของศูนย์ฝึกอบรมตำรวจ และ 3) ประเมินแนวทางการจัดการศึกษานักเรียนนายสิบตำรวจของศูนย์ฝึกอบรมตำรวจ วิธีการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพการจัดการศึกษานักเรียนนายสิบตำรวจของศูนย์ฝึกอบรมตำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยโดยใช้แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.9161 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนนายสิบตำรวจที่สำเร็จการศึกษาไปแล้ว จำนวน 248 คน ใช้วิธีสุ่มอย่างง่ายแบบแบ่งชั้นภูมิ และการสัมภาษณ์จากผู้สอนภายในและครูฝึก จำนวน 18 คน เลือกแบบเจาะจง ระยะที่ 2 การพัฒนาร่างแนวทางการจัดการศึกษานักเรียนนายสิบตำรวจของศูนย์ฝึกอบรมตำรวจ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้าเอกสารและผลวิจัยในระยะที่ 1 นำมาจัดทำร่างแนวทางการจัดการศึกษา ระยะที่ 3 การตรวจสอบแนวทางการจัดการศึกษานักเรียนนายสิบตำรวจของศูนย์ฝึกอบรมตำรวจ โดยการสัมภาษณ์จากผู้คุณวุฒิ จำนวน 9 คน และระยะที่ 4 การประเมินแนวทางการจัดการศึกษานักเรียนนายสิบตำรวจของศูนย์ฝึกอบรมตำรวจ โดยคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรของศูนย์ฝึกตำรวจภูธรภาค 1 จำนวน 30 คน และใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการจัดการศึกษานักเรียนนายสิบตำรวจของศูนย์ฝึกอบรมตำรวจ จำเป็นต้องปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยภาพรวมของสภาพการจัดการศึกษานักเรียนนายสิบตำรวจของศูนย์ฝึกอบรม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการประเมินผล ด้านวัตถุประสงค์ ด้านกิจกรรมและสื่อประกอบ และด้านเนื้อหา ตามลำดับ 2) แนวทางการจัดการศึกษานักเรียนนายสิบตำรวจของศูนย์ฝึกอบรมตำรวจประกอบด้วย ด้านคุณลักษณะของนักเรียนนายสิบตำรวจ ด้านการเรียนการสอน ด้านครูผู้สอน และด้านการประเมินหลักสูตร และ 3) การประเมินแนวทางการจัดการศึกษานักเรียนนายสิบตำรวจของศูนย์ฝึกอบรมตำรวจ ในภาพรวมมีความเหมาะสมสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางการจัดการศึกษานักเรียนนายสิบตำรวจของศูนย์ฝึกอบรมตำรวจ ได้อยู่ในระดับมาก เรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านครูผู้สอน ด้านการกำหนดคุณลักษณะนักเรียนนายสิบตำรวจ ด้านการเรียนการสอน และด้านการประเมินผล ตามลำดับ en_US
dc.description.sponsorship The purposes of this research were 1) to study the informal education for the police lance corporal students at police training center; 2) to develop the informal education guideline the police lance corporal students at police training cent; and 3) to evaluate the management guideline of the Police lance corporal students at police training center. The research was divided into 4 durations as follows : Duration 1 the study of the informal education for Police Lance Corporal Students of Police Training Center The 5 rating-scaled questionnaire was applied for data collection with reliability at 0.9161. The sample group included the graduated Police Lance Corporal Students for 248 persons, using Stratified Random Sampling and interview by the center’s instructors, and outsourced instructors and trainers for 18 persons, using Purposive Sampling method. Duration 2 the development of the informal education guideline of the informal education for the Police Lance Corporal Students : Duration 3 the examination of the informal education guideline for the Police Lance Corporal Students ; and Duration 4 the evaluation of the informal education for the Police Lance Corporal Students. Statistics for data analysis included percentage, mean and standard deviation. According to the research, 1) the informal education of the Police Lance Corporal Students of Police Training Center needed to be improved in order to accord the present situation. The overall education has mean at the medium level, sorted in order, from most to least, evaluation, objective, activity and media and content, respectively; 2) the informal education guideline of the Police Lance Corporal Students consists of qualifications of the students, learning, instructors and course evaluation; and 3) the evaluation of the informal education guideline, its overview is appropriate to be applied, with the mean at the high level, sorted in order, from most to least, instructor, student’s qualification specification, learning, and evaluation, respectively. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การพัฒนาแนวทางการจัดการศึกษานักเรียนนายสิบตำรวจของศูนย์ฝึกอบรมตำรวจ en_US
dc.title การพัฒนาแนวทางการจัดการศึกษานักเรียนนายสิบตำรวจของศูนย์ฝึกอบรมตำรวจ en_US
dc.title.alternative Development of Guidelines of Informal Education for The Police Lance Corporal Student at Police Training Center en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline ภาวะผู้นำเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics