ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

บทบาทการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3

Show simple item record

dc.contributor.advisor สมศักดิ์ จีวัฒนา en_US
dc.contributor.advisor โกวิท วัชรินทรางกูร en_US
dc.contributor.author กมลวรรณ, ธรรมรัตนารมย์
dc.date.accessioned 2018-09-20T06:52:46Z
dc.date.available 2018-09-20T06:52:46Z
dc.date.issued 2561-09-20
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/4331
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาบทบาทการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 และ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริการและครู เกี่ยวกับบทบาทการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารโรงเรียน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 โดยจำแนกตามสภาพและขนาดของโรงเรียนกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหารจำนวน 139 คนและครูจำนวน 206 คน รวมกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 345 คนได้มาโดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตารางเครจซี่และมอร์แกน แล้วทำการสุ่มแบบหลายขั้นตอนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมี 3 ลักษณะ ได้แก่ แบบสำรวจรายการ แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับและแบบปลายเปิด มีค่าความเชื่อมั่น 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมุติฐานโดยการทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ตามวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า 1. บทบาทการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูเกี่ยวกับบทบาทการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 จำแนกตามสภาพตำแหน่งโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านการสร้างขวัญและกำลังใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านการสร้างบรรยากาศทางวิจัย ด้านการจัดให้มีคณะกรรมการด้านวิจัย และด้านการสนับสนุนด้านงบประมาณแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านอื่นไม่แตกต่างกันและจำแนกตามขนาดของโรงเรียนโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบทบาทการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 ได้แก่ ควรจัดให้มีมุมแสดงผลงานวิจัยหรือนวัตกรรมที่ครูวิจัยในชั้นเรียนจัดทำขึ้น รองลงมา คือ ผู้บริหารสนับสนุนครูให้มีการทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างเท่าเทียมกันและผู้บริหารควรติดตามผลการวิจัย ให้กำลังใจและช่วยเหลือตามความจำเป็น en_US
dc.description.sponsorship The research aimed to 1) study the role of promoting classroom research of school administrators and teachers in school under Buriram Educational Primary Service Area Office 3 And 2) compare the options of school administrators and teachers about the role of promoting a classroom research of school administrators and teachers in school under Buriram Educational primary Service Area Office 3 divided by status, positions and size of school. The sample consisted of 139 administrators and 206 teacher who were determined by the sample size table of Krejcie and Morgan and multistage random. The instruments used to collect data was a questionnaire, created by researcher. The questionnaire had three parts including checklist, 5 rating scale, and open – ended form. The reliability was 0.94 The statistics used for data analysis were frequency, percentage, average, and standard deviation. The hypothesis was tested by t – test, One way ANOVA, and tested the difference of the average by the method of Scheffe . The results of the study were as follows: 1.The role of promoting classroom research of school administrators and teachers in school under Buriram Educational Primary Service Area Office 3, according to the options of adnomistrators and teacher, as a whole and in each aspect were at a high level. 2. When compared the options of administrators and teacher in schools on the role of promoting classroom research of school administrators and teachers in school under Buriram Educational Primary Service Area Office 3 divided by positions, as a whole and in each aspect had the statistically difference at the .01 level. When considering each aspect, it was found that the morale support aspect had statistically significant difference at the .05 level. The research atmosphere aspect, the research committee aspect, and budget support aspect had statistically significant difference at the .01 level. The other aspects were not different. When divided by size of school, as a whole and in each aspect it had the statistically difference at the .01 level. 3. Comments and suggestions on the role of promoting the classroom research in schools under Buriram Educational Primary Service Area Office 3 were : there should be a corner for exhibiting the research results or innovation invented by the teachers, followed by the administrators should equally support teachers and the administrators should follow, encourage, and support the teacher to do research in class. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject บทบาทการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 en_US
dc.title บทบาทการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 en_US
dc.title.alternative The roles of Promoting Classroom Research of school Administrators under Buriram Educational Service Area Office 3 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics