ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปิยาภรณ์ ศิริภานุมาศ en_US
dc.contributor.advisor สุรชัย ปิยานุกูล en_US
dc.contributor.author เบญจวรรณ, เหลวกูล
dc.date.accessioned 2018-09-06T03:39:56Z
dc.date.available 2018-09-06T03:39:56Z
dc.date.issued 2561-08-31
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/4315
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาปัญหางานบริหารวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 2) เปรียบเทียบปัญหาในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ เขต 3 จำแนกตามสภาพและประสบการณ์ทำงาน และ 3) ศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่เป็นบริหารสถานศึกษา จำนวน 70 คน และครู จำนวน 214 คน รวมจำนวนทั้งหมด 284 คน ซึ่งได้มาโดยการกำหนดขนาดกลุ่มกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน และทำการสุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม คือ แบบสอบถาม ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมี 3 ลักษณะ ได้แก่ แบบสำรวจรายการ แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบปลายปิด มีค่าความเชื่อมั่น 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัญหาในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการวัดผล ประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียน รองลงมา คือ ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ด้านการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ และด้านพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารงานวิชาการของผู้บริหารและครูเกี่ยวกับปัญหาในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 จำแนกสถานภาพตำแหน่ง โดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า พบว่า ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา แตกต่างกันอย่างมีวินัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่นๆ ไม่แตกต่างกัน และจำแนกตามประสบการณ์การทำงาน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3. แนวทางการแก้ไขปัญหาการบริหารงานวิชาการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 มี 5 ด้าน ดังนี้ 3.1 ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา พบว่า ควรมีการประชุม แผนร่วมกันระหว่างผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา จากวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของสถานศึกษา จัดให้ครูเข้ารับการอบรมเกี่ยวหลักสูตร 3.2 ด้านการวัดผล ประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียน พบว่า ควรส่งเสริมให้ครูมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม และผู้บริหารควรเพิ่มการให้คำแนะนำในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แก่ครู 3.3 ด้านการวัด ผลประเมิน และเทียบโอนผลการเรียน พบว่า ควรส่งเสริมให้ครูมีส่วนร่วมในการสร้างเครื่องมือวัดผลประเมินผล จัดให้มีการประชุมร่วมกันระหว่างผู้บริหารและครูเพื่อกำหนดระเบียบแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการวัดผลและการประเมินผลของสถานศึกษา 3.4 ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา พบว่า ควรจัดให้มีการอบรบครูเกี่ยวกับการสร้างและการใช้นวัตกรรมด้วยวิธีที่หลากหลาย ส่งเสริมให้ครูทำการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มสาระ และผู้บริหารและครูควรให้ความสำคัญกับการวิจัยเพื่อพัฒนา 3.5 ด้านการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ พบว่า ควรส่งเสริมสนับสนุนให้ครูใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งหมดในและนอกโรงเรียน ดำเนินการจัดตั้งและพัฒนาแหล่งการเรียนรู้รวมพัฒนาให้องค์ความรู้ และสำรวจแหล่งเรียนรู้ทั้งในสถานศึกษา ชุมชนท้องถิ่น en_US
dc.description.sponsorship The purposes of this resesrch were 1) to study the prody the problems of acdamic administration in small schools under Buriram Pimary Eudcaipnal Service Aera Office 3 and 2) to study the solutions to academic administration of small schools under this office. The samples totally consisted of 284 respondents: 70 school administrators and 214 teachermined by the sample size table of Krejcie and Morgan and selected by stratified by stratified random sampling. The instrument used created by the researcher with three parts: checklist, 5-rating scale, and open-ended. Its reliability was 0.97. The statics used for data analysis were frequency, percentage, mean, and standard deviation. The findings of this study were as follows: 1. The problems of academic administration of small schools under Buriram Primary Educational Service Area Office 3 were at the high level in overall and each aspect. The highest mean scores were the assessment and evaluationand the transfer, followed by the research for development of educational quality, the development of lwarning sources, and the development of the school curriculum respectively. 2. The solutions to academic administration under Buriram Primary Educational Service Area Office 3 were classified into five aspects as follows: 2.1 In the development of the school curriculum, it was found that administrators, teachers, and school board shouln have a meeting of planning and development of the curriculum base on vision, mission, hoals, and desirable characteristics of the schiils. In addition, teachers should be trained for the curriculum. 2.2 In the evelopment of learning process, it was found found that teachers should set learner-centered activities and train the knowledge of applying local wisdom, parents’ network, local communities to participation in setting the activies. The administrors also should provide the recommendation of lerning activities for teachers. 2.3 In the assessment and evaluation and the transfer, it was found that teachers should be encouraged to participate in constructing the instrument of the assessment ant evaluation. ln addition, there should be a meetind between administrators and teachers to set guidelines to set guidelines for the assessment and evaluation of schools. 2.4 In the research for development of the educational quality, it was found that teachers should be trained for creating innovation in different ways, promoting them to conduct research for development of the learning and applying innovation in different ways, promoting them to conduct research for the development of the learning quality in each learning essential area, and teachers and administrator should focus on research for development. 2.5 In the development of learning sources, it was found that teachers should be encouraged to use all learning sourcing sources both inside and outside schools. In addition, there should be the establishment of the learning sourcing to develop the bodies of knowledge and the exploration of the learning sourcing in sources in schools and local communities. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject ปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 en_US
dc.title ปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 en_US
dc.title.alternative Problems and and solutions to academic administration of small schools under Buriram Praimary Educational Service Area Office 3 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหามหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics