ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

สภาพการดำเนินงานตามโครงการสถานศึกษาพอเพียงของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32

Show simple item record

dc.contributor.advisor สงวน ทรงวิวัฒน์ en_US
dc.contributor.advisor นิตยา บรรณประสิทธิ์ en_US
dc.contributor.author วิภารัตน์, นาดี
dc.date.accessioned 2018-08-29T07:30:06Z
dc.date.available 2018-08-29T07:30:06Z
dc.date.issued 2561-08-29
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/4287
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานตามโครงการศึกษาพอเพียงของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 และ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครู ที่มีต่อสภาพการดำเนินงานตามโครงการสถานศึกษาพอเพียงของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 โดยจำแนกตามสถานภาพตำแหน่ง และขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารและครูจำนวน 404 คน ซึ่งได้มาโดยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน และใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมี 3 ลักษณะ ได้แก่ แบบสำรวจรายการ แบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบปลายเปิด มีค่าความเชื่อมั่น 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ตามวิธีการของเชฟเฟ่ผลการวิจัยพบว่า 1.สภาพการดำเนินงานตามโครงการสถานศึกษาพอเพียง ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู โดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ รองลงมาคือ ด้านการพัฒนาบุคลากร ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการบริหารจัดการ 2.การเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครู เกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานตามโครงการสถานศึกษาพอเพียง จำแนกตามสถานภาพตำแหน่งโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและด้านผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และด้านการพัฒนาบุคลากร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่นๆ ไม่แตกต่างกัน 3.การเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครู เกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานตามโครงการสถานศึกษาพอเพียง จำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมและรายด้านทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4.ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้บริหารและครูเกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานตามโครงการสถานศึกษาพอเพียง ที่มีจำนวนมากที่สุด ได้แก่ ควรจัดอบรมเกี่ยวกับการดำเนินงานของสถานศึกษาพอเพียง รองลงมาคือ ควรจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เลือกอย่างหลากหลาย และควรมีการไปศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้ภายนอก ตามลำดับ en_US
dc.description.sponsorship The objectives of this research were 1) to study implementation of sufficiency school project of schools under secondary education service area office 32 and 2) to compare opinions of school administrators and teachers on implementation of this project. They were classified by using their positions and school sizes. The sample consisted of 404 administrators and teachers, selected by using krejcie and morgan table and stratified random sampling. The instrument used in this study was a questionnaire with three parts: checklist, five-rating scale and open-ended questions. Its reliability was 0.92. The statistics used to analyze the collected data were frequency, percentage, mean, and standard deviation. The hypotheses were tested by using t-test and F-test. Having found the significant differences were tested by using a scheffe’s method. The findings were as follows 1.The project implementation based on the sample’s opinions was at a high level in overall and each aspect. Moreover, outcome/success was ranked first at the average highest level and was followed by personnel developmcnt, and learner development activities respectively while Administration was ranked at the average lowest level. 2.Having compared their opinions on this project implementation, it showed that opinions of the sample with different positions were significantly different at the statistical level of .05 in overall aspect. Upon considering each aspect, it was discovered that two aspects of learner development activities and outcome/success were significantly different at the statistical level of .01 while their opinions on personnel developmcnt significantly at the statistical level of .05. however, other aspects were not found different. 3.Having compared their opinions on this project implementation, it showed that opinions of the sample with different school sizes were significantiy different at the statistical level of .05 in overall and each aspect. 4.The following extra comment and recommendations were mostly raised by the sample: the training on the implementation of sufficiency school project should be organized. Varied activities should be carried out for different students, and a study trip should also be held. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title สภาพการดำเนินงานตามโครงการสถานศึกษาพอเพียงของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 en_US
dc.title.alternative Implementation of sufficiency schools project of school under secondary education service area office 32 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics