ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การประเมินผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมของโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ชลประทานลำนางรอง : กรณีศึกษาอำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.advisor จุมพล วิเชียรศิลป์ en_US
dc.contributor.advisor สุวรรณ พวงประโคน en_US
dc.contributor.advisor หาญชัย อัมภาผล en_US
dc.contributor.author อาทิตยา, วงสมศรี
dc.date.accessioned 2018-02-21T02:33:02Z
dc.date.available 2018-02-21T02:33:02Z
dc.date.issued 2548
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/3852
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้เป็นการประเมินโครงการเฉพาะกรณี มีความมุ่งหมายเพื่อประเมินผลกระทบของโครงการชลประทานต่อสภาพเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรในเขตชลประทานลำนางรอง และศึกษาความสัมพันธ์สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมระหว่างเกษตรกรที่รวมกลุ่มเป็นองค์กรชุมชนกับเกษตรกรทั่วไปในเขตโครงการชลประทานลำนางรอง มีประชากร 3 กลุ่ม คือ เกษตรกรทั่วไปที่ทำการเกษตรอยู่ในเขตชลประทานลำนางรอง สมาชิกกลุ่มเกษตรกรทำนาส้มป่อยและ เจ้าหน้าที่ชลประทานลำนางรอง โดยมีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) แบบเจาะจง (Purposive Sampling) และกำหนดโควตา (Quota Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) และการสังเกตขณะสอบถาม แบบสอบถามแบ่งออกเป็น 5 ตอน ประกอบด้วย ข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ในการศึกษา ข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารจัดการโครงการชลประทาน ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการจัดการน้ำของเกษตรกร ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ และข้อมูลด้านสังคม ใช้ค่าสถิติพื้นฐานคือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation) ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรในเขตโครงการชลประทานลำนางรอง 1.1 ด้านเศรษฐกิจ พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มีพื้นที่ทางการเกษตร น้อยกว่า 10 ไร่ สามารถใช้พื้นที่ทำการเพาะปลูกได้ตลอดทั้งปี โดยแบ่งพื้นที่เพาะปลูกได้ 5 ประเภทคือ พื้นที่ในการทำนา พื้นที่ในการปลูกพืชไร่อายุสั้นฤดูฝน พื้นที่ในการปลูกพืชไร่อายุสั้นฤดูแล้ง พื้นที่ในการปลูกพืชผักฤดูฝน และพื้นที่ในการปลูกพืชผักฤดูแล้ง เกษตรกรได้รับน้ำในปริมาณที่เพียงพอต่อการเพาะปลูกทุกฤดู การจัดการน้ำของเกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงเพาะปลูกพืชตามความถนัดของตนเอง รองลงมาคือปลูกพืชตามความต้องการของตลาดและปริมาณน้ำในเขื่อน โครงการชลประทานจะปล่อยน้ำให้ทำการเกษตรโดยยึดปริมาณน้ำในเขื่อนและความต้องการของเกษตรกรเป็นสำคัญ เกษตรกรส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในโครงการชลประทานโดยช่วยดูแล และบำรุงคูคลองและมีเกษตรกรร้อยละ 28.5 มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและวางแผนการใช้น้ำของโครงการรายได้ของเกษตรกรส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 10,001 – 30,000 บาท/ปี มีรายได้อื่นอยู่ในช่วง 10,001 – 30,000 บาท/ปี เช่นกัน มีรายจ่ายด้านการเกษตรอยู่ในช่วง 10,001 – 20,000 บาท/ปี รายจ่ายอื่นส่วนใหญ่ ต่ำว่า 10,000 บาท และเกษตรกรส่วนใหญ่มีหนี้สินอยู่ระหว่าง 10,001 – 30,000 บาท 1.2 ด้านสังคมพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่เกินกว่า 15 ปีขึ้นไป มีการรวมกลุ่มเป็นองค์กรทั้งทางการเกษตรและทางสังคม เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่มทางการเกษตร 3 กลุ่มขึ้นไป และส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่มทางสังคม 1 กลุ่ม เกษตรกรส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในสภาพการดำรงชีวิตของตนในปัจจุบัน โดยเห็นว่า ระบบชลประทานทำให้ครอบครัวอบอุ่นขึ้น เศรษฐกิจของครอบครองดีขึ้น และทำให้ความสัมพันธ์กับชุมชนดีขึ้น 2) ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรทั่วไปกับสมาชิกกลุ่มเกษตรกรกลุ่มทำนาส้มป่อย 2.1 ด้านเศรษฐกิจ เกษตรกรกลุ่มทำนาส้มป่อยถือครองพื้นที่ทางการเกษตรสูงกว่าเกษตรกรทั่วไปคือ ส่วนใหญ่มีพื้นที่ทางการเกษตรอยู่ระหว่าง 11-20 ไร่ ในขณะที่เกษตรกรทั่วไปส่วนใหญ่มีพื้นที่ต่ำว่า 10 ไร่ แต่การใช้ประโยชน์จากพื้นที่ทางการเกษตรไม่แตกต่างกัน ในการบริหารจัดการน้ำ เกษตรกรทั่วไปจะปลูกพืชตามความถนัดของตนเอง แต่เกษตรกรกลุ่มทำนาส้มป่อยจะปลูกพืช โดยยึดความต้องการของตลาดและปริมาณน้ำที่ทางโครงการแจ้งให้ทราบ รายได้จากการเกษตรของ เกษตรกรทั่วไปส่วนใหญ่มีรายได้อยู่ระหว่าง 10,001 – 30,000 บาท/ปี ขณะที่เกษตรกรกลุ่มทำนาส้มป่อยส่วนใหญ่มีรายได้อยู่ในช่วง 30,001 – 50,000 บาท/ปี และเกษตรกรทั่วไป ส่วนใหญ่มีหนี้สินอยู่ระหว่าง 10,001 – 30,000 บาท ส่วนเกษตรกรกลุ่มทำนาส้มป่อยส่วนใหญ่มีหนี้สิน 30,001 บาทขึ้นไป จากความสัมพันธ์ของตัวแปรด้านเศรษฐกิจพบว่า พื้นที่ทางการเกษตร ต้นทุนทางการเกษตร การจัดการน้ำของเกษตรกร เกณฑ์ในการปล่อยน้ำของโครงการ และปริมาณน้ำที่เกษตรกรได้รับ มีความสัมพันธ์เป็นบวกกับรายได้ของเกษตรกรทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ส่วนเกษตรกรกลุ่มทำนาส้มป่อย มีเพียงต้นทุนทางการเกษตรเท่านั้นที่มีความสัมพันธ์เป็นบวกกับรายได้ของเกษตรกร ที่ระดับนัยสำคัญ .05 2.2 ด้านสังคม ความคิดเห็นในเรื่องสภาพการดำรงชีวิตของเกษตรกรทั้ง 2 กลุ่มไม่แตกต่างกัน ความต้องการเปลี่ยนอาชีพนั้นเกษตรกรทั่วไปส่วนใหญ่ไม่มีความต้องการเปลี่ยนอาชีพ แต่เกษตรกรกลุ่มทำนาส้มป่อยส่วนใหญ่มีความต้องการเปลี่ยนอาชีพของตนจากทำการเกษตรไปทำอาชีพอื่นเนื่องจากต้นทุนในการเกษตรสูง และความไม่ภูมิใจในอาชีพของตนเอง ด้านความสัมพันธ์ของตัวแปรด้านสังคมของเกษตรกรทั่วไป พบว่า พื้นที่ทางการเกษตร มีความสัมพันธ์เป็นบวกกับสภาพการดำรงชีวิต ปริมาณน้ำที่ได้รับมีความสัมพันธ์เป็นลบกับการย้ายถิ่น การตั้งถิ่นฐานมีความสัมพันธ์เป็นบวกกับการเป็นสมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำและการเป็นสมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำมีความสัมพันธ์เป็นบวกกับการเป็นสมาชิกกลุ่มทางสังคม โดยมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ส่วนเกษตรกรกลุ่มทำนาส้มป่อย ตัวแปรดังที่กล่าวมาไม่มีความสัมพันธ์กันทางสถิติ en_US
dc.description.abstract This Study is an evaluation of a case study project. The purpose of this study were to evaluate the effect of irrigation project on socioeconomic status of agriculturists in the Lamnangrong irrigation area and examine the relationship between social and economic of agriculturist organizations and general agriculturists living along the Lamnangrong irrigation area. The subjects were from random sampling of 3 groups of population, including general agriculturists Who do an agriculture in the Lamnangrong irrigation area, members of agriculturist organization who grow rice called ‘Sompoy’ and officials of the Lamnangrong irrigation. The samples came from stratified random sampling, purposive sampling, and quota sampling. The qualitative and quantitative data were collected from instruments; questionnaire and observation while interviewing. Each questionnaire consists of 5 sections, including 1) data about the studied area 2) data about the project administration and management 3) data about management process of agriculturists’ water supply 4) data about economic 5) data about social. The collected data were analyzed using basic statistics, percentage, mean, and correlation. Analyses of data resulted in the following findings: 1) The impact of economic and social in the Lamnangrong irrigation 1.1 In term of economic, it is found that most agriculturists own agricultural area lower than 10 rai (16,000 square metres). The area can be used throughout the whole year. Agricultural areas can be classified into 5 categories: the area for growing rice, the area for growing short-term farm crops in rainy season, the area for growing short-term farm crops in dry season, the area for growing vegetables in rainy season, and the area for growing vegetables in dry season. The water supplied meets the agricultural needs in all growing season. The water is mainly used in growing familiar crops. Secondly, it is used in growing crops according to marketing desire and the amount of water used. Agriculturists participate in the most. The 28.5 percents of agriculturists participate in the project by creating a water supply policy and water supply planning. Most agriculturists’ income rate ranged from 10,001 to 30,000 baht a year and other income also ranged from 10,001 to 20,000 baht a year. Most agriculturists were in debt at the amount of 10,001 up to 30,000 baht. 1.2 In term of social, it is found that most agriculturists have been located in the area for over 15 years up. They got together and formed the agricultural and social organization. Each of agriculturists was mostly a member of agricultural group at least 3 organizations and also mostly a member of 1 social organization. Most of the agriculturists were satisfied with their current living status. They identified that irrigation caused better family’s economic, better family affection and better community relationship. 2) The relationship between economic and social status of general agriculturists and Sompoy agriculturist group members 2.1 In term of economic, Sompoy agriculturist group members owned more agriculturist area than general agriculturists. Most of then owned agricultural area between 11 and 20 rai. There was no difference in using agricultural area in both groups. Both groups were different in water management. General agriculturists grew crops that they were familiar with but Sompoy agriculturist group grew crops according to marketing needs and the amount of water used as informed by the project. Another difference between these two groups was the income from agriculture. Most general agriculturists earned between 10,001 and 30,000 baht a year whereas most Sompoy agriculturist group earned between 30,001- 50,000 baht a year. Most general agriculturists were in debt between 10,001 and 30,000 baht up a year. According to the relationship of economic variables, it was found that agricultural area, agricultural capital, water management, criterion in releasing water of the project, and the amount of water that agriculturists received have positive correlation with the income of general agriculturists significantly at the level of .05 Meanwhile, in Sompoy agriculturist group, there was only the agricultural capital that had a positive correlation with the income. 2.2 In term of social, the opinions about living status of both groups were not different. Most of general agriculturists did not desire to change their occupation; however, most of Sompoy agriculturist group required changing their current occupation to do other ones. According to the relationship within social variables, it indicated that agricultural area was a positive correlation with living status. The amount of water received was negative correlation with migration. Location settlement had a positive correlation with being a member of water supplier group and being a member of water supplier group had a positive correlation with being a member of social group with the level of significance at .05 However, all social variables mentioned above had no significant correlation with each other in the Sompoy agriculturist group. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การประเมินผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมของโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ชลประทานลำนางรอง : กรณีศึกษาอำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title การประเมินผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมของโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ชลประทานลำนางรอง : กรณีศึกษาอำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative Evaluation of the impact of economic and social status of the Lamanagrong Irrigation Developmental Project : a Case Study of Nondindang, Buriram Province en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics