ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ผลิตภัณฑ์ด้านอาหารจากภูมิปัญญาท้องถิ่น : กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์จากกุ้งจ่อมอำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุเทียบ ละอองทอง en_US
dc.contributor.advisor กระพัน ศรีงาน en_US
dc.contributor.author อร่าม, รัตนประดับ
dc.date.accessioned 2018-02-16T04:46:02Z
dc.date.available 2018-02-16T04:46:02Z
dc.date.issued 2557
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/3813
dc.description.abstract การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพการผลิตกุ้งจ่อมตามวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น 2) เพื่อศึกษาจำหน่าย และการส่งเสริมด้านการตลาดของภาครัฐ และ 3 ) เพื่อศึกษารายได้และต้นทุนรวมทั้งสภาพเศรษฐกิจของผู้ผลิตกุ้งจ่อม อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ที่ศึกษาสภาพปัจจุบันของผลิตภัณฑ์อาหารจากภูมิปัญญาท้องถิ่น และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับกลุ่มผู้ผลิตเพื่อจำหน่าย และ กลุ่มผู้ผลิตทั้งเพื่อจำหน่ายและเพื่อผู้บริโภคในครอบครัว ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. สภาพการผลิตกุ้งจ่อมตาม วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ความคิดเห็นของผู้ผลิตและจำหน่ายกุ้งจ่อม ตามวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น การผลิตกุ้งจ่อมได้ใช้วัตถุดิบที่อยู่ในท้องถิ่นเองบางส่วน อีกส่วนหนึ่งต้องสั่งซึ้อเข้ามา ซึ่งเป็นอุปสรรคหนึ่งที่ทำให้การกำหนดราคากุ้งจ่อมเป็นไปได้ยาก และในกระบวนการผลิตมีความแตกต่างไปจากอดีตเล็กน้อย เพื่อผลิตให้ทันความต้องการ แต่หากมองถึงโอกาสที่จะพัฒนาวิธีผลิตกุ้งจ่อมให้เก็บรักษาไว้นานๆ นั้นยังมีอยู่น้อย ในส่วนของกระบวนการและเครื่องมือในการผลิตแตกต่างกันจากเดิม รวมทั้งมีการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับกุ้งจ่อมยังเป็นจุดขายสำคัญ 2. การจำหน่าย และการส่งเสริมด้านการตลาดของภาครัฐ ในส่วนตลาดของกุ้งจ่อมยังปัจจุบันมีเพียงพออยู่แล้ว นอกจากนั้นยังมีการส่งจำหน่ายกุ้งจ่อมออกไปอีก ส่วนใหญ่จะมีการผลิตและจำหน่ายสินค้าอื่นร่วมด้วยโดยปกติจะขายคู่กับกระยาสารทและผลิตภัณฑ์อื่น โดยส่วนราชการภาครัฐเองก็มีการส่งเสริมการผลิตอยู่บ้างแต่ไม่ทั่งถึง จนหลายรายรู้สึกภาครัฐเลือกปฏิบัติ ผู้ประกอบการเห็นว่าสามารถส่งเสริมให้กุ้งจ่อมเป็นสินค้าเศรษฐกิจของประโคนชัยได้และสามารถส่งเสริมให้กุ้งจ่อมมีคุณภาพสามารถส่งออกไปยังต่างประเทศได้ เนื่องจากค่อนข้างมีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมของนักท่องเทียว แต่ยังขาดการดูแลจากหน่วยงานราชการเท่านั้น ซึ่งมีเพียงการจัดการเทศการข้าวหอมมะลิ ปลาจ่อมกุ้ง ชมทุ่งนกประโคนชัย เป็นงานประจำปีแต่ผู้ประกอบการบางรายก็ไม่ได้เข้าร่วมเนื่องจากพื้นที่จัดจำหน่ายสินค้าได้จัดสรรไว้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ 3. รายได้และต้นทุนรวมทั้งสภาพทางเศรษฐกิจของผู้ผลิตกุ้งจ่อมร่วมกับผลิตภัณฑ์พื้นบ้านอื่นเป็นสิ่งจำเป็น โดยผู้ผลิตและจำหน่ายกุ้งจ่อมค่อนข้างพอใจกับรายได้ ต่อปีในการจำหน่ายกุ้งจ่อมและเมื่อเทียบยอดขายกุ้งจ่อมกับผลิตภัณฑ์อื่นแล้วเห็นว่ามียอดขายมากกว่า และยังเป็นรายได้ที่สามารถเลี้ยงครอบครัวหรือสามารถทำเป็นอาชีพหลักได้ ในส่วนของทำเลที่ตั้งของร้านขายกุ้งจ่อมส่วนใหญ่ อยู่บนเส้นทางผ่านสู่เส้นทางผ่านแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัด ปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่งคือคู่แข่งในตลาด เนื่องจากกุ้งจ่อมของอำเภอประโคนชัยมีอุปสรรคในเรื่องของต้นทุนในการขนส่ง เพราะวัตถุดิบสำคัญกุ้งฝอยที่ต้องสั่งซื้อมาจากแหล่งอื่นซึ่งอาจทำให้มีคู่แข่งที่สามารถกำหนดราคาที่ต่ำกว่าได้ จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ภาครัฐต้องเข้ามาดูแล en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject ผลิตภัณฑ์ด้านอาหารจากภูมิปัญญาท้องถิ่น : กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์จากกุ้งจ่อมอำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title ผลิตภัณฑ์ด้านอาหารจากภูมิปัญญาท้องถิ่น : กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์จากกุ้งจ่อมอำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative Food Products From Local Wisdom : a Case Study of Products from Shrimp Dip in Prakhonchai District, Buriram Province en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics