ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

บทบาทของครูในระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศิราณี จุโฑปะมา en_US
dc.contributor.advisor มาลิณี จุโฑปะมา en_US
dc.contributor.advisor ประคอง กาญจนการุณ en_US
dc.contributor.advisor ละออง ภู่เงิน en_US
dc.contributor.advisor ศรีเพ็ญ พลเดช en_US
dc.contributor.author อนิวรรต, ติมุลา
dc.date.accessioned 2018-02-16T03:12:30Z
dc.date.available 2018-02-16T03:12:30Z
dc.date.issued 2557
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/3780
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษาบทบาทของครูในระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 และเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหาร และครูเกี่ยวกับบทบาทของครูในระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 โดยมุ่งศึกษา 5 ด้าน คือ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ด้านการคัดกรองนักเรียน ด้านการส่งเสริมนักเรียน ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา และด้านการส่งต่อนักเรียน จำแนกตามสถานภาพ และขนาดของโรงเรียน ประชากรได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 103 คน และครู จำนวน 630 คน ในปีการศึกษา 2554 กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางเครจซี่และมอร์แกนได้กลุ่มตัวอย่าง 328 คน ได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 86 คน และครู จำนวน 242 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 2.246-8.205 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .9772 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานใช้ Independent Samples t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ในการเปรียบเทียบรายคู่ในแต่ละด้านโดยวิธีการของเชฟเฟ่ โดยกำหนดค่าสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. ความคิดเห็นของผู้บริหารและครูเกี่ยวกับบทบาทของครูในระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมากโดยเรียงจากค่าเฉลี่ยสูงไปหาค่าเฉลี่ยต่ำ คือ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ด้านการคัดกรองนักเรียน ด้านการส่งเสริมนักเรียน ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา และด้านการส่งต่อนักเรียน 2. เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหาร กับครูเกี่ยวกับบทบาทของครูในระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 โดยรวมและรายด้านมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหาร และครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของครูในระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 4. ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้บริหาร และครูเกี่ยวกับบทบาทของครูในระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 พบว่า ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ในการปฏิบัติขาดทักษะ ขาดความเข้าใจการใช้เครื่องมือสำหรับเก็บข้อมูล ด้านการคัดกรองนักเรียน ควรมีเกณฑ์การคัดกรอง และผลสรุปที่เป็นระบบชัดเจนและมีการดูแลอย่างต่อเนื่อง ด้านการส่งเสริมนักเรียน ครูผู้สอนควรส่งเสริมนักเรียนให้ทำกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวกับการแนะแนวเพิ่มมากขึ้น ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา การศึกษาปัญหาไม่มีความชัดเจน ไม่เป็นระบบและด้านการส่งต่อนักเรียน การติดต่อประสานงานทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกโรงเรียน ในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนไม่ชัดเจนและไม่เป็นระบบ en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject บทบาทของครูในระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 en_US
dc.title บทบาทของครูในระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 en_US
dc.title.alternative Roles of Teachers in Students Caring System in Schools under Secondary Educational Service Area Office 32 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics