ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

โครงการย่อยที่ 1 ฤทธิ์ต้านแบคทีเรียก่อโรคบางชนิดของสารสกัดจากเห็ดพื้นบ้านที่พบ บริเวณพื้นที่วนอุทยาน ภูเขาไฟกระโดง ตาบลเสม็ด อาเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.author สันธยา บุญรุ่ง, เทพอัปสร แสนสุข
dc.date.accessioned 2017-12-02T14:43:23Z
dc.date.available 2017-12-02T14:43:23Z
dc.date.issued 2558
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/3409
dc.description.abstract จากงานวิจัยเรื่องการสารวจความหลากหลายทางชีวภาพของเห็ดพื้นบ้านที่รับประทานได้ใน เขตวนอุทยานภูเขาไฟกระโดง ของ เทพอัปสรและคณะ (2558) พบว่าที่วนอุทยานภูเขาไฟกระโดงมี เห็ดพื้นบ้านรับประทานได้หลากหลายสายพันธุ์ จึงทาให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ทั้งในพื้นที่และต่างพื้นที่ เข้ามาเก็บเพื่อการบริโภคและจาหน่าย โดยการนาเห็ดมารับประทานนั้นเพื่อเป็นแหล่งโปรตีน และ เป็นยาสมุนไพร ซึ่งการใช้เห็ดพื้นบ้านเป็นยาสมุนไพรนั้นมีสืบทอดกันมาอย่างช้านาน ไม่ว่าจะเป็นใน ประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลีหรือแม้แต่ในประเทศไทยเอง เห็ดที่นิยมนามาใช้เป็นสมุนไพรได้แก่ เห็ดหอม เห็ดฟาง เห็ดแครง เป็นต้น สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพของเห็ดส่วนใหญ่ถูกนามาใช้ในการช่วยเสริมและ เพิ่มระดับภูมิคุ้มกันของร่างกายช่วยให้ร่างกายสามารถต่อสู้หรือป้องกันโรคได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งปัจจุบัน พบว่าเกิดการดื้อยาปฏิชีวนะของแบคทีเรียที่เป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลกในขณะนี้ ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการสกัดสารสกัดทางชีวภาพจากเห็ดป่าบางชนิดในเขตวน อุทยานภูเขาไฟกระโดงด้วยตัวทาละลายต่างๆ ได้แก่ เอทานอล น้าอุณหภูมิห้อง และน้าร้อนที่ อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส และเพื่อศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดจากเห็ดป่าทั้ง 3 ชนิด คือ เห็ดระโงกขาว เห็ดน้าหมาก และเห็ดเผาะ พบว่าสารสกัดที่สกัดได้จากเห็ดป่านี้มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อ จุลินทรีย์ที่นามาใช้ในการทดสอบออกเป็น 3 กลุ่มดังนี้คือ 1) กลุ่มแบคทีเรียแกรมบวก (B. cereus, S. aureus) 2) กลุ่มแบคทีเรียแกรมลบ (E. coli) และ 3) กลุ่มยีสต์ (C. albicans) พบว่าสารสกัดหยาบ ของเห็ดแบบสดและแบบแห้งนั้นมีผลการยับยั้งการเจริญของเชื้อเป็นไปในแนวทางเดียวกัน โดยพบว่า สารสกัดหยาบจากเห็ดระโงกขาในสารละลายเอทานอลสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อในลุ่ม แบคทีเรียแกรมบวก (B. cereus, S. aureus) ได้ดีที่สุด ส่วนสารสกัดหยาบจากเห็ดน้าหมากในตัวทา ละลายน้าร้อนจะยับยั้งการเจริญของเชื้อกลุ่มแบคทีเรียแกรมลบ (E. coli) ได้ดีและในกลุ่มยีสต์ (C. ค albicans) นั้นจะถูกยับยั้งโดยสารสกัดหยาบจากเห็ดเผาะในตัวทาละลายน้าร้อนยับยั้งได้ดี จากผล การศึกษานี้ควรนาไปทดลองในตัวสัตว์และส่งเสริมการนาเห็ดสมุนไพรเหล่านี้มาประยุกต์ใช้ในการ รักษาโรคที่เกิดจากเชื้อจุลินทรีย์ในทางคลินิกต่อไป en_US
dc.description.sponsorship Buriram Rajabhat University en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject ฤทธิ์ทางชีวภาพ, เห็ดป่า, การนามาใช้ประโยชน์, วนอุทยานภูเขาไฟกระโดง en_US
dc.title โครงการย่อยที่ 1 ฤทธิ์ต้านแบคทีเรียก่อโรคบางชนิดของสารสกัดจากเห็ดพื้นบ้านที่พบ บริเวณพื้นที่วนอุทยาน ภูเขาไฟกระโดง ตาบลเสม็ด อาเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative Antibacterial activity of Edible Mushrooms Folk at the KhaoKra-dong Volcano Forest Park on Samed Sub District, Muang District, Buriram Province. en_US
dc.type Research en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics