ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ปัจจัยและแนวทางแก้ปัญหาต่อการออกกลางคันของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3

Show simple item record

dc.contributor.author นุชสุดา, ละมัยกุล
dc.date.accessioned 2017-10-18T04:41:58Z
dc.date.available 2017-10-18T04:41:58Z
dc.date.issued 2016
dc.identifier.citation บทความฉบับเต็ม ภาคโปสเตอร์ การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2554 en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/3087
dc.description การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูเกี่ยวกับปัจจัยที่ มีผลต่อการออกกลางคันของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา บุรีรัมย์เขต 3 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการออก กลางคันของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์เขต 3 จำแนกตามประเภทของโรงเรียน และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาการออกกลางคันของนักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนต้นของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์เขต 3 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาเดิม และโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 2,302 คน จำแนกเป็น ผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 101 คน และครูจำนวน 2,201 คน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้บริหาร จำนวน 80 คนและครู 327 คนโดยการกำหนดขนาดตัวอย่าง ตามตารางของ เครซีและมอร์แกน (Krejcie & Morgan) สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบสอบถาม มีค่าอำนาจจำแนก (Discrimination) 2.26-6.84 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบสมมติฐานใช้ t-test (Independent Sample) โดยกำหนดค่าสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการออกกลางคันของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และรายด้าน คือ ด้านสภาพครอบครัวนักเรียน ด้านตัวนักเรียน ด้านสภาพชุมชน และด้านสภาพโรงเรียน อยู่ในระดับมากเช่นกัน 2. เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูเกี่ยวกับ ปัจจัยที่มีผลต่อการออกกลางคัน ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำแนกตามประเภทของโรงเรียน โดยภาพรวมพบว่า ผู้บริหารสถานศึกษา และครูโรงเรียนมัธยมศึกษาเดิมและโรงเรียนขยายโอกาสมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการออกกลางคันของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน 3. ผลการศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาการออกกลางคันของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นพบว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพชุมชนคือให้มีการจัดหาอาชีพและแนะแนวให้ผู้ปกครองทำเป็นหลักแหล่ง ให้สถานศึกษา ร่วมมือกับชุมชนจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือนักเรียนที่ขาดแคลน ให้มีการจัดหารายได้ให้กับเด็กนักเรียนระหว่างปิดภาค เรียน ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง กับสภาพโรงเรียน คือ จัดการเรียนการสอนเสริมนักเรียนที่เรียนเก่งและซ่อมเสริมนักเรียนที่ เรียนช้า ให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมกิจกรรมจะได้มีความรักความห่วงใยโรงเรียน จัดการเรียนการสอนเพื่อ ฝึกอาชีพให้กับนักเรียน ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพครอบครัว คือ ควรร่วมมือกับสถานศึกษาเพื่อติดตามการเรียนของ ลูก เป็นผู้สนับสนุนให้ลูกได้เรียนตามความสามารถ เป็นที่ปรึกษาที่ดีให้กับลูก แนะนำให้ประพฤติแต่ในสิ่งที่ดี ควรใช้ เวลาให้อยู่กับลูกมากที่สุด ผู้ปกครองควรมีการวางแผนด้านการศึกษาให้กับลูก ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพตัวนักเรียนคือ ให้มีบริการจัดสรรเงินกู้-ยืม เพื่อการศึกษา โดยให้นักเรียนเข้าถึงได้ง่ายมีความสะดวก และรวดเร็ว ให้มี การ เสริมสร้างคุณลักษณะของนักเรียน ให้มีทักษะ ให้มีสมรรถนะสามารถประกอบอาชีพได้หลากหลาย รวมถึงการประกอบ อาชีพอิสระได้มากขึ้น มีการจัดระบบความช่วยเหลือ สนับสนุนการเรียนการสอนซ่อมเสริม ให้มีระบบที่ช่วยให้นักเรียน สามารถทำการศึกษาเพิ่มเติมด้วยตนเองได้สะดวก en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject The Dropout of student en_US
dc.subject การออกกลางคันของนักเรียน นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาบุรีรัมย์เขต 3 en_US
dc.title ปัจจัยและแนวทางแก้ปัญหาต่อการออกกลางคันของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 en_US
dc.title.alternative Factors and Problem Solving Guidelines towards the Dropout of Lower Secondary Students in Schools under Buriram Educational Service Area Office 3 en_US
dc.type Proceedings en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics