ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ช่องไพรเมตและการสบฟันของชุดฟันน้ำนม

Show simple item record

dc.contributor.author ศิริโฉม, ริยะสาร
dc.date.accessioned 2017-10-18T04:04:25Z
dc.date.available 2017-10-18T04:04:25Z
dc.date.issued 2016
dc.identifier.citation การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 17 และการสัมมนาวิชาการเพื่อเผยแพร่งานวิจัยสู่ชุมชน ครั้งที่ 5 en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/3058
dc.description บทนำ ช่องไพรเมต (Primate space หรือ Anthropoid space หรือ Ape space) คือ ช่องระหว่าง ฟันที่พบในการสบฟันอุดมคติ และการสบฟันปกติในระยะชุดฟันน้ำนม (Burdi & Moyers, 1988; Foster & Hamilton, 1969) มีตำแหน่งอยู่ระหว่างฟันตัดซี่ข้างกับฟันเขี้ยวน้ำนมในขากรรไกรบน และอยู่ระหว่างฟันเขี้ยวน้ำนมกับฟันกรามน้ำนมซี่ที่หนึ่งในขากรรไกรล่าง จากการทบทวน วรรณกรรมของ Baume เขาเชื่อว่าช่องไพร-เมตอาจจะเป็นลักษณะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม (Baume, 1950, 1959) ซึ่งแนวคิดนี้ก็ตรงกับผลการศึกษาของ Hughes และคณะ ที่พบว่าช่องไพร เมตมีความความสัมพันธ์กับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมในฝาแฝดในประเทศออสเตรเลีย (Hughes, Thomas, Richards, & Townsend, 2001) ช่องไพรเมตเป็นช่องที่มีขนาดใหญ่กว่าและพบได้บ่อยกว่าช่องบริเวณอื่นในขากรรไกร (Baume, 1950; Boyko, 1968; Clinch, 1951; Lewis & Lehman, 1929) อัตราความชุกในการพบมี ความแตกต่างกันในกลุ่มประชากร (El-Nofely, Sadek, & Soliman, 1989; Foster & Hamilton, 1969; Kaufman & Koyoumdjisky, 1967; สุปราณี สุนทรโลหะนะกูลและคณะ, 2536) มักพบได้ ในทั้งสองข้างของขากรรไกร และมักพบร่วมกับการมีช่องระหว่างฟันซี่อื่น ๆ(Joshi & Makhija, 1984) นอกจากนี้ความชุกในขากรรไกรบนยังมีค่ามากกว่าในขากรรไกรล่าง (Banker, Berlocher, & Mueller, 1984; Boyko, 1968; El-Nofely et al., 1989; Foster & Hamilton, 1969; Kaufman & Koyoumdjisky, 1967) ช่องไพรเมตมีความสำคัญกับพัฒนาการของการสบฟันจากระยะชุดฟันน้ำนมไปเป็น ระยะชุดฟันแท้ โดย Baume ได้อธิบายเอาไว้ว่าในขากรรไกรล่างที่มีช่องระหว่างฟันและช่องไพร เมตนั้นขณะที่ฟันกรามแท้ซี่ที่หนึ่งกำลังขึ้นจะเกิดแรงดันผลักให้ฟันกรามน้ำนมเคลื่อนไปทางด้าน หน้าเข้าไปยังตำแหน่งของช่องไพร-เมตและเกิดการปิดลงของช่องไพรเมต เรียกเหตุการณ์นี้ว่าเออลี มีเซียลชิฟท์ (early mesial shift) ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะเอื้อให้เกิดการสบฟันแบบปกติของ Angle (Angle’s class I) ในชุดฟันแท้ได้ (Baume, 1959) นอกจากการใช้ช่องว่างไพรเมตเพื่อการเรียงตัวของฟันกรามยังมีรายงานการศึกษาที่พบว่าช่องไพรเมตจะถูกใช้ไปในการเรียงตัวของฟันตัดแท้ที่มี ขนาดใหญ่กว่าฟันน้ำนมอีกด้วย (Moorrees & Chadha, 1965) จากการใช้ช่องไพรเมตเพื่อการเรียงตัวของฟันในชุดฟันแท้ และจากการที่ Ash และ Nelson ได้อธิบายไว้ในหนังสือของเขาว่าการมีช่องระหว่างฟันน้ำนมมากกว่า 6 มิลลิเมตรจะทำให้ ความน่าจะเป็นในการเกิดฟันซ้อนในชุดฟันแท้เท่ากับศูนย์ (Ash & Nelson, 2003) ดังนั้นการไม่มี ช่องไพรเมตซึ่งเป็นช่องว่างที่มีขนาดใหญ่ทีสุดในขากรรไกรจึงอาจมีความสัมพันธ์กับการเกิดการ สบฟันผิดปกติในระยะชุดฟันแท้ (Moorrees & Chadha, 1965) มีความเป็นไปได้ว่าช่องไพรเมตอาจจะมีผลต่อตำแหน่งของฟันในขากรรไกร และอาจ ส่งผลต่อความสัมพันธ์ของฟันในขากรรไกรบนและล่างซึ่งก็คือลักษณะการสบฟัน (occlusion) ใน ชุดฟันน้ำนม แต่อย่างไรก็ดีการศึกษาเกี่ยวกับช่องไพรเมตยังมีค่อนข้างน้อย en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title ช่องไพรเมตและการสบฟันของชุดฟันน้ำนม en_US
dc.title.alternative PRIMATE SPACE AND OCCLUSION OF PRIMARY DENTITION en_US
dc.type Proceedings en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics