ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การทำหน้าที่แทนของหัวหน้าหอผู้ป่วย ตามการรับรู้ของหัวหน้าหอผู้ป่วยและ พยาบาลวิชาชีพของโรงพยาบาล ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

Show simple item record

dc.contributor.author ทวีพร, เพ็งมาก
dc.date.accessioned 2017-10-18T02:41:07Z
dc.date.available 2017-10-18T02:41:07Z
dc.date.issued 2016
dc.identifier.citation การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 17 และการสัมมนาวิชาการเพื่อเผยแพร่งานวิจัยสู่ชุมชน ครั้งที่ 5 en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/3013
dc.description บทคัดย่อ การวิจัยเชิงบรรยายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการทำหน้าที่แทนของ หัวหน้าหอผู้ป่วย ตามการรับรู้ของหัวหน้าหอผู้ป่วยและพยาบาลวิชาชีพของโรงพยาบาล ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 5 โรงพยาบาล กลุ่มตัวอย่างเป็นหัวหน้าหอผู้ป่วยและพยาบาล วิชาชีพ กลุ่มละ 83 คนรวม 166 คน สุ่มตัวอย่างหัวหน้าหอผู้ป่วยแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่ กำหนด กลุ่มตัวอย่างพยาบาลวิชาชีพใช้วิธีสุ่มอย่างง่ายในหอผู้ป่วยเดียวกับหัวหน้าหอผู้ป่วยที่เป็น กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามการทำ หน้าที่แทนของหัวหน้าหอผู้ป่วย ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากกรอบแนวคิดการทำหน้าที่แทนผู้ป่วยของ พยาบาลที่พรหมเทพ (Promtape, 2004) สังเคราะห์จากการทบทวนวรรณกรรมร่วมกับการทบทวน วรรณกรรมเกี่ยวกับการทำหน้าที่แทน (Jenny, 1979; Leddy & Pepper, 1998) และบทบาทหน้าที่ ของหัวหน้าหอผู้ป่วยสำนักการพยาบาล (2549) เครื่องมือผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา (Content Validity Index: CVI) ของ แบบสอบถามส่วนที่ 2 เท่ากับ 0.88 และตรวจสอบความเที่ยง (Reliability) โดยใช้สัมประสิทธิ์ แอลฟ่าของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงของแบบสอบ ถามส่วนที่ 2 ตามการรับรู้ของหัวหน้าหอ ผู้ป่วยเท่ากับ 0.97 และตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ เท่ากับ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจก แจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีอิสระ (Independent t-test) ผลการศึกษา พบว่า คะแนนเฉลี่ยการทำหน้าที่แทนผู้ป่วยของหัวหน้าหอผู้ป่วยตามการ รับรู้ของหัวหน้าหอผู้ป่วย ( x =4.20, S.D.=0.50) และตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ ( x =3.96, S.D.=0.62) อยู่ในระดับมาก การทำหน้าที่แทนผู้ใต้บังคับบัญชาตามการรับรู้ของหัวหน้าหอผู้ป่วย ( x =3.96, S.D.=0.83) และตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ ( x =3.70, S.D.=0.72) อยู่ในระดับมาก เช่นกัน นอกจากนี้ยังพบว่าคะแนนเฉลี่ยการทำหน้าที่แทนผู้ป่วย และแทนผู้ใต้บังคับบัญชา ตามการรับรู้ของหัวหน้าหอผู้ป่วยสูงกว่าตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพทั้งโดยรวมและรายด้านอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลที่สำคัญสำหรับผู้บริหารทางการพยาบาล ในการกำหนดแนวทางส่งเสริมบทบาทหน้าที่ของหัวหน้าหอผู้ป่วยในการทำหน้าที่แทนผู้ป่วยและ ผู้ใต้ บังคับบัญชา en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การทำหน้าที่แทนของหัวหน้าหอผู้ป่วย en_US
dc.subject 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ en_US
dc.title การทำหน้าที่แทนของหัวหน้าหอผู้ป่วย ตามการรับรู้ของหัวหน้าหอผู้ป่วยและ พยาบาลวิชาชีพของโรงพยาบาล ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ en_US
dc.title.alternative HEAD NURSES’ ADVOCACY PERCEIVED BY HEAD NURSES AND REGISTERED NURSES IN HOSPITALS OF THREE SOUTHERNMOST PROVINCES en_US
dc.type Proceedings en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics