ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

สภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2

Show simple item record

dc.contributor.author สุธรรม, เลิศนพคุณวงศ์
dc.date.accessioned 2017-10-09T07:58:02Z
dc.date.available 2017-10-09T07:58:02Z
dc.date.issued 2016
dc.identifier.citation การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ "ราชภัฏวิจัยครั้งที่ 4" en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2912
dc.description การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้วิชา ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับปัญหาการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย จำแนก ตามประเภทของโรงเรียน 3) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับปัญหาการ จัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย จำแนกตามประเภทของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอนวิชาภาษาไทยและนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา และโรงเรียนในสังกัดกรมสามัญศึกษาเดิม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 โดยมีจำนวนครูผู้สอน 95 คน และนักเรียน จำนวน 677 คน การเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .995 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t – test แบบ Independent) ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ใน โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 เป็นดังนี้ 1.1 สภาพการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย พบว่าครูผู้สอนวิชาภาษาไทยและ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาและในโรงเรียนสังกัดกรม สามัญศึกษาเดิม มีความคิดเห็นต่อสภาพการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยในภาพรวม พบว่ามี การดำเนินการ อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนผลการวิเคราะห์เป็นรายด้าน พบว่าทุกด้านมีการ ดำเนินการอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นเดียวกัน ยกเว้นด้านการสอนซ่อมเสริม นักเรียนมีความ คิดเห็นว่ามีการดำเนินการอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าร้อยละมากที่สุดคือ ด้านบรรยากาศ ในชั้นเรียน รองลงมาคือด้านกิจกรรมเสริมหลักสูตร1.2 ปัญหาการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย พบว่าครูผู้สอนวิชาภาษาไทย และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาและกรมสามัญศึกษา เดิม มีความคิดเห็นต่อปัญหาในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนผลการวิเคราะห์เป็นราย ด้าน พบว่า ทุกด้านมีความคิดเห็นต่อปัญหาอยู่ในระดับปานกลางเช่นเดียวกัน ยกเว้นด้านการ เตรียมการสอนที่ครูมีความคิดเห็นต่อปัญหาอยู่ในระดับมากและมีค่าร้อยละมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรและด้านบรรยากาศในชั้นเรียน 2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูในสังกัดกรมสามัญศึกษาเดิมและ โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาเกี่ยวกับปัญหาการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย พบว่า โดยรวมมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันและเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ามีความคิดเห็นไม่ แตกต่างกันเช่นกัน 3. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักเรียนในสังกัดกรมสามัญศึกษาเดิมและ โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาเกี่ยวกับปัญหาการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย พบว่า โดยรวมมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันและเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ามีความคิดเห็น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สองด้าน ได้แก่ ด้านการจัดกิจกรรมการ เรียนการสอนและด้านการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร โดยนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาสทาง การศึกษามีความคิดเห็นต่อปัญหามากกว่านักเรียนในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษาเดิม 4. ข้อเสนอแนะ ผู้บริหารโรงเรียนควรให้ความสำคัญในการแก้ปัญหาการเรียนรู้ วิชาภาษาไทยของโรงเรียน โดยเฉพาะการจัดครูให้ทำการสอนตรงวิชาเอกและลดภาระการ ทำงานอื่น ที่นอกเหนือการสอน เพื่อให้ครูได้สอนภาษาไทยอย่างเต็มเวลาและเต็มหลักสูตร en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject สภาพและปัญหา การจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย en_US
dc.title สภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 en_US
dc.type Proceedings en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics