ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2

Show simple item record

dc.contributor.author ธนกฤต, เสนามาตย์
dc.date.accessioned 2017-10-09T07:11:34Z
dc.date.available 2017-10-09T07:11:34Z
dc.date.issued 2016
dc.identifier.citation การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ "ราชภัฏวิจัยครั้งที่ 4" en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2869
dc.description การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครู ต่อสภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 จำนวน 5 ด้าน คือ ด้านการวางแผนงานวิชาการ ด้านการจัดการเรียน การสอนในสถานศึกษา ด้านการวัดผล ประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน ด้าน การพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ และด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา โดยจำแนกตามสถานภาพและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 130 คน ซึ่ง ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 26 คน และครู จำนวน 104 คน โดยใช้ประชากรเป็นกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มี 3 ลักษณะ คือ แบบตรวจสอบ รายการ (Check List) แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) และแบบปลายเปิด (Open- ended Form) ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 1.809 ถึง 6.246 และค่าความเชื่อมั่นทั้ง ฉบับเท่ากับ .9546 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานใช้ค่าคะแนนที (Independent Samples t – test ) และค่าเอฟ ( F - test ) ผลการวิจัย พบว่า 1. ผู้บริหารมีความคิดเห็นต่อสภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงาน วิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 โดยรวมและรายด้านมี สภาพ การปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก 2. ครูมีความคิดเห็นต่อสภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการ ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 โดยรวมมีสภาพการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ามีสภาพการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการวางแผนงานวิชาการ ด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาและด้านการ วัดผล ประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน ส่วนด้านการพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ และด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษามีสภาพการปฏิบัติงานอยู่ใน ระดับปานกลาง 3. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูต่อสภาพการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา บุรีรัมย์ เขต 2 โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาเป็นราย ด้าน พบว่า ด้านการวัดผล ประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน มีความคิดเห็น แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนด้านอื่น ๆ มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 4. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูที่มีประสบการณ์ ในการปฏิบัติงานต่างกันต่อสภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการของ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 โดยรวมมีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการวางแผนงานวิชาการ มี ความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่น ๆ มีความคิดเห็น แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 5. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการ ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 ของผู้บริหารและครู ได้แก่ ควรใช้ เทคโนโลยีในการวางแผนงานวิชาการให้ครบทุกงานและมีระบบ ควรจัดหาอุปกรณ์ ด้าน คอมพิวเตอร์ให้เพียงพอ ควรจัดหาโปรแกรมสำเร็จรูปเกี่ยวกับระบบการบริหารงานวิชาการ เพื่อ ลดภาระงานของครู ควรนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนและพัฒนา ศักยภาพผู้เรียนให้ทั่วถึงและอย่างจริงจัง ควรมี การส่งเสริมให้ครูนำเทคโนโลยีสารสนเทศในการ วัดผล ประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียนให้มากขึ้น ควรพัฒนาระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ให้นักเรียนสามารถสืบค้นข้อมูลได้สะดวกและรวดเร็วและควรจัดหาสื่อมัลติมีเดียเพื่อให้นักเรียน ได้ศึกษาและพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพ en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การบริหารงานวิชาการ en_US
dc.title สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 en_US
dc.type Proceedings en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics