ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การศึกษาปัญหาการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.advisor ประสิทธิ์ สุวรรณรักษ์ en_US
dc.contributor.advisor วิศิษฐ์ นาจำปา en_US
dc.contributor.advisor นิวัฒน์ กัลยพฤกษ์ en_US
dc.contributor.author แสงจันทร์, อุไรมาลย์
dc.date.accessioned 2017-10-02T05:54:19Z
dc.date.available 2017-10-02T05:54:19Z
dc.date.issued 2544
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2840
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ ศึกษาปัญหาการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาของผู้บริหารโรงเรียน และเพื่อเปรียบเทียบปัญหาการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาของผู้บริหารโรงเรียน จำแนกตามการปฏิบัติงานในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน และมีประสบการณ์ในการบริหารงานต่างกัน ในกรอบความคิด 6 ด้าน คือ ด้านบุคลากร ด้านการจัดสภาพแวดล้อม ด้านการจัดประสบการณ์ ด้านการส่งเสริมสุขภาพอนามัย ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง และด้านพัฒนาการเด็ก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนที่เปิดสอบระดับก่อนประถมศึกษา ในสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์จำนวน 474 คน ได้มาจากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของ Taro Yamane แล้วทำการสุ่มกลุ่มย่อย (Stratified Random Sampling) ตามขนาดของโรงเรียน โดยให้กระจายตามสัดส่วน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ลักษณะ คือ แบบเลือกตอบ (Check List) แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ และแบบปลายเปิด (Open Form) แบบสอบถามมีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 2.017 –6.148 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.9812 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมุติฐานใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis Of Variance) และเปรียบเทียบรายคู่โดยใช้วิธีของ เชฟเฟ่ (Scheffes Method) กำหนดค่าสถิติที่มีระดับนัยสำคัญที่ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัญหาการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาสังกัด สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ โดยภาพรวมทุกด้านมีปัญหาอยู่ในระดับน้อยเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการจัดประสบการณ์มีปัญหาอยู่ในระดับปานกลางนอกนั้นมี ปัญหาอยู่ในระดับน้อย คือ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง ด้านบุคลากร ด้านการส่งเสริมสุขภาพอนามัย ด้านพัฒนาการเด็ก และด้านการจัดสภาพแวดล้อม ตามลำดับ 2. เปรียบเทียบปัญหาการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา ของผู้บริหารโรงเรียนประถม ศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ ที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนมีขนาดแตกต่างกัน โดยภาพรวมมีปัญหาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านบุคลากรและด้านพัฒนาการเด็ก มีปัญหาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่นๆ มีปัญหาแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อทดสอบเป็นรายคู่ พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนขนาดเล็กกับขนาดใหญ่มีปัญหาด้านพัฒนาการเด็ก แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนผู้บริหารโรงเรียนที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนขนาดเล็กกับขนาดกลาง และโรงเรียนขนาดกลางกับขนาดใหญ่ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. เปรียบเทียบปัญหาการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา ของผู้บริหารโรงเรียนประถม ศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ ที่มีประสบการณ์การบริหารงานแตกต่างกัน โดยภาพรวม มีปัญหาแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการจัดประสบการณ์ มีปัญหาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และด้านส่งเสริมสุขภาพอนามัย มีปัญหาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่น ๆ มีปัญหาแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อทดสอบเป็นรายคู่พบว่าผู้บริหารโรงเรียนที่มีประสบการณ์การบริหารงาน 5 – 10 ปี กับ 10 ปี ขึ้นไป มีปัญหาด้านการจัดประสบการณ์มีปัญหาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนผู้บริหารโรงเรียนที่มีประสบการณ์การบริหารงานต่ำกว่า 5 ปี กับ 5 – 10 ปี และผู้บริหารโรงเรียนที่มีประสบการณ์การบริหารงาน ต่ำกว่า 5 ปี กับ 10 ปีขึ้นไป มีปัญหาแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 4. ปัญหาและข้อเสนอแนะได้แก่ บุคลากรไม่เพียงพอ ครูผู้สอนไม่จบการศึกษาปฐมวัยอาคาร เรียนไม่เป็นเอกเทศ สนามเด็กเล่นไม่เพียงพอ ห้องน้ำห้องส้วมไม่เป็นสัดส่วน ผู้ปกครองไม่มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา งบประมาณสนับสนุนไม่เพียงพอ หลักสูตรคู่มือครู สื่อและวัสดุอุปกรณ์ไม่เพียงพอ ขาดการนิเทศติดตามผลอย่างต่อเนื่อง รัฐควรสนับสนุนงบประมาณทั้งด้านบุคลากรและอาคารสถานที่ให้เพียงพอ บรรจุครูที่จบการศึกษาปฐมวัยให้ครบทุกห้องเรียน ครูผู้สอนมีบุคลิกภาพดี เป็นสตรี ใจดี รักเด็ก ขยัน อดทน ทำงานด้วยใจรัก เต็มใจ และเสียสละ ผู้บริหารควรศึกษาหลักสูตรให้เข้าใจและนำไปใช้อย่างถูกหลักการ ควรจัดอบรมสัมมนาและศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนประสบการณ์อย่างน้อยปีละครั้ง และควรมีการนิเทศติดตามผลงานอย่างต่อเนื่อง en_US
dc.description.abstract The purpose of this study were two folds: 1). to study six areas of pre-primary school management problems regarding staff, environment management, management experience provision, health promotion, school and parent relationships, and child development as perceived by pre-primary school administrators. and 2). to compare the problems of those who worked in schools of different sizes and of those who had different working experiences. The Taro Yamane cross-tabulation was employed to define the sizes, and the stratified random sampling and simple random sampling techniques were applied to define the numbers and the members of the sample group of 474 pre-primary school administrators working under the jurisdiction of the Education Department, Buriram Province. The instrument was a three-part questionnaire which comprised a check list, a rating scale and an open form. The discrimination of the questionnaire was 2.017 – 6.148; its reliability was 0.9812. Analyzing statistics used were frequencies, percentage, mean and standard deviation. One-way analysis of variance was used to test the hypotheses. The comparisons were made through Scheffe’s method. The significant difference was at .05. The findings were as follows; 1) As a whole, the pre-primary school administrators encountered small sizes of problems. However, when areas were considered, it was found that medium sized of problems occurred in management experience provision, and small sized occurred in school-parent relationships, staff, health promotion, child development. And environment management. 2) When school sizes were considered, there was a significant difference in the sizes of problems at .05 as a whole. Moreover, when areas were brought under consideration, the significant difference of .05 was found in the problems regarding staff and child development. There was no significant differences in other areas.. The study through Scheffe’s method revealed a significant different of .05 in the problems of the administrators in large and small schools under the area of child development. Nevertheless, there was no significant difference in the problems between the administrators of medium and large schools. 3) When then administrators’ experiences were considered, there was no significant difference as a whole. However, there was a significant difference in experience provision at .01 and at .05 in health promotion. There was no significant difference in the other areas. The comparison through Scheffe’s method showed that the problems of the administrators with 5 – 10 years experience and of those with more than 10 years experience had a significant difference at .05. There was no significant difference between the problems of the administrators of 5 years experience and the problems of those with neither 5 – 10 years experience nor more than 10 years experience. 4) Suggestions. The main problems found were the insufficiency of teachers and teachers with in early childhood education degrees, inappropriate buildings and classrooms, toilets, and playgrounds, and The needs for more budgets, the curriculum, teachers’ handbooks, materials, and consistent supervision. The government should do more of all these. It is also recommended that teachers in pre-primary schools be females with kind heart, good personality, patience and devotion to their jobs. The administrators should study the curriculum more carefully and apply it properly. Seminars should be held at least once a year. Systematic supervision is also needed. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การศึกษาปัญหาการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title การศึกษาปัญหาการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative A study of problems in pre-school administration as perceived by primary school administrators under the Office of Buriram Provincial Primary Education en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics