ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

คามคิดเห็นของครูต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อการออกกลางคันของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1

Show simple item record

dc.contributor.advisor สมเกียรติ ศรีปัดถา en_US
dc.contributor.advisor โสวัฒน์ โสภาพล en_US
dc.contributor.advisor จำเริญ อุ่นแก้ว en_US
dc.contributor.advisor สุเทียบ ละอองทอง en_US
dc.contributor.advisor สมมาตร์ ผลเกิด en_US
dc.contributor.author สุรศักดิ์, คติพงศ์ธาดา
dc.date.accessioned 2017-10-02T05:30:50Z
dc.date.available 2017-10-02T05:30:50Z
dc.date.issued 2548
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2830
dc.description.abstract งานวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา ความคิดเห็นของครูต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อการออกกลางคันของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูฝ่ายปกครอง ครูแนะแนว ครูประจำชั้น และครูที่ปรึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 ที่มีนักเรียนออกกลางคัน จำนวน 35 โรงเรียน ได้กลุ่มประชากรทั้งหมด จำนวน 140 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมี 3 ตอน โดยตอนที่ 1 เป็นแบบตรวจสอบรายการเกี่ยวกับสถานสถานะภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามสภาพปัจจัยที่ส่งผลต่อการออกกำลังกลางคันของนักเรียน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านสภาพชุมชน สภาพโรงเรียน สภาพครอบครัวนักเรียน และด้านตัวนักเรียน เป็นแบบเลือกตอบเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย จำนวน 48 ข้อ และตอนที่ 3 เป็นแบบสอบถามสภาพการออกกลางคันของนักเรียน ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการออกกลางคันของนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ปัจจัยด้านสภาพครอบครัวของนักเรียนส่งผลต่อการออกกลางคันอยู่ระในระดับมาก ปัจจัยด้านสภาพชุมชนอยู่ระดับปานกลาง ส่วนปัจจัยด้านสภาพโรงเรียนและด้านตัวนักเรียนอยู่ในระดับน้อย 2. ความสัมพันธ์ระหว่างการออกกลางคันกับที่ตั้งของโรงเรียนมีความสัมพันธ์กันทางบวก โดยมีความสัมพันธ์ในระดับค่อนข้างต่ำ ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างการออกกลางคันกับขนาดของโรงเรียน มีความสัมพันธ์กันทางลบ โดยมีความสัมพันธ์ในระดับต่ำ 3. การออกกลางคัน กับปัจจัยที่ส่งผลต่อการออกกลางคันของนักเรียน ในภาพรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวก โดยมีความสัมพันธ์ระดับต่ำ 4. ความสัมพันธ์ภายในของปัจจัยที่ส่งผลต่อการออกกลางคันทั้ง 4 ด้าน โดยปัจจัยด้านสภาพชุมชนกับสภาพครอบครัว และปัจจัยด้านสภาพครอบครัวกับด้านตัวนักเรียนมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพชุมชนกับตัวนักเรียน และสภาพโรงเรียนกับตัวนักเรียนมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์ในระดับค่อนข้างต่ำ ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างสภาพครอบครัวนักเรียนกับสภาพโรงเรียน มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. นักเรียนที่ออกกลางคันส่วนใหญ่เป็นเพศชาย เรียนอยู่ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 มากที่สุด และออกกลางคันระหว่างปีการศึกษามากที่สุด en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject คามคิดเห็นของครูต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อการออกกลางคันของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 en_US
dc.title คามคิดเห็นของครูต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อการออกกลางคันของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 en_US
dc.title.alternative Opinions of the teachers conerning factors affecting students dropping-out of in lower secondary school under the office buriram educational service area 1 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics