ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

กระบวนการนิเทศภายในเพื่อส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู กรณีศึกษา โรงเรียนบ้านหนองครก อำเภอสตึก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุนันทา วีรกุลเทวัญ en_US
dc.contributor.advisor ประเสริฐ ภู่เงิน en_US
dc.contributor.advisor ศิริลักษณ์ ด้วงบุตรศรี en_US
dc.contributor.author สุบรรณ์, จำปาศรี
dc.date.accessioned 2017-10-02T05:20:52Z
dc.date.available 2017-10-02T05:20:52Z
dc.date.issued 2553
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2823
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู และศึกษาผลการนำกระบวนการนิเทศภายใน 5 ขั้นตอน ซึ่งได้แก่ (1) การศีกษาสภาพปัญหาและความต้องการ (2) การวางแผนและกำหนดทางเลือก (3) การสร้าง สื่อและเครื่องมือ (4) การปฎิบัติการนิเทศ และ (5) การประเมินและรายงานผล มาใช้เพื่อการสนับสนุน ส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนในโรงเรียนบ้านหนองครก อำเภอสตึก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูผู้สอนในโรงเรียนบ้านหนองครกภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 7 คน โดยใช้เทคนิคการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (Particpatory Action Research : PAR) ข้อมูลที่ผู้วิจัยนำมาวิเคราะห์ได้มาจาก แบบสำรวจสภาพปัญหาและความต้องการของครูผู้สอนในการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียน การสัมภาษณ์เชิงลึกกับครู การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช่สิถิติได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพลว่า 1. สภาพปัญหาในการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนในโรงเรียนบ้านหนองครก อำเภอสตึก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 โดยรวมอยุ่ในระดับปานกลาง ( X = 3.39 ) โดยเรียงลำดับจากข้อที่มีปัญหามากที่สุด 5 อันดับแรก คือ (1) การสร้างเครื่องมือเพื่อการวิจัยในชั้นเรียน (2) การวิเคราะห์ข้อมูล (3) การสนันสนุนการทำวิจัยในชั้นเรียนจากเพื่อนร่วมงานและผู้บริหารโรงเรียน (4) การวางแผนดำเนินการวิจัยในชั้นเรียนและ (5) การอภิปลายผลการวิจัย 2. ครูผู้สอนในโรงเรียนบ้านหนองครก อำเภอสตึก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 มีความต้องการในการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( X = 4.30) โดยเรียงลำดับจากข้อที่มีความต้องการสูงสุด 5 อันดับแรก คือ (1) ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียน (2) การสร้างเครื่องมือสำหรับการวิจัยในชั้นเรียน (3) การได้รับคำปรึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้บริหารโรงเรียน (4) การส่งเสริมให้ครูเข้าร่วมการประชุม อบรมสัมมนา (5) การเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียน 3. ผลการวิเคราะห์การนำรูปแบบกระบวนการนิเทศภายใน 5 ขั้นตอน ปรากฎผลดังนี้ 3.1 การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการ พบว่า ครูขาดความรู้ในการสร้างเครื่องมือเพื่อการวิจัยในชั้นเรียน การววิเคราะห์ข้อมูล การได้รับการสนับสนุน ส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนจากเพื่อนร่วมงานและผู้บริหารโรงเรียน การวางแผนดำเนินการวิจัยในชั้นเรียน และการอภิปรายผลการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียน และความต้องการในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอน คือ ครูผู้สอนมีความต้องการสูงสุด คือ ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน รองลงมา คือ การสร้างเครื่องมือสำหรับการทำวิจัยในชั้นเรียน การได้รับคำปรึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้บริหารโรงเรียนการส่งเสริมให้ครูได้เข้าร่วมการประชุม อบรมสัมมนา และการเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียน 3.2 การวางแผนและกำหนดทางเลือก พบว่า การที่ให้ครูได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นได้เสนอสิ่งที่ต้องการทำให้บรรยากาศการทำงานดีขึ้น ทุกคนมความเป็นเจ้าของงาน มีความรับผิดชอบต่องานเพิ่มขึ้น ทุกคนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกันและกัน 3.3 การสร้างสื่อและเครื่องมือ พบว่า เอกสารชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง เรื่องการทำวิจัยในชั้นเรียน จำนวน 4 หน่วย ที่ให้ครูศึกษาด้วนตนเองนั้น ครูมีความพอใจ แต่ยังมีบ้างส่วนของเอกสารที่ยังไม่ชัดเจน ผู้วิจัยได้จัดหาเอกสารดพิ่มเติมให้ แบบประเมินผลการทำวิจัยในชั้นเรียน เป็นแบบสอบถามที่ยังเปิดกว้างมากเกินไป สื่อที่ครูต้องการ ได้แก่ คู่มือในการวิจัย บทความทางวิชาการความรู้เกี่ยวกับการวิจัย คู่มือครูผู้สอนกลุ่มสาระต่างๆ ส่วนเครื่องมือนิเทศ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต และบันทึกรายละเอียดในการดำเนินการนิเทศ โดยพิจารณาให้เหมาะสมกับวิธีในการดำเนินการนิเทศ 3.4 การปฏิบัตินิเทศภายในโรงเรียน จากการที่ได้กำหนดกิจกรรมเพื่อการนิเทศภายใน ซึ่งได้แก่ กิจกรรมการประชุม กิจกรรมการไปทัศนศึกษาดูงาน กิจกรรมให้คำปรึกษา การสังเกตการสอนในชั้นเรียน แบบมีส่วนร่วม และไม่มีส่วนร่วม และบริการเอกสารวิชาการวิจัย พบว่า ครูมีความสนใจและเข้าใจ ยอมรับในวิธีการทำวิจัยในชั้นเรียนมากขึ้น ครูมีความกระตือรือร้น ในเรื่องการทำวิจัยในชั้นเรียน ครูส่วนมากสนใจเอกสารประกอบการฝึกอบรมและนำไปศึกษาต่อที่บ้าน 3.5 การประเมินและรายงานผล พบว่า ก่อนการดำเนินการ ครูมีความสนใจการทำวิจัยในชั้นเรียนน้อย มีทัศนคติต่อการทำวิจัยในชั้นเรียนว่าเป็นปัญหาและยากเกินกว่าจะทำได้ระหว่างดำเนินการพบว่าครูมีความสนใจและกระตือรือร้นที่จะทำวิจัยมากขึ้น การเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ มาให้คำปรึกษาทำให้ครูมีความมั่นใจ และมีแนวทางการทำวิจัยในชั้นเรียนที่ชัดเจน หลังดำเนินการส่งเสริม พบว่า ครูสามารถนำผลการทำวิจัยในชั้นเรียนไปใช้ในการแก้ปัญหาในชั้นเรียนได้ และสามารถพัฒนาต่อโดยนำไปใช้ในการดำเนินการปัญหาอื่น ๆ ได้และครูยังมีความพึงพอใจ ในกระบวนการนิเทศภายใน ที่ส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียน 4. ครูผู้สอนแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวสภาพปัญหาในการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 5 ลำดับแรก ได้แก่ ครูยังขาดความรู้ความเข้าใจในแนวทางการทำวิจัยในชั้นเรียนและคิดว่าเป็นเรื่องยากจึงไม่อยากทำวิจัยในชั้นเรียน ( ร้อยละ 28.58 ) ครูไม่มีเวลาเพียงพอที่จะทำวิจัยในชั้นเรียน เนื่องจากมีงานที่รับผิดชอบมากทั้งงานสอนและงานพิเศษอื่น ๆ (ร้อยละ 14.28 ) ขาดที่ปรึกษาหรือผู้ชำนาญด้านการวิจัยในชั้นเรียน (ร้อยละ 14.28 ) ขาดการสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงานและผู้บริหารโรงเรียนในการทำวิจัยในชั้นเรียน(ร้อยละ 14.28 ) และขาดการให้ขวัญและกำลังใจในการทำวิจัยในชั้นเรียนจากผู้บังคับบัญชาและหน่วยการที่เกี่ยวข้อง 5. ครูผู้สอนแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับความต้องการในการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ควรจัดประชุมอบรม สัมมนาด้านการทำวิจัยในชั้นเรียนให้ครู ได้มีความรู้ความเข้าใจโดยให้ครูได้ฝึกปฏิบัติจริง (ร้อยละ 28.58) ควรจัดให้มีที่ปรึกษาหรือเชิญผู้ที่มีความรู้และทักษะในการทำวิจัยในชั้นเรียนมาให้คำแนะนำเมื่อเกิดปัญหา(ร้อยละ 25.58) โรงเรียนควรจัดหาเอกสารความรู้และตัวอย่างงานวิจัยในชั้นเรียนมาให้ครู ได้นำไปศึกษาสำหรับการทำวิจัยในชั้นเรียน (ร้อยละ 14.28 ) ผู้บริหารควรนำผลการวิจัยไปประชาสัมพันธ์ให้คณะครูและหน่วยงานอื่น ๆ ทราบและให้การสนับสนุน ส่งเสริมอย่างจริงจัง (ร้อยละ 14.28)และผู้บริหารโรงเรียนควรประชุมชี้แจงให้เพื่อนร่วมงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือในการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียน en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject กระบวนการนิเทศภายในเพื่อส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู กรณีศึกษา โรงเรียนบ้านหนองครก อำเภอสตึก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 en_US
dc.title กระบวนการนิเทศภายในเพื่อส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู กรณีศึกษา โรงเรียนบ้านหนองครก อำเภอสตึก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 en_US
dc.title.alternative The Internal Supervision System to Promote Teachers a Case Study : Schools, Satuk District Under the OfficeBuriram Educational Service Area Office 4 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics