ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การศึกษาแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาหมู่บ้านโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน : กรณีศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.advisor ประสิทธิ์ สุวรรณรักษ์ en_US
dc.contributor.advisor เที่ยง ด้วงบุตรศรี en_US
dc.contributor.advisor ประกิจ จันตะเคียน en_US
dc.contributor.author สุรพันธ์, สุริยพันตรี
dc.date.accessioned 2017-10-02T05:19:34Z
dc.date.available 2017-10-02T05:19:34Z
dc.date.issued 2546
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2821
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษาและเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาหมู่บ้านโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน ในด้านการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการกองทุนโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน ด้านการมีส่วนร่วมของหัวหน้าครัวเรือนยากจน ที่ได้รับเงินยืม ด้านการบริหารจัดการกองทุนโครงการแก้ปัญหาความยากจนของคณะกรรมกองทุน ด้านบทบาทของคณะทำงานสนับสนุนการปฏิบัติการพัฒนาชนบทระดับตำบล จำแนกตามสถานภาพของกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งประกอบด้วย คณะกรรมการกองทุนโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนประจำหมู่บ้าน คณะทำงานสนับสนุนการปฏิบัติการพัฒนาชนบทระดับตำบล และหัวหน้าครัวเรือนยากจนที่ได้รับเงินยืม และระดับการศึกษาของกลุ่มหัวหน้าครัวเรือนยากจนที่ได้รับเงินยืม ประชากร ได้แก่ คณะกรรมการกองทุนโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนประจำหมู่บ้านและคณะทำงานสนับสนุนการปฏิบัติการพัฒนาชนบทระดับตำบล และหัวหน้าครัวเรือนยากจนที่ได้รับเงินยืมในจังหวัดบุรีรัมย์ 23 แห่ง จำนวน 121,527 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 398 คน ได้มาจากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของทาโรยามาเน่ (Taro Yamane) โดยทำการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi – Stage Sampling) สุ่มอำเภอ/กิ่งอำเภอ จำนวน 23 แห่ง ในจังหวัดบุรีรัมย์ โดยสุ่มมา 1 ใน 3 แล้วทำการสุ่มกลุ่มย่อย (Stratified Random Sampling) คือ คณะกรรมการกองทุนโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนประจำหมู่บ้านคณะทำงานสนับสนุนการปฏิบัติการพัฒนาชนบทระดับตำบล และหัวหน้าครัวเรือนยากจนที่ได้รับเงินยืมให้กระจายไปตาม อำเภอ/กิ่งอำเภอต่าง ๆ ตามสัดส่วนด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ประเภท คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์โดยแบบสอบถาม มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 1.465 ถึง 5.557 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.9516 ส่วนแบบสัมภาษณ์เป็นแบบกึ่งมีโครงสร้าง ซึ่งการใช้วิเคราะห์โดยวิธีอุปมาน ส่วนข้อมูลจากการตอบแบบสอบถามใช้การวิเคราะห์ด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – way Analysis of Variance) และเปรียบเทียบรายคู่ใช้วิธี ของเชฟเฟ่ (Scheffe’ s Method) กำหนดค่าสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. แนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาหมู่บ้านโครงการแก้ปัญหาความยากจนตามความเห็นของคณะกรรมการกองทุนโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนประจำหมู่บ้าน คณะทำงานสนับสนุนการปฏิบัติการพัฒนาชนบทระดับตำบล และหัวหน้าครัวเรือนยากจนที่ได้รับเงินยืมโดยภาพรวม พบว่า มีแนวทางในการพัฒนาหมู่บ้านโครงการแก้ปัญหาความยากจน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน 2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของคณะกรรมการกองทุนโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนประจำหมู่บ้าน คณะทำงานสนับสนุนการปฏิบัติการพัฒนาชนบทระดับตำบล และหัวหน้าครัวเรือนยากจนที่ได้รับเงินยืมจำแนกตามสถานภาพตำแหน่ง เกี่ยวกับแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาหมู่บ้านโครงการแก้ปัญหาความยากจน โดยภาพรวมพบว่า มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านบทบาทของคณะทำงานสนับสนุนการปฏิบัติการพัฒนาชนบทระดับตำบลมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 ส่วนด้านอื่น ๆ มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน 3. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของกลุ่มครัวเรือนยากจนที่ได้รับเงินยืม จำแนกตามระดับการศึกษา เกี่ยวกับแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาหมู่บ้านโครงการแก้ปัญหาความยาก โดยภาพรวมพบว่า มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันเช่นเดียวกัน 4. ข้อเสนอแนะและความคิดเห็นจากการสัมภาษณ์ ได้แก่ เงินทุนในการประกอบอาชีพไม่เพียงพอกับความต้องการของหัวหน้าครัวเรือนยากจน คณะกรรมการกองทุนไม่มีค่าตอบแทนในการดำเนินงาน สำหรับปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาหมู่บ้านโครงการแก้ปัญหาความยากพบว่า ผู้ให้สัมภาษณ์ตอว่ามีปัญหาอุปสรรคในเรื่องของงบประมาณที่จัดสรรให้ไม่เพียงพอกับความต้องการ รองลงมาคือ ควรมีการทบทวนขั้นตอนการดำเนินงานเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปรับปรุงระเบียบหรือวธีปฏิบัติ เช่น การรวมกองทุนหมู่บ้านทุกกองทุนเข้าด้วยกัน และควรจัดทำบัญชีโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน en_US
dc.description.abstract The research was aimed to study and to compare the opinions towards the directions of developing the villages through the poverty – alleviation project of the 3 groups of people concerned: the committee of the village’s poverty – alleviation fund, the committee of Tambon’s (sub-district’s) rural development support and the heads of the loan-granted households. The study investigated 4 areas: the participation of the committee of the village’s poverty – alleviation fund, the heads of the heads of the loan-granted households, the project management and the roles of the committee of Tambon’s rural development support. The comparison was based on the status of the people concerned and the level of education of the heads of the loan – granted households. The sample of 398 people was selected out of the population of 121,527 through Taro Yamane Table, Multi – Stage Sampling and Stratified Random Sampling respectively. The research instruments were a questionnaire and a semi-structure interview form. The questionnaire’s power of discrimination was at 1.765-5.557, and its reliability was at 0.9516. The data analysis was made through frequency, percentage, mean and standard deviance. The pair comparison was made through Scheffe’s Method. The significance was set at the level of .05. The findings were as the followings: 1. All the 3 groups of the people concerned: the committee of the village’s poverty - alleviation fund, the committee of Tambol’s rural development support and the heads of the loan – granted households, considered that the directions of villages development through the poverty – alleviation project were at the high level as a while and on each area. 2. There was no significant difference among the opinions of the 3 groups of the people with different status towards the directions as a whole. When the areas were considered, there was no significant either, except on the roles of the committee of Tambol’s rural development support on which the significant difference at the level of .01 was found. 3. There was no significant difference among the opinions of the heads of the loan – granted households with different level of education, neither towards the directions as a whole nor on each area. 4. The suggestions and opinions given through the interview were the fund for investing did mot meet the families’ need, and that the committee of the fund was not paid for doing their jobs. For the obstacles, they found the insufficiency of the fund was the main one; therefore, they recommended the steps of management be revised to bring about the improvement of the regulations, for example, putting all the villages’ funds together and updating the account of the village’s poverty – alleviation fund. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การศึกษาแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาหมู่บ้านโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน : กรณีศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title การศึกษาแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาหมู่บ้านโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน : กรณีศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative A Study of the appropriate directions of village development through the poverty - alleviation project : A case study of Buriram Province en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics