ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

รูปแแบการป้องกันและดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน: กรณีศึกษา ชุมชนหนองบัวเหนือ อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปิยาภรณ์ ศิริภานุมาศ en_US
dc.contributor.advisor อนันต์ ลิขิตประเสริฐ en_US
dc.contributor.advisor สมบัติ ประจญศานต์ en_US
dc.contributor.author สุนทรี, เชยชุ่ม
dc.date.accessioned 2017-10-02T04:54:27Z
dc.date.available 2017-10-02T04:54:27Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2806
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) มีความุม่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์ปัญหา ภูมิปัญญาไทยในการป้องกัน และดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวานของชุมชนรวมทั้งปัญหาในอดีตและปัจจุบัน 2) ศึกษากระบวนการการขับเคลื่อนแผนงาน และวิธีการของชุมชนและหน่วยงานในการป้องกันและดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวาน 3) ศึกษารูปแบบที่เหมาะสมในการป้องกันและดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยการส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยใช้ชุมชนหนองบัวเหนือ อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นพ้นที่การวิจัยและมีทีมวิจัยชาวบ้านจำนวน 25 คน ร่วมดำเนินการตามกระบวนการวิจัย ประกอบด้วย 1) การค้นหาและกำหนดโจทย์ 2) พัฒนาโครงการ 3) สร้างทีมศักยภาพทีม 4)การศึกษาข้อมูลบริบทของชุมชน 5) วิเคราะห์ปัญหาและศักยภาพของชุมชน 6) วางแผน 7) ปฏิบัติการ 8) สรุปบทเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เจาะลึก การสนทนากลุ่ม และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ร่วมกับการรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณทั้งผลการคัดกรองผู้ป่วยโรคเบาหวาน และผมการเปรียบเทียบพฤติกรรมในการป้องกันและดูแลสุขภาพก่อนและหลังการใช้รูปแบบการพัฒนาใช้ Paired t-test 1. ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมในการป้องกันและดูแลสุขภาพก่นและหลังการใช้รูปแบบการพัฒนาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. สถานการณ์เจ็บป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวาน ทำให้การดำเนินชีวิตเปลี่ยนไป เช่น การับประทานอาหารจำพวกแป้งและไขมัน และขาดการออกกำลังกาย มีผลทำให้เกิดโรคอ้วน ซึ่งเป็นปัจจัยการเกิดโรคเบาหวาน นอกจากนี้ชาวบ้านไม่ได้นำภูมิปัญญาเดิมที่มีอยู่ในอดีตมาใช้ในการฟื้นฟู ในการป้องกันและดูแลสุขภาพในกลุ่มเรื่องเสี่ยง ผู้ดูและผู้ป่วยโรคเบาหวานจนกระทั่งทีมวิจัยได้เข้าไปศึกษารูปแบบการ ป้องกันและดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชาวบ้านจึงเริ่มสนใจการดูแลสุขภาพ โดยการฟื้นฟูภูมิปัญญาไทยเรื่องอาหารพื้นบ้านในการป้องกันและดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวาน 3. ชุมชนและหน่วยงานขาดการมีส่วนร่วมในการวางแผน ร่วมคิด ร่วมติดตาม และประเมินผลร่วมกัน และการทำงาน ของโรงพยาบาลสตึก เทศบาลสตึก ยังขาดการประสานงานทำงานแยกส่วนกันกัน ซ้ำซ้อน ทำให้กลุ่มเป้าหมายเจ็บซ้ำซ้อนและสิ้นเปลืองงบประมาณ 4. รูปแบบที่เหมาะสมในการป้องกันและดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวานนั้น การป้องกันและการดูแลสุขภาพควรทำร่วมกัน เพราะคนในชุมชนจะเกิดการเรียนรู้เกิดพลัง และรู้จักลุกขึ้นมาป้องกันและดูแลสุขภาพโรคเบาหวานด้วยกัน ซึ่งรูปแบบประกอบด้วย การสร้างความตระหนักร่วมการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน และติดตามเยี่ยมบ้านและให้คำปรึกษา 4.1 สร้างความตระหนักร่วมในการป้องกันและแก้ไข และทำให้ชุมชนเกิดการเรียนรู้ และเกิดพลังโดยการอาศัยการอบรมให้ความรู้ประกอบสื่อจากหน่วยงานของรัฐ การสร้างตัวแบบมาเล่าประสบการณ์ของการเป็นโรคเบาหวานแก่กลุ่มเสี่ยง และผู้ดูแล และนำประเด็นปัญหาสุขภาพสู่เวทีสาธารณะของชุมชน 4.2 การตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน โดยการเจาะเลือด วัดความดันโลหิต วัดรอบเอว ชั่งน้ำหนัก สำหรับกลุ่มเสี่ยง 4.3 การติดตามเยี่ยมบ้านและให้คำปรึกษานั้น เจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลสตึกและเทศบาลสตึก ร่วมกับ อสม. ออกไปติดตามโดยการตรวจวัดความดันโลหิต วัดรอบเอว ชั่งน้ำหนัก ให้คำปรึกษาด้านสภาพการกินอยู่ในโภชนาการ ความเครียด การใช้ยา และการออกกำลังกาย ทั้งนี้อาศัยกลไกขับเคลื่อนภายในชุมชน คือ อสม. ทำงานประสานกับเจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐจากกระบวนการวิจัยมีส่วนร่วมช่วยสร้างทีมวิจัยให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาศักยภาพทีม เรียนรู้กระบวนวิจัยสู่กระบวนการแก้ไขปัญหาของชุมชน โดยอาศัยทรัพยากรหรือทันเดิมของชุมชนเป็นหลัก en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject รูปแแบการป้องกันและดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน: กรณีศึกษา ชุมชนหนองบัวเหนือ อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title รูปแแบการป้องกันและดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน: กรณีศึกษา ชุมชนหนองบัวเหนือ อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative METHOD OF PREVENTING AND HEALTH CARE OF PATIENTS WHO HAVEDIABETES BY THE PARTICIPATION OF COMMUNITY: A CASE STUDY OF NONGBUANUA COMMUNITY, SATUK DISTRICT, BURIRAM PROVINCE en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics