ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ปัญหาการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาในโรงเรียนพร้อมใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2

Show simple item record

dc.contributor.advisor จำเริญ อุ่นแก้ว en_US
dc.contributor.advisor ปิยาภรณ์ ศิริภานุมาศ en_US
dc.contributor.advisor สาธิต ผลเจริญ en_US
dc.contributor.advisor สุรชัย ปิยานุกูล en_US
dc.contributor.author สุภิญญา, ถาพรผาด
dc.date.accessioned 2017-10-02T04:42:43Z
dc.date.available 2017-10-02T04:42:43Z
dc.date.issued 2554
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2798
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาในโรงเรียนพร้อมใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน และ 2) เปรียบเทียบปัญหาการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาในโรงเรียนพร้อมใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 ตามตัวแปรสถานภาพและประเภทของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในโรงเรียนพร้อมใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 จำนวน 240 คน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 30 คน ครูผู้สอน จำนวน 210 คน โดยทำการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (Independent Sample t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance) เมื่อพบความแตกต่างทำการทดสอบเป็นรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’ Method) โดยกำหนดค่าระดับนัยสำคัญที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาปัญหาการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาในโรงเรียนพร้อมใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 พบว่าผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน มีความเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีปัญหาระดับปานกลางเช่นกัน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ การประเมินผล และสรุปผล การเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา และการดำเนินการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ตามลำดับ 2. ผลการเปรียบเทียบปัญหาการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา จำแนกตามสถานภาพและประเภทของโรงเรียน พบว่า 2.1 ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ไม่แตกต่างกันทุกด้านเช่นกัน 2.2 ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา เมื่อจำแนกตามประเภทของโรงเรียน โดยภาพรวมทุกด้าน มีปัญหาไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่ 3 การประเมินผล และสรุปผล มีความเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่นๆ มีความเห็นไม่แตกต่างกัน 3. ปัญหาและข้อเสนอแนะ สถานศึกษาควรให้บุคลากร ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และชุมชน มีส่วนร่วมในกระบวนการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาอย่างแท้จริง ควรจัดอบรมเชิงปฏิบัติการในการให้ความรู้ ความเข้าใจ ศึกษาดูงาน ทั้งในเรื่องการจักทำหลักสูตรสถานศึกษา การวางแผน การประมวลคุณภาพการศึกษา การจัดการเรียนรู้ การวัดประเมินผล และการนิเทศกำกับ ติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject ปัญหาการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาในโรงเรียนพร้อมใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 en_US
dc.title ปัญหาการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาในโรงเรียนพร้อมใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 en_US
dc.title.alternative The Problems of School Curriculum Management in the Ready for Practice Schools of B.E. 2551 Basic Core Curriculum Under Buriram Educational Service Area Office 2 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics