ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การใช้คอมพิวเตอร์ในการบริหารของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4

Show simple item record

dc.contributor.author สุริยา, สร้อยแสง
dc.date.accessioned 2017-10-02T04:33:55Z
dc.date.available 2017-10-02T04:33:55Z
dc.date.issued 2553
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2793
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบสภาพและปัญหาการใช้คอมพิวเตอร์ในการบริหารของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์เขต 4 จำแนกตามสภาพและขนาดโรงเรียนใน 4 งาน คือ การบริหารวิชาการ การบริหารงบประมาณ การบริหารงานบุคคลและการบริหารทั่วไป กลุ่มตัวอย่างคือผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 199 คน และครู จำนวน 199 คน โดยใช้วิธีการเลือกสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมี 3 ลักษณะคือ แบบสำรวจ (Check List) แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) และคำถามปลายเปิด (Open-ended form) แบบสอบถามสภาพการใช้คอมพิวเตอร์ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 1.792-6.439 และมีความเชื่อมั่น 0.9770 แบบสอบถามปัญหาการใช้คอมพิวเตอร์ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 2.168-7.878 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.9836 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมุติฐานโดยใช้ t-test (Independent Samples) และการ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว F-test ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการใช้คอมพิวเตอร์ในการบริหารของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 โดยรวมและแต่ละละงานอยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ การบริหารทั่วไป รองลงมา คือ การบริหารงบประมาณ การบริหารงานบุคคลและการบริหารวิชาการ 2. ปัญหาการใช้คอมพิวเตอร์ในการบริหารของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับค่าเฉลี่ยมาจากมากไปน้อย คือ การบริหารงานวิชาการ รองลงคือ การบริหารงบประมาณ การบริหารทั่วไป และการบริหารงานบุคคล 3. เปรียบเทียบและปัญหาการใช้คอมพิวเตอร์ในการบริหารของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 จำแนกตามสถานภาพคือผู้บริหารสถานศึกษาและครู โดยรวมและแต่ละงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยครูมีสภาพใช้คอมพิวเตอร์มากกว่าผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษาปัญหาการใช้คอมพิวเตอร์มากกว่าครู 4. เปรียบเทียบสภาพการใช้คอมพิวเตอร์ในการบริหารของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 จำแนกตามขนาดของโรงเรียน คือ โรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกัน 5. เปรียบเทียบปัญหาการใช้คอมพิวเตอร์ในการบริหารของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 จำแนกตามขนาดของโรงเรียน คือ โรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลางและขนาดใหญ่ พบว่า โดยรวมและแต่ละงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยโรงเรียนขนาดเล็กมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าโรงเรียนขนาดใหญ่และขนาดกลาง 6. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ในการบริหารของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 คือจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใหม่ ทันสมัยให้เพียงพอกับความต้องการ ส่งเสริมให้มีการนำระบบคอมพิวเตอร์ มาใช้ในการบริหารงานจัดอบรมใช้คอมพิวเตอร์ให้กับบุคคลที่ปฏิบัติงานทั่วไป ให้เกิดความรู้ ความชำนาญ ด้านคอมพิวเตอร์ให้ตรงตามสายงาน ปรับปรุงเกี่ยวกับกับระบบอินเทอร์เน็ต และผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้นำในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการบริหารงาน อย่างรูปธรรม ส่งเสริมให้มีการใช้สื่อเทคโนโลยีช่วยสอนทุกรายวิชาในแต่ละช่วงชั้น และมีการจัดหาโปรแกรมที่ใช้ในการวัดผลประเมินผล บันทึกข้อมูลพร้อมทั้งระบบการจัดพิมพ์ ที่มีความถูกต้อง และสะดวกรวดเร็วในการปฏิบัติงานวัดผลประเมินผล en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การใช้คอมพิวเตอร์ในการบริหารของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 en_US
dc.title การใช้คอมพิวเตอร์ในการบริหารของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 en_US
dc.title.alternative Computer Application for the Administration of Basic Education Schools Buriram Educational Service Area Office 4 en_US
dc.type Thesis en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics