ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

สภาพการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์เขต 1

Show simple item record

dc.contributor.advisor โกวิท เชื่อมกลาง en_US
dc.contributor.advisor นิวัฒน์ กัลยพฤกษ์ en_US
dc.contributor.advisor รื่นรมย์ วัชรินทรางกูร en_US
dc.contributor.advisor โสวัฒน์ โสภาพล en_US
dc.contributor.author สุริยันต์, คะเณวัน
dc.date.accessioned 2017-10-02T04:25:01Z
dc.date.available 2017-10-02T04:25:01Z
dc.date.issued 2551
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2787
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ ศึกษาสภาพการบริหาร งานวิชาการในโรงเรียนตามกรอบการบริหารงานวิชาการ 6 ด้าน คือ ด้านหลีกสูตรและการนำไปใช้ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านการวุดผลและการเปรียบเทียบโอนผลการเรียน ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ด้านการนิเทศภายใน และด้านการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและครูวิชาการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 จำนวน 546 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้จากการสุ่มจากประชากรโดยวิธีการสุ่มตามระดับชั้น อย่างมีสัดส่วน (Proportional Stratified Random Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 320 คน จำแนกเป็น ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 165 คน และครูวิชาการ จำนวน 155 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) สอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมติฐาน ด้วยการทดสอบค่าที (Independent Sample t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยในแต่ละด้าน จะเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ ตามวิธีการของเชพเฟ่ (Scheffe’ s Method) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้บริหารมีความคิดเห็นต่อสภาพการบริหารงานวิชาการ อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีสภาพการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดยมีสภาพการบริหาร ในแต่ละด้านเรียงจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา (X = 4.12) ด้านการวัดผลประเมินผลและการเทียบโอนผลการเรียน (X = 4.10) ด้านการนิเทศภายใน (X = 4.01) ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ (X = 3.99) ด้านหลักสูตรและการนไปใช้ (X = 3.84) ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา (X = 3.72) ตามลำดับ 2. ครูวิชาการมีความคิดเห็นต่อสภาพการบริหารงานวิชาการ อยู่ในระดับมาก โดยมีสภาพการบริหารงานในแต่ละด้านทั้ง 6 ด้าน พบว่า ทุกด้านมีสภาพการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดยมีสภาพการบริหารงานในแต่ละด้านเรียงจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการวัดผลประเมินผลและการเทียบโอนผลการเรียน (X = 4.03) ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา (X = 4.00) ด้านการนิเทศภายใน (X = 3.91) ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ (X = 3.90) ด้านหลักสูตรและการนำไปใช้ (X = 3.81) ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา (X = 3.74) ตามลำดับ 3. ผู้บริหารและครูวิชาการมีความคิดเห็นต่อสภาพการบริหารงานวิชาการ ทั้งโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 4. ผู้บริหารและครูวิชาการ ที่อยู่ในโรงเรียนขนาดกลาง กับโรงเรียนขนาดใหญ่ มีความคิดเห็น ต่อสภาพการบริหารงานวิชาการ โดยรวมแตกต่างกัน ส่วนผู้บริหารและครูวิชาการที่อยู่ในโรงเรียนขนาดอื่น ๆ มีความคิดเห็นต่อสภาพการบริหารงานวิชาการ โดยรวมไม่แตกต่างกัน 5. เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผู้บริหารและครูวิชาการที่อยู่ในโรงเรียนขนาดต่างกันมีความคิดเห็นต่อสภาพการดำเนินงานแตกต่างกันเพียง 2 ด้าน คือ ด้านการวัดผลประเมินผลและ ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน ส่วนด้านอื่น ไ ผู้บริหารและครูวิชาการที่อยู่ในโรงเรียนขนาดต่างกันมีความคิดเห็นต่อสภาพการดำเนินงานไม่แตกต่างกัน 6. การวิจัยครั้งนี้ พบว่า มีปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสภาพการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา ตามลำดับความถี่สูงสุด 2 ด้านดังนี้ 6.1 ด้านพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ปัญหา คือ ครูสอนไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสอน ควรจัดอบรมสัมมนาเทคนิคการสอน โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 6.2 ด้านการนิเทศภายใน ปัญหาคือ ครูผู้สอนมีการผลิตสื่อการสอนน้อยและไม่ใช้สื่อประกอบการจัดการเรียนการสอน ควรมีจัดหาหรือผลิตสื่อการสอนมากขึ้นและมีการนิเทศการใช้สื่อการสอนอย่างต่อเนื่อง en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject สภาพการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์เขต 1 en_US
dc.title สภาพการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์เขต 1 en_US
dc.title.alternative Conditions of Academic Administration in the Basic Schools Under Buriram Educational Service Area Office 1 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics