ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ปัญหาการดำเนินงานในระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3

Show simple item record

dc.contributor.advisor สงวน ทรงวิวัฒน์ en_US
dc.contributor.advisor มาลิณี จุโฑปะมา en_US
dc.contributor.advisor สมศักดิ์ เทศสวัสดิ์วงศ์ en_US
dc.contributor.author สุรินทร์, โพธิ์เหมือน
dc.date.accessioned 2017-10-02T04:21:04Z
dc.date.available 2017-10-02T04:21:04Z
dc.date.issued 2553
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2784
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัญหาการดำเนินงานในระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 และเพื่อเปรียบเทียบปัญหาการดำเนินงานในระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูแนะแนว จำแนกตามสถานภาพ ระดับช่วงชั้น และขนาดของโรงเรียนกลุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มจากประชากร โดยการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามสักส่วนของ เครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 294 คน โดยแยกเป็นผู้บริหารสถานการศึกษา จำนวน 147 คน และครูแนะแนว จำนวน 147 คน รวมกลุ่มตัวอย่าง 294 คน แล้วสุ่มกลุ่มย่อยทั้งผู้บริหารสถานการศึกษาและครูแนะแนวแบ่งตามระดับช่วงชั้นและตามขนาดโรงเรียนต่าง ๆ โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบทดสอบมี 3 ลักษณะ คือ แบบตรวจสอบรายการ แบบมาตราส่วนประมาณค่า และแบบสอบถามมี 3 ลักษณะ คือ แบบตรวจสอบรายการ แบบมาตราส่วนประมาณค่า และแบบสอบถามปลายเปิด ค่าอำนาจจำแนกของแบบสอบถามมีค่า ( t ) อยู่ระหว่าง 2.83 ถึง 3.50 และค่าความเชื่อมั่น0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่ารอยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน ทดสอบสมมมติฐานโดยใช่ค่าคะแนนที่เป็นอิสระต่อกัน (Independent samples t-test) และการวิเคราะหืความแปรปรวนทางเดียว (One-way Analysis of Variance) กำหนดค่าความมีวินัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัญหาการดำเนินงานในระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานการศึกษาและครูแนะแนว โดยภาพรวมมีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยสูง 3 อันดับแรก คือ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา และด้านการส่งเริมนักเรียน 2. ผลการเปรียบเทียบปัญหาการดำเนินงานในระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานการศึกษาและครูแนะแนว จำแนกตามสภาพตำแหน่ง โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าทุกด้านไม่แตกต่างกัน 3. ผลการเปรียบเทียบปัญหาการดำเนินงานในระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานการศึกษาและครูแนะแนว จำแนกตามระดับชั้นโรงเรียน โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านไม่แตกต่างกัน 4. ผลการเปรียบเทียบปัญหาการดำเนินงานในระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานการศึกษาและครูแนะแนว ที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนที่มีขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ และขนาดใหญ่พิเศษ โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านไม่แตกต่างกัน 5. ความคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัญหาการดำเริรงานในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานการศึกษาและครูแนะแนว โดยภาพรวม ดังนี้ ลำดับที่มีความถี่สูงสุด คือ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล รองลงมา คือ ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา ด้านการส่งเสริมนักเรียนเป็นรายบุคคล รองลงมาคือ ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา ด้านการส่งเสริมนักเรียนด้านการคัดกรองนักเรียน และด้านการส่งต่อ en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject ปัญหาการดำเนินงานในระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 en_US
dc.title ปัญหาการดำเนินงานในระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 en_US
dc.title.alternative Problems on the Operations of Student Assistance Systems in Schools Under Buriram Educational Service Area Office 3 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics