ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุนทร โครตบรรเทา en_US
dc.contributor.advisor ปรานีพัน จารุวัฒนพันธ์ en_US
dc.contributor.author สมยศ, ศุภเลิศ
dc.date.accessioned 2017-10-01T06:20:19Z
dc.date.available 2017-10-01T06:20:19Z
dc.date.issued 2556
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2755
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษาวิธีการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีษะเกษ เขต 3 ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร 5 แบบ แบบร่วมมือ แบบยอมตาม แบบเอกชนะ แบบหลีกเลี่ยง และแบบจำแนกตาม และแบบประนีประนอม เพื่อเปรียบเทียบการบริหารความขัดแย้งตามความคิดเห็นของผู้บริหารทั้ง 5 แบบ จำแนกตาม เพศ อายุ และประสบการณ์ กลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน และการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง มีค่าความเชื่อมั่น 0.81 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมุติฐานด้วยการทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และวิธีของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3เลือกวิธีการบริหารความขัดแย้งแบบนร่วมมือมากที่สุด รองลงมา คือ แบบยอมตามแบบประนีประนอม และแบบหลีกเลี่ยง ตามลำดับ ส่วนการบริหารความขัดแย้ง แบบเอาชนะมีผู้เลือกน้อยที่สุด .2. ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ที่มีเพศต่างกันมีการบริหารความขัดแย้งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ.05 3. ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ที่มีอายุต่างกัน มีการบริหารความขัดแย้งไม่แตกต่างกัน 4. . ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3ที่มีประสบการณ์ต่างกัน มีการบริหารความขัดแย้งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 โดยผู้บริหารที่มีประสบการณ์ต่ำกว่า 5 ปี มีการบริหารความขัดแย้งแบบหลีกเลี่ยง มากกว่าผู้บริหารที่มีประสบการณ์การบริหาร 10 ปีขึ้นไป และผู้บริหารที่มีประสบการณ์การบริหาร 5 -10 ปี มีการบริหารความขัดแย้งแบบหลีกเลี่ยง มากกว่าผู้บริหารที่มีประสบการณ์การบริหาร 10 ปีขึ้น ไป 5.ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 มีปัญหาการบริหารความขัดแย้งแบบยอมตาม แบบเอาชนะ แบบหลีกเลี่ยง และแบบประนีประนอมคือ ไม่มีแนวคิดใหม่ๆ และไม่เกิดผลทางสร้างสรรค์ เกิดความหวาดกลัวและเฉื่อยชา ความขัดแย้งไม่ไดรับการแก้ไขทำให้สถานการณ์ในการทำงานแย่ลงไม่มีแนวความคิดใหม่ๆและไม่เกิดผลในทางสร้างสรรค์ ตามลำดับ ส่วนการแก้ปัญหานั้นผู้บริหารสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 เสนอแนะวิธีการแก้ปัญหาการบริหารความขัดแย้งแบบยอมตาม แบบเอาชนะ แบบหลีกเลี่ยง และแบบประนีประนอมคือ ไม่ควรเอาความขัดแย้งมาพูดเพราะจะทำลายความสัมพันธ์มากว่าจะได้รับความสัมพันธ์ ควรมีความยินยอมตกลงที่จะร่วมมือแก้ไขปัญหาโดยการนั่งคุยกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและวิธีการส่งเสริมให้อีกฝ่ายได้รับความพึงพอใจ ควรใช้วิธีการแก้ปัญหา แบบมีส่วนร่วมเพื่อจะได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ควรมีเทคนิคการเจรจาต่อรอง มีไหวพริบในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ตามลำดับ en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 en_US
dc.title การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 en_US
dc.title.alternative CONFLICT MANAGEMENT OF THE ADMINISTRATORS IN SCHOOL UNDER THE OFFICE OF SISAKET PRIMARY EDUCATION SERVICE AREA 3 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics