ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ปัญหาการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3

Show simple item record

dc.contributor.advisor สงวน ทรงวิวัฒน์ en_US
dc.contributor.advisor นิวัฒน์ กัลยพฤกษ์ en_US
dc.contributor.advisor สมศักดิ์ เทศสวัสดิ์วงศ์ en_US
dc.contributor.author สุจิกา, เทพสถิตย์
dc.date.accessioned 2017-10-01T05:45:01Z
dc.date.available 2017-10-01T05:45:01Z
dc.date.issued 2553
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2742
dc.description.abstract บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการดำเนินงานในชั้นเรียน ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 ประชากรที่ศึกษา คือ ครูผู้สอนจำนวน 3,291 คน กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มจากประชากร โดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 345 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นอย่างมีสัดส่วน และดำเนินการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมี 3 ลักษณะ คือ แบบสำรวจรายการ แบบมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 40 ข้อ และแบบปลายเปิด มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .9634 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถติตที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว เมื่อพบความแตกต่างจึงทำการเปรียบเทียบรายคู่ในแต่ละด้านตามวิธีของเชฟเฟ กำหนดค่าความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. ครูผู้สอนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียนทั้งโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านการดำเนินงาน ด้านบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการวิจัย ด้านแหล่งข้อมูลในการวิจัย และด้านงบประมาณสนับสนุนการวิจัย 2. ครูผู้สอนที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน มีวามคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียนทั้งโดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3. ครูผู้สอนที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียนโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการดำเนินงาน ด้านบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการวิจัย และด้านงบประมาณสนับสนุนการวิจัยไม่แตกต่างกัน ส่วนด้านแหล่งข้อมูลในการวิจัย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อเปรียบเทียบเป็นรายคู่พบว่า ครูผู้สอนที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนขนาดเล็กกับขนาดใหญ่และครูผู้สอนที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนขนาดกลางกับขนาดใหญ่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียน ด้านแหล่งข้อมูลในการวิจัยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนครูผู้สอนที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนขนาดเล็กกับขนาดกลางมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน 4. ครูผู้สอนแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัญหาการดำเนินงานวิจัยในชั้นเรียนที่สำคัญดังนี้ ควรมีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ครูผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียนเพราะปัจจุบันการวิจัยในชั้นเรียนนับว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนและการขอมีวิทยฐานะสูงขึ้น ควรมีการพัฒนาแหล่งความรู้ในการค้นคว้าเพื่อการวิจัยในชั้นเรียนอย่างหลากหลายและเพียงพอ รวมทั้งควรจัดสรรงบประมาณในการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียนอย่างเพียงพอ และผู้บริหารควรชี้นำและกระตุ้นให้ครูผู้สอนเห็นความสำคัญและดำเนินการวิจัยในชั้นเรียนและยกย่องชมเชยให้กำลังใจต่อครูผู้สอนที่ทำวิจัยในชั้นเรียน en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject ปัญหาการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 en_US
dc.title ปัญหาการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 en_US
dc.title.alternative PROBLEMS OF CLASSROM RESEARCH OPERATION OF THE SCHOOL TEACHERS UNDER BURIRAM EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 3 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics