ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการวิจัยในชั้นเรียนของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.advisor ประสิทธิ์ สุวรรณรักษ์ en_US
dc.contributor.advisor ละออง ภู่เงิน en_US
dc.contributor.advisor ประคอง กาญจนการุณ en_US
dc.contributor.author สมพงษ์, เลาลักษณ์จรรยา
dc.date.accessioned 2017-10-01T05:21:15Z
dc.date.available 2017-10-01T05:21:15Z
dc.date.issued 2546
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2735
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการวิจัยในชั้นเรียน โดยศึกษาตัวแปรพยากรณ์ 4 ตัว คือ คุณลักษณะส่วนตัวของครูนักวิจัย สมรรถภาพของครูนักวิจัย บทบาทของผู้บริหารโรงเรียนและปัจจัยพื้นฐานการวิจัยในชั้นเรียน และตัวแปรเกณฑ์ คือ สภาพการวิจัยในชั้นเรียน ประชากร คือ ครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา 68 โรงเรียน สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดบุรีรัมย์ ปีการศึกษา 2545 จำนวน 2,333 คน กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มจากประชากร โดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางสำเร็จรูปของ Taro Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่น 95.5 % และระดับความคลาดเคลื่อน  5 % ได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 345 คน แล้วทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มี 4 ตอน มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 2.03-7.57 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .9841 สถิติที่ใช้ คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายแบบเพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และการคัดเลือกตัวแปรพยากรณ์แบบขั้นบันได ผลการวิจัย พบว่า 1) ครูมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการวิจัยในชั้นเรียนอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละปัจจัยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ คุณลักษณะส่วนตัวของครูนักวิจัย สมรรถภาพของครูนักวิจัยและบทบาทของผู้บริหารโรงเรียน อยู่ในระดับมาก ส่วนปัจจัยพื้นฐานการวิจัยในชั้นเรียนอยู่ในระดับปานกลาง 2) ครูมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการวิจัยในชั้นเรียนอยู่ในระดับปานกลาง 3) คุณลักษณะส่วนตัวของครูนักวิจัย สมรรถภาพของครูนักวิจัย บทบาทของผู้บริหารโรงเรียนและปัจจัยพื้นฐานการวิจัยในชั้นเรียน มีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และปัจจัยแต่ละปัจจัยมีความสัมพันธ์ทางบวกกับสภาพการวิจัยในชั้นเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) ปัจจัยพื้นฐานการวิจัยในชั้นเรียนและคุณลักษณะส่วนตัวของครูนักวิจัยร่วมกันมีความสัมพันธ์ทางบวกกับสภาพการวิจัยในชั้นเรียนอยู่ในระดับปานกลาง (R = 0.539) และสามารถพยากรณ์สภาพการวิจัยในชั้นเรียนได้ร้อยละ 29.10 (R2 = 0.291) หรือมีอิทธิพลต่อสภาพการวิจัยในชั้นเรียนได้ร้อยละ 29.10 5) ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ทำให้การวิจัยในชั้นเรียนของครูประสบความสำเร็จและข้อเสนอแนะอื่นๆ ดังนี้ 5.1 ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ทำให้การวิจัยในชั้นเรียนของครูประสบความสำเร็จ เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 5 ลำดับแรก คือ ครูมีความรู้เกี่ยวกับการวิจัย ผู้บริหารโรงเรียนสนับสนุน มีงบประมาณ ทุนและเงิน ครูมีการศึกษาปัญหาอย่างแท้จริง และครูมีเวลาเพียงพอ 5.2 ข้อเสนอแนะอื่นๆ เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 5 ลำดับแรก คือ ครูควรได้รับความรู้เกี่ยวกับการวิจัยเพิ่มขึ้น ควรลดภาระงานของครู เพื่อให้มีเวลาในการทำวิจัย ผู้บริหารโรงเรียนควรสนับสนุน ผลการวิจัยต้องนำไปแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนการสอน และควรจัดประชุม อบรม สัมมนาเชิงปฏิบัติการ en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการวิจัยในชั้นเรียนของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการวิจัยในชั้นเรียนของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative Factors affecting classroom research of Buriram Secondary School Teachers under the Department of General Education en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics