ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2

Show simple item record

dc.contributor.advisor ประเสริฐ ภู่เงิน en_US
dc.contributor.advisor ศิราณี จุโฑประมา en_US
dc.contributor.advisor พงศ์เพชร สังข์ศักดา en_US
dc.contributor.advisor รัตติกร รัตกูล en_US
dc.contributor.advisor พัชรินทร์ ศิริอำพันธ์กุล en_US
dc.contributor.author สุกรี, ปิ่นอนุกูล
dc.date.accessioned 2017-10-01T05:12:20Z
dc.date.available 2017-10-01T05:12:20Z
dc.date.issued 2554
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2727
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบบทสนทนาของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูและคระกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยจำแนกตามสถนภาพของบุคคล เพศ และวุฒิการศึกษา ตามกรอบเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับบทบาทในการบริหารและจัดการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ มี 10 ข้อ ได้แก่ 1) การเป็นผู้นำทางวิชาการ 2) การบริหารงานแบบมีส่วนรวม 3) การเป็นผู้มีอำนวยความสะดวก 4) การประสานความสัมพันธ์ 5)การส่งเสริมการพัฒนาครูและบุคลากร 6) การสร้างแรงจูงใจ 7) การประเมินผล 8) การส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา 9) การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ 10) การส่งเสริมเทคโนโลยี การกำหนดของกลุ่มตัวอย่างโดยตารางของเครซี่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 364 คน จากการสุ่มตามระดับชั้นอย่างมีสัดส่วน แล้วทำการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามจำนวน 70 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเป็น .9850 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติโดยสถิติทดสอบที (t-Impendent Samplcs tets) และ การทดสอบความแปรปรวนทางเดี่ยว (One-way ANOVA) แตกต่างรายคู่โดยใช้วิธีการของเชฟเฟ่ (Sche’ Method) ผลวิจัยพบว่า 1.บทบาทการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 โดยรวมมีมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การส่งเสริมการพัฒนาครูและการเป็นผู้อำนวยความสะดวก 2. เปรียบเทียบบทบาทการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 จำแนกตามสถานภาพบุคล โดยรวมและรายด้ายทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. เปรียบบทบาทการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานตามความคิดเห็นผู้บริหารสถานศึกษา ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 จำแนกตามเพศ โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 4. เปรียบเทียบบทบาทการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานความคิดเห็นผู้บริหารสถานศึกษา ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 จำแนกตามวุฒิการศึกษา โดยรวมและรายด้ายทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5.ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานตามคิดเห็นผู้บริหารสถานศึกษา ครู และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 ได้แก่ 1) ผู้บริหารสถานศึกษาเข้าถึงชุมชนได้ดีมาก เป็นผู้บริหารที่มีความคิดสร้างสรรค์ และเตรียมรับเหตุการณ์ได้ทุกสถานการณ์ 2) ผู้บริหารสถานศึกษา มีความสามารถในการบริหารจัดการอยู่ในเกณฑ์ใช้ได้ 3) ผู้บริหารสถานศึกษามีความเป็นเองและเป็นแบบอย่าง เป็นคนดี ให้ความร่วมมือกับหมู่บ้านดีมากๆ 4) สถานศึกษายังคงที่ไม่มีการพัฒนาเท่าที่ควรอยากให้มีอะไรใหม่ๆที่สร้างสรรค์ก้าวหน้ามากกว่านี้ 5) ทางโรงเรียนควรมีกิจกรรมร่วมกับชุมชนบ่อยๆ นักเรียนจะได้เรียนรู้วิถีชีวิตต่างๆ en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 en_US
dc.title.alternative The Roles of School Adminstrators in School Based Management Under Buriram Educational Service Area Office 2 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics