ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การพัฒนากระบวนการคิดแบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้ชุดสถานการณ์สร้างความสนใจในศูนย์การเรียนวิทยาศาสตร์เรื่องแรงและการเคลื่อนที่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Show simple item record

dc.contributor.advisor ชาญณรงค์ ศิริอำพันธ์กุล en_US
dc.contributor.advisor พรพิมล พงศ์สุวรรณ en_US
dc.contributor.advisor สมหมาย ปะติตังโข en_US
dc.contributor.author สมสุข, แสงปราบ
dc.date.accessioned 2017-10-01T04:38:13Z
dc.date.available 2017-10-01T04:38:13Z
dc.date.issued 2553
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2702
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้นี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อวัดพฤติกรรมกระบวนการคิดแบบสืบเสาะหาความรู้ของนักเรียนตามขั้นตอน 5 Es (Inquiry Cycle) เรื่องแรงและการเคลื่อนที่ 2) เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิด โดยใช้ชุดสถานการณ์สร้างความสนใจในศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 3)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการสอนกระบวนการคิดแบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้ชุดสถานการณ์สร้างความสนใจในศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/9 โรงเรียนนางรอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์เขต 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 42 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ ชุดสถานการณ์สร้างความสนใจในศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ แผนการจัดการเรียนรู้กระบวนการคิดแบบสืบเสาะหาความรู้ แบบวัดพฤติกรรมกระบวนการคิดแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 Es แบบวัดภาพรวมความสามารถในการคิด แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีความเชื่อมั่นเท่ากับ .8458 8677 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าซี (Z-test) ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1.นักเรียนมีพฤติกรรมกระบวนการคิดแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 Es ในทุกชุดสถานการณ์สร้างความสนใจในศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ได้มากกว่าระดับ 3 ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 88.09 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.นักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิด คิดเป็นร้อยละ 70.30 และนักเรียนมีจำนวน 29 คน จากจำนวน 42 คน ได้คะแนนร้อยละ 70 ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 69.05 ซึ่งจำนวนนักเรียนมีค่าไม่สูงกว่าร้อยละ 70 3.นักเรียนที่ได้รับการสอนกระบวนการคิดแบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้ชุดสถานการณ์สร้างความสนใจในศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 85.40 และจำนวนที่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ถึงมากที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งนี้ คือ ควรมีการจัดระบบเตรียมการจัดชุดสถานการณ์สร้างความสนใจเป็นฐานการทดลองในห้องเรียน หรือสถานที่ที่เหมาะสม มีความสะดวกต่อการปฏิบัติ กระบวนการคิดตามขั้นตอน 5 Es ได้ครบถ้วนในระหว่างการดำเนินการสามารถสังเกตพฤติกรรมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนได้ และควรสอดแทรกการปลูกฝังคุณธรรม ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบในการทำงานร่วมกันเมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการเรียนการสอนนักเรียนควรมีโอกาสได้สอบถาม ปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องให้ถูกต้อง เพื่อทำให้นักเรียนเกิดการพัฒนากระบวนการคิดและความสามารถในการคิดดียิ่งขึ้น en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การพัฒนากระบวนการคิดแบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้ชุดสถานการณ์สร้างความสนใจในศูนย์การเรียนวิทยาศาสตร์เรื่องแรงและการเคลื่อนที่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 en_US
dc.title การพัฒนากระบวนการคิดแบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้ชุดสถานการณ์สร้างความสนใจในศูนย์การเรียนวิทยาศาสตร์เรื่องแรงและการเคลื่อนที่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 en_US
dc.title.alternative The Development of Inquiry Cycle Thinking Process Through Package Engagement in Science Center Areas on Force and Motion Units for Tenth Grade Leve en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline หลักสูตรและการสอน en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics