ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2

Show simple item record

dc.contributor.advisor กระพัน ศรีงาม en_US
dc.contributor.advisor ประชัน คะเนวัน en_US
dc.contributor.author สิริกร, พลายงาม
dc.date.accessioned 2017-10-01T04:38:01Z
dc.date.available 2017-10-01T04:38:01Z
dc.date.issued 2557
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2701
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 ตามความคิดของผู้บริหาร โรงเรียนและครูจำแนกตามสถานภาพตำแหน่งและขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถาม ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียนใช้ประชากร จำนวน 66 คน และครูจำนวน 335 คน ได้จากการสุ่มจากประชากรโดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางสำเร็จรูปของ เครจซี่ และมอร์แกน แล้วทำการสุ่มแบบชั้นภูมิ 2) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสัมภาษณ์ใช้การเลือกแบบเจาะจง โดยกำหนดโควตา คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 คน ครูจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 2 ประเภทคือ แบบสอบถามและการสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง โดยแบบสอบถามมีความเชื่อมั่นเท่ากับ .9733 การวิเคราะห์ข้อมูล จากการใช้แบบสอบถามได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว เมื่อพบความแตกต่างจึงทำการเปรียบเทียบเป็นรายคู่ในแต่ละด้านตามวิธีของเชฟเฟ่ และกำหนดค่าสถิติที่รับนัยสำคัญ .05 ส่วนการใช้เทคนิคสัมภาษณ์ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาโดยวิธีอุปมาน ผลวิจัยพบว่า 1. ผู้บริหารโรงเรียนและครู มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 โดยร่วมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายองค์ประกอบ พบว่า ทุกองค์ประกอบอยู่ในระดับมากเช่นกัน เรียงล่ำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ การกำหนดภารกิจของโรงเรียน การส่งเสริมบรรยากาศทางวิชาการของโรงเรียนและการจัดการด้านการเรียนการสอนตามลำดับ 2. ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 จำแนกตามสถานภาพตำแหน่ง พบว่าโดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 และเมื่อพิจารณารายองค์ประกอบ พบว่า ทุกองค์ประกอบมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 เช่นกัน 3. ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 จำแนกตามขนาดโรงโดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และเมือพิจารณารายองค์ประกอบ พบว่าองค์ประกอบการกำหนดภารกิจกรรมของโรงเรียนแตกต่างกันอย่างมีสำคัญทางสถิติที่ .01 นอกนั้นแตกต่างกันอย่างมีในสำคัญทางสถิติที่ .05 4. ข้อเสนอแนะและความคิดเห็นจากการสัมภาษณ์ ได้แก่ การกำหนดภารกิจของโรงเรียนมีการกำเนินการให้สอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน การจัดการด้านการเรียนการสอนมีการกำหนดภาระงานและนิเทศงานติดตามการกำเนิดงานด้านการส่งเสริมบรรยากาศทางการวิชาการการส่งเสริมบรรยากาศทางวิชาการของโรงเรียนจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอน มีมาตรการลงโทษนักเรียนที่ไม่เข้าร่วมกิจกรรม ปัญหาและอุปสรรคพบว่า ในแต่ละด้านขาดความต่อเนื่องในการกำกับติดตาม ตรวจสอบ และรายงานผลการดำเนินการ ควรกำหนดผู้รับผิดชอบในการกำกับดูแลและการดำเนินกิจกรรมในแต่ละด้านอย่างจริงจัง en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject Data Process Title ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 en_US
dc.title ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 en_US
dc.title.alternative ACADEMIC LEADERSHIP OF SCHOOL ADMINISTRATORS UNDER THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 32 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics