ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง คลื่นกล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคการแข่งขันระหว่างกลุ่มเกม (TGT) กับเทคนิคการแบ่งกลุ่มแบบกลุ่มสัมฤทธิ์ (STAD)

Show simple item record

dc.contributor.advisor สสุนันทา วีรกุลเทวัญ en_US
dc.contributor.advisor ปิยาภรณ์ ศิริภานุมาศ en_US
dc.contributor.author สาคร, นาจำปา
dc.date.accessioned 2017-10-01T04:14:17Z
dc.date.available 2017-10-01T04:14:17Z
dc.date.issued 2556
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2694
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1)พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกม และโดยใช้เทคนิคการแบ่งกลุ่มแบบกลุ่มสัมฤทธิ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง คลื่นกล ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2)หาค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการเเข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกม และโดยใช้เทคนิคการแบ่งกลุ่มแบบกลุ่มสัมฤทธิ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง คลลื่นกล 3)เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง คลื่นกล นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนรู้โดยใช้เทคนิคการแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกม กับที่เรียนรู้โดยใช้เทคนิคการแบ่งกลุ่มแบบกลุ่มสัมฤทธิ์ และ 4)ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่ต้องเรียนรู้เรื่อง คลื่นกล โดยใช้เทคนิคการเเข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกม และโดยใช้เทคนิคการแบ่งกลุ่ม แบบกลุ่มสัมฤทธิ์ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ โรงเรียนรมย์บุรีพิทยาคม รัชมังคลาภิเษก อำเภอบ้านด่าน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 ขำนวน 70 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1)แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการเเข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกม และแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการแบ่งกลุ่มแบบกลุ่มสัมฤทธิ์ 2)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องคลื่นกล เป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่ายรายข้อตั้งเเต่ 0.56-0.80 ค่าอำนาจจำเเนกรายข้อตั้งเเต่ 0.23-0.81 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 และ 3)แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 การวิเคราะห์ข้อมู,ทางสถิติใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1.ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการเเข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกม มีประสิทธิภาพ 77.62/78.07 ซึ่งสู.กว่าเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้ และเเผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการแบ่งกลุ่มแบบกลุ่มสัมฤทธิ์ มีประสิทธิภาพ 77.02/77.78 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้ 2.ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการเเข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยดกม มีค่าดัชนีประสิทธิผลในการเรียนรู้เท่ากับ 0.68 และแผนการจัดกาารเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการแบ่งกลุ่มแบบสัมฤทธิ์ มีค่าดัชนีประสิทธิผลในการเรียนรู้เท่ากับ 0.67 3.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง คลื่นกลชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ของกลุ่มที่เรียนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้เทคนิคการเเข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกม 4.ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่องคลื่นกลชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเเข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกม และเทคนิคการเเบ่งกลุ่มแบบกลุ่มสัมฤทธิ์ โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากี่สุด en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง คลื่นกล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคการแข่งขันระหว่างกลุ่มเกม (TGT) กับเทคนิคการแบ่งกลุ่มแบบกลุ่มสัมฤทธิ์ (STAD) en_US
dc.title การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง คลื่นกล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคการแข่งขันระหว่างกลุ่มเกม (TGT) กับเทคนิคการแบ่งกลุ่มแบบกลุ่มสัมฤทธิ์ (STAD) en_US
dc.title.alternative A COMPARISON OF MATTAYOMSUKSA 5 STUDENTS' ACHIEVEMENT \IN MECHANICAL WAVE BETWEEN LEARNING BY USING TEAMS GAMES TOURNAMENTS (TGT) ANDV STUDENT TEAMS ACHIEVEMENT DIVISIONS (STAD) en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline หลักสูตรและการสอน en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics