ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การศึกษากลยุทธ์ในการดำเนินงานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล : กรณีศึกษาอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.advisor หาญชัย อัมภาผล en_US
dc.contributor.advisor ปัญญา เจริญพจน์ en_US
dc.contributor.advisor พัชรินทร์ ศิริอำพันธ์กุล en_US
dc.contributor.advisor อนันต์ชัย พงศ์สุวรรณ en_US
dc.contributor.advisor สมเกียรติ ศรีปัดถา en_US
dc.contributor.author สมจิตต์, โพศรีดี
dc.date.accessioned 2017-09-30T06:31:13Z
dc.date.available 2017-09-30T06:31:13Z
dc.date.issued 2548
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2675
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล และหัวหน้าครัวเรือนเกษตรเกี่ยวกับกลยุทธในการดำเนินงานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลในด้านการเตรียมความพร้อมของชุมชน ด้านการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรระดับตำบล ด้านการปฏิบัติงานตามแผน ด้านการจัดทะเบียนและบริการเกษตรและสมาชิก ด้านการจัดตั้งศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ด้านการขายสินค้าผ่านระบบพานิชย์อิเล็กทรอนิคส์ ด้านการติดตามประเมินผล จำแนกตามสภาพของกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งประกอบด้วย คณะกรรมการบริหารและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล และหัวหน้าครัวเรือนเกษตรกรในอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวย 14,123 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 385 คน ได้มาจากการกำหนดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของทาโรยามาเน่ (Taro Yamane) โดยสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) คือคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล จำนวน 10 คน และหัวหน้าครัวเรือนเกษตรกร จำนวน 375 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม โดยแบบสอบถามมีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 2.655 ถึง 8.202 และมีค่าความเชื่อมั่น 9.551 ส่วนข้อมูลจากการตอบแบบสอบถามใช้วิเคราะห์ด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ t-test (Independent Sample) กำหนดค่าสถิติที่ระดับความนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัย พบว่า 1. การศึกษากลยุทธในการดำเนินงานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล ตามความคิดของคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล และหัวหน้าครัวเรือนเกษตรกรพบว่า มีกลยุทธ์ในการดำเนินงานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ประจำตำบลอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง 2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลและหัวหน้าครัวเรือนเกษตรเกี่ยวกับการศึกษากลยุทธในการดำเนินงานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลโดยภาพรวมพบว่ามีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน 3. ข้อเสนอแนะและความคิดเห็นเพิ่มเติมของคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีกรเกษตรประจำตำบลและหัวหน้าครัวเรือนเกษตร ได้แก่ เจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปประชุมชี้แจงให้ชุมชนเข้าใจในการทำเวทีชาวบ้าน การจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรอย่างต่อเนื่องและจริงจัง ปฏิบัติงานตามแผนที่กำหนดไว้ การจัดทำทะเบียนเกษตรกร การดำเนินงานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีกรเกษตรประจำตำบลยังเป็นนามธรรม ขาดความเข้าใจระบบพานิชย์อิเล็กทรอนิคส์ และการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การศึกษากลยุทธ์ในการดำเนินงานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล : กรณีศึกษาอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title การศึกษากลยุทธ์ในการดำเนินงานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล : กรณีศึกษาอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative A study of the implementation strategies of Tambon Ggricultural Technology Transfer and Service Centers : a Case Study of Nangrong Buriram en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics