ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

สภาพปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามโครงการพัฒนาเชิงระบบเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 2

Show simple item record

dc.contributor.advisor สงวน ทรงวิวัฒน์ en_US
dc.contributor.advisor สมศักดิ์ เทศสวัสดิ์วงศ์ en_US
dc.contributor.author สมคิด, ชิงชัย
dc.date.accessioned 2017-09-30T06:24:55Z
dc.date.available 2017-09-30T06:24:55Z
dc.date.issued 2553
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2672
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาพปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามโครงการพัฒนาเชิงระบบเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูผู้รับผิดชอบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และครูที่ปรึกษา จำแนกตามสภาพตำแหน่งและขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มีจำนวน 412 คน จำแนกเป็น ผู้อำนวยการโรงเรียนจำนวน 63 ตน ครูผู้รับผิดชอบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนจำนวน 63 คน ใช้ประชากรเป็นกลุ่มตัวอย่าง และครูที่ปรึกษาได้จากการสุ่มจากประชากร โดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางของ Taro Yamanae’ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 286 คน เครื่องมีที่ใช้ได้แก่แบบสอบถาม (Questionnaire) ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบมาตรส่วนประมาณค่า (Rating Scale) สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ ในการทดสอบสมมุติฐานใช้การวิเคราะห์ค่า F (One – way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้บริหาร ครูผู้รับผิดชอบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และครูที่ปรึกษามีความคิดเห็นต่อสภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าน้อยทุกด้าน โดยด้านที่มีปัญหาเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการส่งต่อ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ด้านการคัดกรอง ด้านการป้องกันและแก้ปัญหาและด้านการส่งเสริมนักเรียน 2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และครูที่ปรึกษา เกี่ยวกับสภาพปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน พบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการคัดกรอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนอีก 3 ด้าน คือ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การส่งเสริมนักเรียน และการป้องกันและแก้ปัญหา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 สำหรับด้านการส่งต่อ ไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายคู่ พบว่า ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และครูที่ปรึกษามีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และครูที่ปรึกษา ที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกัน เกี่ยวกับสภาพปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน พบว่า โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาเป็นรายคู่พบว่า ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และครูที่ปรึกษา ที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียน มีขนาดแตกต่างกันมีความเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject สภาพปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามโครงการพัฒนาเชิงระบบเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 2 en_US
dc.title สภาพปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามโครงการพัฒนาเชิงระบบเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 2 en_US
dc.title.alternative State of Problems of Student Caring and Supporting Systm According to the Devlopment System for Educational Quality Assurance Project of Schools Under Sakaew Educational Service Area Office 2 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics