ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การศึกษาการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ศึกษาเฉพาะกรณีโรงเรียนในเขตพัฒนาคุณภาพการศึกษาเขตที่ 4 (เขตดงรัก) สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.advisor โกวิท เชื่อมกลาง en_US
dc.contributor.advisor พงศ์เพชร สังข์ศักดา en_US
dc.contributor.author สนิท, โคตรเวียง
dc.date.accessioned 2017-09-30T06:02:51Z
dc.date.available 2017-09-30T06:02:51Z
dc.date.issued 2546
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2661
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาการปฏิบัติหน้าที่ ปัญหา และแนวทางการแก้ปัญหา ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนในเขตพัฒนาคุณภาพการศึกษาเขตที่ 4 (เขตดงรัก) สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ ประชากรจำแนกเป็น 2 ประเภท คือ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2543 ของโรงเรียนวัดบ้านแสลงคง โรงเรียนบ้านละเวี้ย โรงเรียนบ้านโนนเจริญ โรงเรียนบ้านปากช่อง จำนวนโรงเรียนละ 15 คน รวมทั้งสิ้น 60 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลประกอบได้แก่ ข้าราชการของโรงเรียนดังกล่าวในเขนพัฒนาคุณภาพการศึกษาเขตที่ 4 (เขตดงรัก) จำนวน 99 คน กลุ่มตัวอย่างจากข้าราชการครูผู้สอนโรงเรียนละ 15 คน รวมทั้งสิ้น 60 คน โดยการใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากผู้ปฏิบัติหน้าที่ในการบริหารงานในโรงเรียนประถมศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสำรวจ (Survey Form) แบบมีโครงสร้าง (Structured Survey) และแบบสัมภาษณ์ (Interview) แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) และแบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Interview) ผู้วิจัยเป็นผู้สัมภาษณ์เอง โดยนำแบบสัมภาษณ์มาแจกแจงความถี่ร้อยละ (Percentage) และวิเคราะห์ข้อมูล ในลักษณะการพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) รวบรวมจัดเป็นหมวดหมู่ตามกรอบแนวคิด ขอบข่ายบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ระบุไว้ในข้อ 13 แห่งระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้ายคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2543 ผลการวิจัยพบว่า การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยรวมได้ปฏิบัติในทุกด้านตามขอบข่ายหน้าที่ สำหรับหน้าที่ที่ได้รับความสำเร็จในการปฏิบัติอย่างมาก ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการให้คำปรึกษา การเสนอแนะ การแสวงหา และให้ความสนับสนุนด้านการเงิน วัสดุ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์ต่าง ๆ การประสานงานกับองค์กรท้องถิ่น ทั้งภาครับและเอกชน การเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนเพื่อการพัฒนาโรงเรียน และให้มีการใช้บริการโรงเรียนให้โรงเรียนเป็นแหล่งวิทยากรของชุมชนและร่วมพัฒนาชุมชนในท้องถิ่น คณะกรรมการสถานศึกษามีข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเรียงลำดับดังนี้ 1.ควรให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานได้มีส่วนร่วมในการกำหนดแผนพัฒนาและการกำกับติดตามประเมินผลงานของบุคลากรร่วมกับสถานศึกษา 2.การได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น ดำเนินการตัดสินใจวางแผนโดยยึดหลักการกระจายอำนาจในด้านงานวิชาการกับสถานศึกษา 3.การมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายดำเนินการและกำกับติดตามงานของสถานศึกษาทุก ๆ ด้านอย่างต่อเนื่อง 4.การสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแผนปฏิบัติการประจำปี และวิธีบริหารงบประมาณของสถานศึกษา en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การศึกษาการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ศึกษาเฉพาะกรณีโรงเรียนในเขตพัฒนาคุณภาพการศึกษาเขตที่ 4 (เขตดงรัก) สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title การศึกษาการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ศึกษาเฉพาะกรณีโรงเรียนในเขตพัฒนาคุณภาพการศึกษาเขตที่ 4 (เขตดงรัก) สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics