ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ปัญหาการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ตามทัศนะของผู้อำนวยการโรงเรียนและครูอนามัยโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา นครราชสีมา เขต 3

Show simple item record

dc.contributor.advisor ประสิทธิ์ สุวรรณรักษ์ en_US
dc.contributor.advisor นิวัฒน์ กัลยพฤกษ์ en_US
dc.contributor.advisor ประคอง กาญจนการุณ en_US
dc.contributor.author ศิริวรรณ์, รักษาสระน้อย
dc.date.accessioned 2017-09-30T04:22:44Z
dc.date.available 2017-09-30T04:22:44Z
dc.date.issued 2551
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2644
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัญหาการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ตามทัศนะของผู้อำนวยการโรงเรียนและครูอนามัยโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 3 จำแนกตามสถานภาพ และระดับช่วงชั้นในโรงเรียน ตามกรอบงานโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ 10 ด้าน คือ ด้านนโยบายของโรงเรียนด้านบริหารจัดการโนโรงเรียน ด้านโครงการร่วมระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ด้านการจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนที่อื้อต่อสุขภาพ ด้านการบริการอนามัยโรงเรียน ด้านสุขภาพในโรงเรียน ด้านโภชนาการและอาหารปลอดภัย ด้านการออกกำลังกาย กีฬาและนันทนาการ ด้านการให้คำปรึกษาและสนับสนุนทางสังคม และด้านการส่งเสริมสุขภาพบุคลากรในโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน และครูอนามัยโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา นครราชสีมา เขต 3 รวม 196 คน ซึ่งได้มาจากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของ เครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) แล้วทำการสุ่มกลุ่มย่อย (Stratified Random Sampling) ตามระดับช่วงชั้นของโรงเรียนวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ให้กระจายตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มี 3 ลักษณะ คือ แบบตรวจสอบรายการแบบตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ และแบบปลายเปิด (Opened Form) แบบสอบถามมีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 1.890 ถึง 9.000 และค่าความเชื่อมั่น 0.9394 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานใช้ t-test (Independent Sample) และ F-test การเปรียบเทียบรายคู่ในแต่ละด้านโดยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’s Method) กำหนดค่าสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. การศึกษาปัญหาการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ตามทัศนะของผู้อำนวยการโรงเรียน ทั้งโดยรวมและรายด้าน มีปัญหาอยู่ระดับปานกลาง 2. การศึกษาปัญหาการดำเนินโรงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ตามทัศนะของครูอนามัยโรงเรียน ทั้งโดยรวมและรายด้าน มีปัญหาอยู่ระดับปานกลาง 3. การเปรียบเทียบปัญหาการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ตามทัศนะผู้อำนวยการโรงเรียนและครูอนามัยโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพ โดยรวมและรายด้านพบว่า มีปัญหาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. การเปรียบเทียบปัญหาการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ตามทัศนะผู้อำนวยการโรงเรียนและครูอนามัยโรงเรียน ที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนระดับช่วงชั้นต่างกันโดยรวม พบว่ามีปัญหาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีปัญหาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เช่นเดียวกัน 5. ข้อเสนอแนะเพื่อแก้ปัญหาการดำเนินโครงการโรงเรียนสุขภาพ ได้แก่สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรให้ความร่วมมือในการจัดทำแผนการดำเนินงานโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพอย่างจริงจัง ควรสนับสนุนงบประมาณ เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์เวชภัณฑ์ยาให้เพียงพอ ควรมีบุคลคลที่มีความรู้ ความสามารถ ความสามารถด้านสุขภาพนามัยโดยตรง เข้ามารับผิดชอบงาน ตลอดจนควรจัดให้มีการอบรมพัฒนาบุคลากร ฝ่ายส่งเสริมสุขภาพอนามัยทุกปีอย่างต่อเนื่อง en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject ปัญหาการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ตามทัศนะของผู้อำนวยการโรงเรียนและครูอนามัยโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา นครราชสีมา เขต 3 en_US
dc.title ปัญหาการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ตามทัศนะของผู้อำนวยการโรงเรียนและครูอนามัยโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา นครราชสีมา เขต 3 en_US
dc.title.alternative Problems of Operating School Health Programs According to the Opinions of Directors and School Health Teachers in Nakhon Ratchasima Educational Area Office 3 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics