ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

สภาพการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ในมาตรฐานที่ 13 ของมาตรฐานการศึกษาเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน : กรณีศึกษาโรงเรียนแกนนำอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์

Show simple item record

dc.contributor.advisor อนันต์ชัย พงศ์สุวรรณ en_US
dc.contributor.advisor วิศิษฐ์ นาจำปา en_US
dc.contributor.advisor รื่นรมย์ วัชรินทรางกูร en_US
dc.contributor.author ศักดิ์สถิตย์, กมลบูรณ์
dc.date.accessioned 2017-09-30T03:37:13Z
dc.date.available 2017-09-30T03:37:13Z
dc.date.issued 2553
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2635
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ในมาตรฐานที่ 13 ของมาตรฐานการศึกษาเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของสถานศึกษาที่เป็นโรงเรียนแกนนำ สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ กลุ่มเป้าหมายจำนวน 3 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนบ้านพระแก้ว โรงเรียนบ้านพรหมสะอาด และโรงเรียนสุขพรหมมีศัทธาญาติ กลุ่มเป้าหมาย คือคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานแต่ละสถานศึกษา ประกอบไปด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา สถานศึกษาละ 1 คน รวม 3 คน ครูผู้สอน สถานศึกษาละ 1 คน รวม 3 คน ผู้ปกครองนักเรียน สถานศึกษาละ 1 คน รวม 3 คน สมาชิกองค์การบริการส่วนท้องถิ่น สถานศึกษาละ 1 คน รวม 3 คนรวมทั้งหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอสังขะ และหัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอสังขะ รวมทั้งสิ้น 14 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์ที่พัฒนาขึ้นเอง ซึ่งผลการวิจัยพบว่า 1. การวางแผนปฏิบัติงานของทั้ง 3 โรงเรียน พบว่า มีการจัดองค์กรหรือโครงสร้างการบริหารอย่างชัดเจน มีการกำหนดปรัชญา จัดธรรมนูญสถานศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี และตัวชี้วัดความสำเร็จของสถานศึกษาไว้ชัดเจนด้วยเช่นกัน ปัญหาที่พบคือ ความเชื่อของชุมชน ความเกรงใจ การให้เกียรติผู้มีตำแหน่งหน้าที่และการศึกษาสูง ทำให้ไม่ค่อยแสดงความคิดเห็นในเวลาประชุมวางแผนปฏิบัติการ 2. การปฏิบัติตามแผน พบว่า โรงเรียนทั้ง 3 แห่ง ได้ส่งเสริมสนับสนุน จัดสิ่งอำนวยความสะดวก สนับสนุนทรัพยากรในการดำเนินงานตามแผน ตลอดทั้งกำกับ ติดตาม ให้การนิเทศก์เป็นอย่างดี ปัญหาที่พบ คือ บุคลากรไม่ตระหนักในบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย การปฏิบัติงานไม่ต่อเนื่อง ชุมชนไม่มีบทบาทที่ชัดเจน 3. การตรวจสอบประเมินผล พบวา โรงเรียนทั้ง 3 แห่ง ได้จัดทำกรอบหรือคู่มือการประเมินผล มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบประเมินผลจากทุกฝ่ายเพื่อรายงานให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทราบ ปัญหาที่พบ คือบุคลากรไม่มีความรู้ในการประเมินผล ไม่มีทักษะในการปฏิบัติตามแผน ปฏิบัติงานไม่ต่อเนื่อง การจัดทำเอกสารรายงานตนเองล่าช้า และมีเวลาจำกัด 4. การนำผลการประเมินมาปรับปรุงงาน พบว่า โรงเรียนทั้ง 3 แห่ง โดยเฉพาะผู้รับผิดชอบแต่ละฝ่าย ได้รวบรวมผลการประเมินมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ แปลผล รายงานผลให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ และนำผลที่ได้ไปปรับปรุงงาน ปัญหาที่พบ คือ บุคลากรขาดความรู้ ทักษะ ไม่มีประสบการณ์ในการจัดทำข้อมูลสารสนเทศเพื่อนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ปรับปรุงงาน แนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว ได้แก่ 1) สถานศึกษาต้องวางรูปแบบประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรที่เกี่ยวข้อง เช่น คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู ผู้ปกครอง ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีความรู้ความเข้าในในกระบวนการทำงานของสถานศึกษา 2) เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาทุกขั้นตอน 3) สถานศึกษาต้องระดมทรัพยากร ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่มีอยู่อย่างจำกัดมาพัฒนาคุณภาพการศึกษา 4) สถานศึกษาต้องสร้างความตระหนัก ต้องกำกับ ติดตาม ประเมินผลที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง และ 5) สถานศึกษาต้องส่งเสริมบุคลากรให้เข้ารับการอบรมเพิ่มความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ใหม่ๆ ตลอดจนผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีภาวะผู้นำสูง และบริหารงานโดยยึดหลักการมีส่วนร่วม en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject สภาพการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ในมาตรฐานที่ 13 ของมาตรฐานการศึกษาเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน : กรณีศึกษาโรงเรียนแกนนำอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ en_US
dc.title สภาพการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ในมาตรฐานที่ 13 ของมาตรฐานการศึกษาเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน : กรณีศึกษาโรงเรียนแกนนำอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ en_US
dc.title.alternative The state of implementing the indicators of Standard 13th for external audit at the basic education level : A case study of leading schools in Amphur Sangka, Surin en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics