ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ปัญหาการบริหารงานการพัสดุโรงเรียนในทัศนะของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.advisor เฉลย ภูมิพันธุ์ en_US
dc.contributor.advisor สงบ บุญคล้อย en_US
dc.contributor.advisor พงศ์เพชร สังข์ศักดา en_US
dc.contributor.author สง่า, จันทร์วิเศษ
dc.date.accessioned 2017-09-30T03:36:41Z
dc.date.available 2017-09-30T03:36:41Z
dc.date.issued 2544
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2634
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาปัญหาและเปรียบเทียบระดับปัญหา การบริหารงานการพัสดุโรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ ในทัศนะของผู้บริหารโรงเรียนเป็นรายด้าน และรวมทุกด้าน โดยจำแนกตามประเภทของโรงเรียน ประสบการณ์ในการบริหารงาน กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มจากกลุ่มประชากรซึ่งเป็นผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางเครจซีและมอร์แกน (R.V. Krejcie and D.W. Morgan) แล้วทำการสุ่มตามระดับชั้น (Stratified Random Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 265 คน เป็นผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสจำนวน 84 คน และผู้บริหารโรงเรียนไม่ขยายโอกาสจำนวน 181 คน แบบสอบถามที่เก็บรวบรวมได้และมีความสมบูรณ์จำนวน 254 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 95.80 เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบ่งเป็น 3 ตอนและมี 3 ลักษณะคือ ตอนที่ 1 แบบสำรวจรายการ (Check List) ตอนที่ 2 แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) โดยแบ่งเป็น 5 ระดับ คือ ระดับปัญหามากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด จำนวน 45 ข้อ จำแนกเป็น 7 ด้านคือ การซื้อพัสดุ การจ้าง การเก็บรักษาพัสดุ การควบคุมพัสดุ การเบิกจ่ายพัสดุ การตรวจสอบพัสดุ และการจำหน่ายพัสดุ และตอนที่ 3 เป็นแบบสอบถามปลายเปิด แบบสอบถามมีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.96 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Arithmatic Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมุติฐานการวิจัยโดยใช้การวิเคราะห์ t – test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – Way Analysis of Variance) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาการบริหารงานการพัสดุโรงเรียน ในทัศนะของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์พบว่า ปัญหาการบริหารงานการพัสดุโรงเรียนมีปัญหารวมทุกด้านเหมือนกันคือ มีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง แต่เมื่อแยกรายด้านพบว่าโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานมีปัญหาเกี่ยวกับสถานที่เก็บรักษาพัสดุมากกว่าโรงเรียนที่ไม่ขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน นอกจากนี้ยังพบว่าโรงเรียนทั้งสองระดับคือ โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานและโรงเรียนที่ไม่ขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานมีปัญหาเกี่ยวกับสถานที่เก็บพัสดุแยกเป็นการเฉพาะอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน ชี้ให้เห็นตรงกันว่าไม่มีสถานที่เก็บพัสดุแยกเป็นการเฉพาะ 2) เมื่อเปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานการพัสดุของโรงเรียนระหว่างโรงเรียนที่ขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานกับโรงเรียนที่ไม่ขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่าระดับปัญหาการบริหารงานการพัสดุโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อเปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานการพัสดุของโรงเรียน ด้านการซื้อพัสดุ การจ้าง การเก็บรักษาพัสดุ การควบคุมพัสดุ การเบิกจ่ายพัสดุ การตรวจสอบพัสดุและการจำหน่ายพัสดุ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนที่มีประสบการณ์ในการบริหารแตกต่างกันทั้ง 3 ระดับ พบว่าค่าเฉลี่ยระดับปัญหาการบริหารงานการพัสดุไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งตรงกับผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวที่พบว่า ความคิดเห็นของผู้บริหารที่ปฎิบัติงานในโรงเรียนที่จัดการศึกษาต่างระดับกันมีปัญหาการบริหารงานการพัสดุของผู้บริหารโรงเรียนเป็นรายด้านและรวมทุกด้านไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3) ข้อเสนอแนะจากแบบสอบถามปลายเปิดในทัศนะของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งผู้วิจัยได้สรุปเป็นรายด้านไว้ดังนี้คือ ด้านบุคลากรโรงเรียนไม่มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง ควรมีการบรรจุเจ้าหน้าที่โดยเฉพาะมาดำเนินการด้านระบบบัญชี ผู้บริหารโรงเรียนเห็นว่าการจัดทำบัญชีวัสดุและทะเบียนครุภัณฑ์มีขั้นตอนยุ่งยากเกินความจำเป็น ด้านการซื้อและการจ้าง ผู้บริหารโรงเรียนเห็นว่าการจัดซื้อพัสดุที่สั่งซื้อครั้งเดียวไม่สอดคล้องกับการบริหารงาน ระบบการใช้เงิน ควรอนุมัติให้ซื้อหรือจ้างตามความจำเป็น ด้านการจัดเก็บพัสดุ ผู้บริหารโรงเรียนเห็นว่าขาดสถานที่เก็บรักษาพัสดุที่แข็งแรง มั่นคงปลอดภัย และด้านการกระจายอำนาจในการบริหารงบประมาณ ผู้บริหารโรงเรียนเห็นว่า ควรให้โรงเรียนบริหารงบประมาณโดยตรงตามความเป็นจริงและควรจัดสรรงบประมาณในการจัดซื้อจัดจ้างเป็นเงินในหมวดเงินอุดหนุน en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject ปัญหาการบริหารงานการพัสดุโรงเรียนในทัศนะของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title ปัญหาการบริหารงานการพัสดุโรงเรียนในทัศนะของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative Problems in school supply administration as perceived by school administrators under the Office of Buriram Provincial Primary Education en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics