ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

พฤติกรรมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.advisor จุรีพร จันทร์พาณิชย์ en_US
dc.contributor.advisor อาลัย จันทร์พาณิชย์ en_US
dc.contributor.advisor สมศักดิ์ จีวัฒนา en_US
dc.contributor.author วิวรรธน์, มลมีศรเอี่ยม
dc.date.accessioned 2017-09-30T03:09:43Z
dc.date.available 2017-09-30T03:09:43Z
dc.date.issued 2553
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2625
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อการศึกษาและเปรียบเทียบพฤติกรรมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชน ตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ หัวหน้าครัวเรือนที่อยู่อาศัยใน ตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 400 ครัวเรือน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามวิธีการคำนวณจากสูตรของ ทาโร ยามาเน่ (Taro Yamane) การกำหนดสัดส่วนของกลุ่มตัวอย่างจากจำนวนประชากรในแต่ละหมู่บ้าน โดยสุ่มจาก 16 หมู่บ้านด้วยวิธีสุ่มอย่างง่าย(Simple Random Simpling) โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย(Mean) ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ทดสอบสมมุติฐานโดยใช้ค่าคะแนนที่เป็นอิสระต่อกัน(Independent Samples t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว(one-way-ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับพฤติกรรมตามแนวโน้มทางเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับมาก โดยมีพฤติกรรมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงด้านสิ่งแวดล้อมมากที่สุดรองลงมาคือด้าน วัฒนธรรม ด้านสังคมและด้านการเรียนรู้มีระดับคะแนนเท่ากัน ด้านความคิดและด้านการดำเนินชีวิตตามลำดับ 2. การเปรียบเทียบพฤติกรรมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ จำแนกตาม เพศ ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือน พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. การเปรียบเทียบพฤติกรรมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ จำแนกตามอายุ พบว่าไม่แตกต่างกัน 4. การเปรียบเทียบพฤติกรรมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ จำแนกตามสมาชิกในครัวเรือน พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในด้านการดำเนินชีวิต ส่วนด้านการดำเนินชีวิต ด้านความคิด ด้านการเรียนรู้ ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านวัฒนธรรม ไม่แตกต่างกัน 5. ปัญหาในการปฏิบัติตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในแต่ละด้านได้แก่ 5.1 ด้านการดำเนินชีวิต ประชาชนส่วนใหญ่เสนอปัญหาขาดที่ทำกิน มีเนื้อที่ในการทำการเกษตรน้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ยากที่จะวางแผน ที่ดินที่เป็นของตนเองติดจำนองกับธนาคารและเจ้าหนี้ 5.2 ด้านความคิด ขาดทักษะในด้านการวางแผนในการดำเนินชีวิต ไม่มีความรู้ในการจัดทำบัญชีรายรับ รายจ่ายในครอบครัว ขาดการให้ความรู้จากหน่วยงานภาครัฐอย่างจริงจังและต่อเนื่อง 5.3 ด้านการเรียนรู้ ขาดโอกาสในการแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ไม่มีการจัดอบรมโครงการทฤษฎีใหม่ ขาดโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของประชาชนในหมู่บ้านและต่างหมู่บ้าน ต่างชุมชนเพื่อได้มองเห็นปัญหาและแนวทางในการแก้ไข 5.4 ด้านสังคม ไม่มีการนำภูมิปัญญาดั้งเดิมมาใช้ หวังพึ่งเทคโนโลยีสมัยใหม่จึงทำให้เพิ่มงบประมาณในการทำการเกษตรมากกว่าระบบเดิม 5.5 ด้านสิ่งแวดล้อม ขาดแหล่งน้ำ ไม่มีน้ำเพียงพอในการเกษตรและไม่มีระบบการให้บริการน้ำให้สามารถมีน้ำใช้ได้ทั้งปี ขาดการวางแผนระบบการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบและยั่งยืน 5.6 ด้านวัฒนธรรม ขาดการส่งเสริมและการอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่นและนุรักษ์วัฒนธรรมในท้องถิ่น en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject พฤติกรรมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title พฤติกรรมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative People's Behaviors Based on Sufficiency Economy in Thalunglek Subdistrict, Muang District, Buriram Province en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การจัดการทั่วไป en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics