ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

สภาพการจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.advisor มาลิณี จุโฑปะมา en_US
dc.contributor.advisor ศิราณี จุโฑปะมา en_US
dc.contributor.author วารุณี, สุวรรณลาส
dc.date.accessioned 2017-09-28T03:18:29Z
dc.date.available 2017-09-28T03:18:29Z
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2575
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการจัดการการศึกษาขององค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดบุรีรัมย์ ตามความคิดเห็นของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล และนักวิชาการศึกษา ที่จำแนกตามวุฒิการศึกษา สถานภาพ ตำแหน่ง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 339 คน ได้จากการสุ่มจากประชากร โดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน แล้วทำการสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมีจำนวน 3 ตอน คือ แบบตรวจสอบรายการ แบบมาตราส่วนประมาณค่า และแบบปลายเปิด มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.9574 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบียนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test และ F-test เมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ จึงทำการทดสอบรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟฟี่ (Scheffe) กำหนดค่าสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดบุรีรัมย์ ตามความคิดเห็นของนายกองค์การ บริหารส่วนตำบล ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล นักวิชาการศึกษา โดยรวมและรายด้ายมีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านบุคลการ ด้านรองลงมา คือ ด้านบริหารจัดการ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านงบประมาณ 2. เปรียบเทียบความคิดเห็นของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลและนักวิชาการ ศึกษา ที่มีสถานภาพตำแหน่งต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสภาพการจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดบุรีรัมย์ โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านงบประมาณ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ส่วนด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่างกัน 3. เปรียบเทียบความคิดเห็นของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลและนักวิชาการ ศึกษาที่มีวุฒิการศึกษาแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดบุรีรัมย์ โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 4. ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลและนักวิชาการ ศึกษาที่มีค่าร้อยละสูงสุด ด้านบุคลากร คือ ควรพิจารณาความดีความชอบจากผลงานเพื่อสร้างขวัญกำลังใจในการทำงาน ด้านงบประมาณเงินอุดหนุนด้านการศึกษาให้มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ ด้านวัสดุ อุปกรณ์และอาคารสถานที่ คือ ควรจัดสรรวัสดุอุปกรณ์การศึกษาให้เพียงพอ ด้านการบริหารจัดการ คือ ควรใช้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการการศึกษามากขึ้น en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject สภาพการจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title สภาพการจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative States of Educational Management of Subdistrict Administrative Organizations in Buriram Province en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics