ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานของธนาคารประชาชน : กรณีศึกษา จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.advisor ประสิทธิ์ สุวรรณรักษ์ en_US
dc.contributor.advisor เที่ยง ด้วงบุตรศรี en_US
dc.contributor.advisor ประกิจ จันตะเคียน en_US
dc.contributor.author วันเพ็ญ, พัฒนชีวะพูล
dc.date.accessioned 2017-09-28T02:48:04Z
dc.date.available 2017-09-28T02:48:04Z
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2556
dc.description.abstract การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานธนาคารประชาชนจังหวัดบุรีรัมย์ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร พนักงานและผู้ใช้บริการ และเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานธนาคารประชาชนตามสถานภาพของกลุ่มตัวอย่าง ประสบการณ์ทำงานของพนักงาน และอาชีพของผู้ใช้บริการที่แตกต่างกันในกรอบ แนวคิด 4 ด้านคือ ด้านบริหารจัดการ ด้านคุณสมบัติผู้บริหาร ด้านคุณสมบัติพนักงาน และด้านคุณสมบัติของผู้ใช้บริการ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและพนักงานธนาคารออมสิน และผู้ใช้บริการ จังหวัดบุรีรัมย์ ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 14 คน และพนักงาน จำนวน 79 คน กรณีของผู้บริหารและพนักงานธนาคารออมสินใช้ประชากร ส่วนกลุ่มผู้ใช้บริการได้จากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางสำเร็จรูปของ เครจซีและมอร์แกน (Krejcie & Morgan) จากประชากรจำนวน 6,088 คน ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 364 คน หลังจากนั้นทำการสุ่มกลุ่มย่อย (Stratified Random Sampling) ในกลุ่มอาชีพให้กระจายตามสัดส่วน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ได้กลุ่มค้าขายจำนวน 309 คน กลุ่มบริการ 37 คน และกลุ่มอื่น ๆ 18 คน รวมกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ทั้งสิ้นจำนวน 457 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามมี 3 ลักษณะ คือ แบบตรวจสอบรายการ แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบปลายเปิด แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น 0.9515 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่า t - test Independent การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - way Analysis of Variance) และเปรียบเทียบรายคู่ ใช้วิธีของเชพเฟ่ (Scheffe’s Method) กำหนดค่าสถิติมีระดับนัยสำคัญที่ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้บริหาร พนักงาน และผู้ใช้บริการเห็นด้วยต่อปัจจัยที่มีผลในการดำเนินงานของธนาคารประชาชนจังหวัดบุรีรัมย์ ทั้งโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยผู้บริหารและ ผู้ใช้บริการ มีความคิดเห็นว่าด้านคุณสมบัติของผู้ใช้บริการ มีความสำคัญอันดับที่ 1 ส่วนพนักงานเห็นว่า ด้านคุณสมบัติของผู้บริหารมีความสำคัญอันดับที่ 1 2. ในด้านเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารพนักงาน และผู้ใช้บริการเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานธนาคารประชาชนจังหวัดบุรีรัมย์โดยภาพรวมและรายด้าน พบว่ามีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 3. ในด้านเปรียบเทียบความคิดเห็นของพนักงานที่มีประสบการณ์ทำงานต่างกันเกี่ยวกับปัจจัยที่ผลต่อการดำเนินงานธนาคารประชาชนจังหวัดบุรีรัมย์ โดยภาพรวมและรายด้าน พบว่ามีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน 4. ในด้านเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ใช้บริการที่มีอาชีพต่างกัน เกี่ยวกับปัจจัยที่มีต่อการดำเนินงานธนาคารประชาชนจังหวัดบุรีรัมย์ โดยภาพรวมพบว่า มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านคุณสมบัติผู้บริหารและด้าน คุณสมบัติพนักงาน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 และ .05 ส่วนในด้านอื่น ๆ มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 5. ข้อเสนอแนะและความคิดเห็นเพิ่มเติมของผู้ใช้บริการ เกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานธนาคารประชาชนจังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า เป็นโครงการที่ส่งเสริม และเปิดโอกาสให้ผู้ที่ด้อยโอกาส ผู้ว่างงานคนจนได้มีอาชีพ และมีรายได้ที่ดีขึ้น โดยไม่ต้องกู้ยืมเงินนอกระบบรองลงมาคือ งานด้านบริการ ฝาก-ถอนเงินสด ซึ่งควรให้การบริการด้วยความรวดเร็ว ยิ้มแย้ม แจ่มใส พูดจาสุภาพ และพร้อมให้บริการทุกเวลา ควรมีการเพิ่มวงเงินกู้ของโครงการธนาคารประชาชนและพนักงานของโครงการธนาคารประชาชนควรแนะนำข้อมูลข่าวสารใหม่ ๆ เกี่ยวกับโครงการธนาคารประชาชนเพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดความเข้าใจในระบบการทำงานของโครงการธนาคารประชาชนได้ดียิ่งขึ้นตามลำดับ en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานของธนาคารประชาชน : กรณีศึกษา จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานของธนาคารประชาชน : กรณีศึกษา จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative Factors affecting performance of People's Bank : A case study of Buriram en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics