ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

แนวทางการแก้ปัญหาความยากจน : กรณีศึกษากลุ่มคนจนที่ประกอบอาชีพรับจ้างในโรงสีในตำบลชุมเห็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.advisor จรัส สว่างทัพ en_US
dc.contributor.advisor อนันต์ชัย ลิขิตประเสริฐ en_US
dc.contributor.advisor สุริยา รักการศิลป์ en_US
dc.contributor.author รัตยา, ต่างประโคน
dc.date.accessioned 2017-09-28T02:46:29Z
dc.date.available 2017-09-28T02:46:29Z
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2555
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา 1) สาเหตุความยากจน 2.) ตัวชี้ววัดความยากจนและ3.) แนวทางการแก้ไขปัญหาความยากจนของกลุ่มคนจนที่ประกอบอาชีพรับจ้างในโรงสีใน ตำบลชุมเห็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ประชากรเป้าหมายในการวิจัยได้แก่ คนงานที่ประกอบ อาชีพรับจ้างในโรงสี 3 แห่ง จำนวน 50 คน โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช่ในการเก็บรวมรวมข้อมูลใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ สรุปผลการวิจัยพบว่า 1. สาเหตุความยากจนส่วนใหญ่เป็นความยากจน ซึ่งได้เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังต่อไปนี้ การมีรายได้น้อยกว่ารายจ่าย มีภาระการรับผิดชอบต่อครวบครัวสูง สมาชิกใน ครอบครัวไม่สามารถพึ่งตนเองได้ การมีหนี้สินที่เกิดจากการกู้มาเพื่อใช้จ่าย มีระดับการศึกษาน้อย ขาดที่ดินทำกิน ขาดแคลนเงินทุนในการประกอบอาชีพอื่นๆ มีพฤติกรรมการดื่มสุรา สูบบุหรี่ และเล่นการพนัน รวมไปถึงสภาพแวดล้อมภายในบ้านคนจนไม่ถูกสุขลักษณะทำให้เป็นแหล่งแพร่ของเชื้อโรค ซึ่งส่งผลต่อปัญหาสุขภาพตามมาและประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ซึ่งสาเหตุความยากจนส่วนใหญ่ถือได้ว่าเป็นความยากจนแบบปัจเจกบุคคล 2. ผลการศึกษาได้ค้นพบตัวชี้วัดกลุ่มคนงานในโรงสี โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยซึ่งได้แก่ 1.) ด้านการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่มีการศึกษาน้อย หรือไม่ได้รับการศึกษา จึงขาดความรู้ ตลอดจนทักษะความชำนาญในการประกอบอาชีพ 2.) ด้านการประกอบอาชีพ พบว่า ส่วนใหญ่ไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง จึงจำเป็นต้องยึดอาชีพรับจ้างเป็นหลัก 3.) ด้านรายได้ พบว่า ส่วนใหญ่มีรายรับทางเดียวแต่รายจ่ายมีหลายทาง อาทิ ค่าอาหาร ค่ายารักษศาโรค ค่าหนี้สิน เป็นต้น 4.) ด้านสุขภาพ พบว่า ส่วนใหญ่เป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดนหายใจ ได้แก่ โรคภูมิแพ้ โรคปอด โรคหอบหืด เนื่องจากสภาพแวดล้อมในโรงสีที่มีฝุ่นละอองเป็นจำนวนมากและไม่รู้จักวิธีป้องกันสุขภาพของตนเองที่ถูกหลักอนามัย 5.) ด้านสวัสดิการจากภาครัฐ พบว่า ส่วนใหญ่ไม่ได้รับสวัสดิการจากภาครัฐในด้านอื่นๆ นอกจากโครงการประกันสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุขเพียงอย่างเดียว 6.) ด้านหนี้สิน พบว่า มีภาระหน้สินมาก อันเกิดจากค่าใช้จ่ายซึ่งได้แก่ เงินกู้นอกระบบ หนี้เงินเชื่อจากร้านขสยของชำ เป็นต้น 7. ) ด้านสภาพแวดล้อมของที่อยุ่อาศัย พบว่า ไม่ถูกสุขลักษณะ อาทิ ไม่มีห้องนอนต้องนอนรวมกัน ห้องน้ำไม่มิดชิดและไม่สะอาดทั้งไม่มีที่ระบายน้ำทิ้ง ส่งผลให้เกิดน้ำขังบริเวณบ้านเป็นต้น 8.) ด้านภาวะความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศและภัยทางธรรมชาติ พบว่า ภัยทางธรรมชาติ เช่น ฝนแล้ง น้ำท่วม เป็นภูมิอากาศทางธรรมชาติที่แปรปวน ทำให้เป็นอุปสรรคและไม่สามารถประกอบอาชีพทางการเกษตรได้ 9. ) ด้านภาวะวิกฤตเศรษฐกิจและความแปรปรวนของราคาผลผลิตในตลาดโลก พบว่า ราคาสินค้าและค่าครองชีพที่สูงขึ้นแต่รายรับยังคงเท่าเดิม จึงส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของคนและสมาชิกในครอบครัว และ 10 .) ด้านภาวะทรุดโทรมความร่อยหรอของทรัพยกรธรรมชาติ พบว่า สภาพภูมิอากาศและภัยธรรมชาติที่แปรปรวนและถูกทำลาย เช่น ไม่มีป่าชุมชน น้ำแห้ง ดินเสีย ส่งให้เกิดผลกระทบต่อการดำรงชีพของกลุ่มคนจนที่ต้องพึ่งพาธรรมชาติ 3. แนวทางแก้ไขปัญหาความยากจนของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพในโรงสีมีแนวทางแก้ปัญหาดังนี้ 1) แก้ปัญหาจากตัวคนจนเอง โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ เป็นต้น และใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐพอเพียง 2) ผู้ประกอบการควรเพิ่มค่าจ้างให้มากขึ้นกว่าเดิม เพื่อให้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายในปัจจุบัน 3)รัฐบาลควรให้โอกาสทางการศึกษาให้แก่คนจนเพิ่มมากขึ้น เพื่อจะได้มีความรู้ ความชำนาญในการประกอบอาชีพ 4) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรตั้งงบประมาณในการสร้างบ้านให้แก่คนยากจน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเข้ามาดูแลให้ความรู้ในด้านการป้องกันและดูแลตนเองตลอดจนการรักษาสภาพแวดล้อมให้มากขึ้น 5) รัฐบาลควรให้สวัสดิการเพิ่มมากขึ้น และทำประกันสังคมเพื่อรองรับกับปัญหาด้านสุขภาพที่อาจจะเกิดขึ้นในวันข้างหน้าของคนจน 6) รัฐบาลควรหาทางแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและความแปรปรวนของราคาผลิตในตลาดโลก ซางกระทบต่อคนยากจนเป็นอย่างมาก en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject วิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title แนวทางการแก้ปัญหาความยากจน : กรณีศึกษากลุ่มคนจนที่ประกอบอาชีพรับจ้างในโรงสีในตำบลชุมเห็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative Guidelines for Solving the Poverty Problems : A Case Study of Poor People Working as the Employees in the Rice Mills in Chumhed Subdistrict, Muang District, Buriram Province en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics