ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

สภาพปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศีกษา เขต 32

Show simple item record

dc.contributor.advisor สงวน ทรงวิวัฒน์ en_US
dc.contributor.advisor นิตยา บรรณประสิทธิ์ en_US
dc.contributor.author วราวุฒิ, เหล่าจินดา
dc.date.accessioned 2017-09-28T02:14:17Z
dc.date.available 2017-09-28T02:14:17Z
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2537
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาพปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกาา เขต 32 โคยจำแนกตามระดับการศึกษา ประสนการณ์ในการปฎิบัติงาน และขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 338 คน ซึ่งได้จากตารางการกำหนดขาดของกลุ่มตัวอย่างของเครชซีและมอร์แกน และใช้สวิธีการแบบสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งมี 3 ลักษณะ ได้แก่ แบบตรวจสอบรายการ แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบปลายเปิด ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น 0.856 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉี่ย และส่วนแบ่งเบนมาตฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่้ การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวเมื่อพบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยในแต่ละด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ตามวิธีของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า 1.สภาพปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 โดยรวมอยู่ในระดีับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับปานกลาง 4 ด้าน และระดับน้อย 1 ด้าน โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยจากสูงไปหาต่ำ ได้แก่ ด้านการส่งต่อ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ด้านการคัดกรองนักเรียนด้านการป้องกันและแก้ไขปํญหา และด้านการส่งเสริมนักเรียน ตามลำดับ 2.การเปรียบเทียบสภาพปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามระดับการศึกษษ โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่พิจารณารายด้านพบว่าด้านการส่งต่อแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่างกัน 3.การเปรียบเทียบสภาพปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 ตามควนมคิดเห็นของครูจำแนกตามประสบการณ์ในการปฎิบัติงาน โดยรวมไม่แตกต่างกัน และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านการคัดครองนักศึกษา ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา และ ด้านการส่งต่อ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่างกัน 4.การเปรียบเทียบสภาพปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 32 ตามความคิดเห็นของครูจำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกันอย่ามีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการคัดกรองนักเรียน ด้านการส่งเสริมนักเรียน และด้านการส่งต่อ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่างกัน 5.ครูได้แสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสภาพปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีจำนวนมากที่สุด ได้แก่ นักเรียนและผู้ปกครองไม่ให้ข้อมูลตามความเป็นจริง รองลงมาคือ ครูและผู้ปกครองขาดความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และ ผู้ปกครองไม่ให้ความร่วมมือในการป้องกันและแก้ไขปัญหา ตามลำดับ en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject สภาพปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศีกษา เขต 32 en_US
dc.title สภาพปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศีกษา เขต 32 en_US
dc.title.alternative State of Problems on Students Counseling System Implementation at Schools under the Secondary Educational Service Area Office 32 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics